[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖๖
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านต้นปรง
วันที่   23   พฤษภาคม   2567
เข้าชม : 56
Bookmark and Share


 

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

 

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 

ชื่อโรงเรียน            โรงเรียนบ้านหลังเขา  

ที่อยู่                    326  หมู่ที่6  ตำบลเขาวิเศษ  อำเภอวังวิเศษ  จังหวัดตรัง

เบอร์โทรศัพท์          075-296117

สังกัด                   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2

                         สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                         กระทรวงศึกษาธิการ

ชื่อผู้บริหารโรงเรียน  นางจิราภา  วัจนพิสิฐ  

ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านต้นปรง

เบอร์โทรศัพท์ 085-8889687

จำนวนครู              ครูและบุคลาการทางการ  จำนวน 41 คน  

จำแนกเป็น ข้าราชการครู 34 คน ครูอัตราจ้าง 4 คน บุคลากรสนับสนุนอื่นๆ 3 คน

จำนวนนักเรียน       ทั้งหมด  774 คน

จำแนก  เป็นระดับอนุบาล 179 คน    ระดับประถมศึกษา  595 คน

    เปิดสอนระดับ         ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

 

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

    1.  ระดับการศึกษาปฐมวัย

      1.1  มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของเด็ก                               ผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

      1.2  มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ         ผลการประเมินอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

      1.3  มาตรฐานที่ 3  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ   ผลการประเมินอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

ผลการประเมินในภาพรวมระดับการศึกษาปฐมวัย อยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนมีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษา มีที่ชัดเจน มีการดำเนินการพัฒนาคุณภาพเด็กให้มีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ครูจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้กับเด็กเป็นไปตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ครอบคลุม 6 กิจกรรมหลัก ออกแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้ โดยส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ - จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา จัดกิจกรรมตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การใช้สื่อและเทคโนโลยี มีการจัดห้องเรียนให้สะอาดอากาศถ่ายเท ปลอดภัย มีมุมแสดงผลงานนักเรียน มุมประสบการณ์ มุมรักการอ่าน มีการประเมินพัฒนาการเด็กจากกิจกรรม 6 กิจกรรมหลักหน่วยการเรียนรู้ และกิจวัตรประจำวันด้วยการสังเกตพฤติกรรม สังเกตการณ์ปฏิบัติงานกลุ่มและรายบุคคล การสัมภาษณ์ ผลงาน และให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม

จุดเด่น

          มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาเหมาะสมตามวัย ครูตรงตามวิชาเอกและเข้ารับการพัฒนาด้านวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

จุดที่ควรพัฒนา

          โรงเรียนจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์และให้ครูมีการจัดทำวิจัยและใช้ผลการวิจัยไปปรับปรุงพัฒนาการจัดประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง

แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

จัดกิจกรรมให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมต่อการเรียนรู้ของนักเรียนตามโอกาสที่เหมาะสม  พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม แต่ละปีเพื่อเติมเต็มให้มีความสมบูรณ์ เน้นการให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้ศึกษาและจัดทำนวัตกรรมเพื่อให้มีสื่อ กระบวนการสอนมีกระบวนการที่สมบูรณ์ สอดคล้องกับหลักการทำงานของสมองพัฒนารูปแบบการจัดเก็บข้อมูลเด็ก ในระบบสารสนเทศของชั้นเรียนด้วยระบบเทคโนโลยี และสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้สะดวก ทุกที่ ทุกเวลา ขยายแนวคิดการพัฒนาเด็กตามรูปแบบ การจัดการศึกษา ระดับปฐมวัย ปฏิบัติ สู่สาธารณชน โดยวิธีการต่าง ๆ

    2.  ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

      2.1  มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของผู้เรียน ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

      2.2  มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ   ผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

          2.3  มาตรฐานที่ 3  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีผลการประเมินอยู่ใน

          ระดับ  ยอดเยี่ยม

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนบ้านต้นปรงจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายที่เป็นไปตามปัญหาและความต้องการพัฒนาตามสภาพของนักเรียน สอดคล้องกับจุดเน้นของสถานศึกษาและสภาพของขุมชน  จัดกระบวนการเรียนรู้เป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร ออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติและการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ

ผลการพัฒนา

          ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณภาพด้านความรู้ ความสามารถ ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีวิต และคุณลักษณะที่พึงประสงค์  มีจิตใจที่ดีงาม มีจิตสาธารณะ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต  ครูใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนด้วย จึงช่วยเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ของนักเรียนได้มากขึ้น อีกทั้ง ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการจัดการเรียนการสอนของครูและพัฒนาศักยภาพให้กับนักเรียนได้เป็นอย่างดี       

จุดเด่น

          โรงเรียนส่งเสริมการพัฒนาและฝึกทักษะการคิด เน้นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ฝึกทักษะกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง มีความรู้ มีทักษะ สามารถสร้างนวัตกรรม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ส่งเสริม และพัฒนาทักษะการใช้สื่อและเทคโนโลยี แหล่งเรียนรู้ในการสืบค้นข้อมูล สร้างนิสัยรักการอ่าน การเรียนรู้  ใฝ่รู้ใฝ่เรียน สำหรับการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง 

จุดที่ควรพัฒนา

          เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนมากขึ้นสร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็งมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

โดยเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้มากขึ้น  พัฒนาความสามารถด้านการอ่าน การเขียนและการคิดคำนวณของนักเรียน ส่งเสริมทักษะพื้นฐานให้กับนักเรียนทุกระดับชั้น  ปรับวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลให้สอดคล้องกับความแตกต่างและความต้องการของผู้เรียน      สร้างความตระหนักให้ครูเห็นถึงความสำคัญของการแก้ปัญหาผู้เรียนโดยการนำวิจัยในขั้นเรียนมาใช้  ส่งเสริมให้ครูเข้าร่วมการอบรมพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยในชั้นเรียน



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     โครงการ "สุขาดี มีความสุข" 10 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566 2 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2566 1 มิ.ย. 2567
     การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 29 พ.ค. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566 25 พ.ค. 2567


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.