บทสรุปของผู้บริหารสถานศึกษา
โรงเรียนบ้านหนองศรีจันทร์
ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
โรงเรียนบ้านหนองศรีจันทร์ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
ตั้งอยู่เลขที่ 57 หมู่ที่ 5 ตำบลหนองบัว อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92160 เปิดการสอนในระดับ ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีเขตพื้นที่บริการหมู่ ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นายสุทัศน์ จริยาโสวรรณ เบอร์โทรศัพท์ 087-6235519
จำนวนครู 12 คน จำแนกเป็น ข้าราชการครู 11 คน พนักงานราชการ - คน ครูอัตราจ้าง 1 คน
จำนวนบุคลากรอื่น 1 คน คือ เจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียน
จำนวนนักเรียน รวม 188 คน จำแนกเป็นระดับอนุบาล 47 คน ระดับประถมศึกษา 141 คน
เปิดสอนในระดับ ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
1. ระดับการศึกษาปฐมวัย มีผลการประเมินในภาพรวม อยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
1.1 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก ผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
1.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
1.3 มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก ผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนา
สถานศึกษามีกระบวนการพัฒนาเด็กที่หลากหลาย ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ โรงเรียนบ้านหนองศรีจันทร์ มีโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนระดับปฐมวัย เพื่อส่งเสริมสุขนิสัยที่ดีของเด็กระดับปฐมวัย โดยมีกิจกรรมแปรงฟันทุกวันหลังรับประทานอาหารกลางวัน มีกิจกรรมขยับกาย ขยายสมอง ให้นักเรียนได้ออกกำลังกายก่อนเข้าเรียนทุกวัน เพื่อเสริมสร้างพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ให้แข็งแรง และส่งเสริมให้เด็กดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ มีโครงการการจัดการศึกษาปฐมวัย โครงการใจประสานใจ ร่วมใจพัฒนาการศึกษา เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความร่าเริง แจ่มใส สามารถแสดงออกทางอารมณ์ได้สมวัย ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะชีวิตและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ผลการพัฒนา
สถานศึกษามีการจัดอาหารกลางวันและอาหารเสริมนมที่มีคุณค่าต่อโภชนาการของเด็ก เด็กมีร่างกายเจริญเติบโตสมวัย กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง เด็กมีการปฏิบัติตามข้อตกลงของห้องเรียนเกี่ยว กับความปลอดภัย มีการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เด็กสนใจมีความสุขชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว อย่างร่าเริงแจ่มใสสมวัย มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีความสามารถแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย
จุดที่ควรพัฒนา
1. เด็กควรได้รับการส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดอย่างมีระบบ ฝึกทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์ มีจินตนาการและจัดกิจกรรมให้เด็กได้ทำโดยการเรียนรู้ผ่านการเล่น
2. เด็กควรได้รับการส่งเสริมทักษะในการคิดแก้ปัญหา ฝึกให้เด็กคิดแก้ปัญหา หาเหตุผลในการตัดสินใจ คิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล ผ่านการทำกิจกรรมโครงงาน
แผนการดำเนินการเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น
สถานศึกษาจัดให้มีโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพและภาวะโภชนาการของเด็กอย่างเป็นรูปธรรมและปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ จัดให้มีการจัดการเรียนรู้แบบ project approach เพื่อให้เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ ตามความสนใจ โดยใช้การสอนแบบโครงงานเป็นฐาน มุ่งเน้นให้เด็กมีส่วนร่วมและกระตุ้นให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ ด้วยตัวเอง พร้อมเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งที่เด็กสนใจ โดยเป็นกิจกรรมเชิงปฏิบัติที่เน้นให้เด็กลงมือทำได้ด้วยตัวเอง เด็กได้ตั้งคำถามจากความสนใจและค้นหาคำตอบ ผ่านการสำรวจ การสืบค้น การจดบันทึก และ การคิดวิเคราะห์ เพื่อให้ได้ข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ผ่านประสบการณ์ตรงที่หลากหลาย
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนา
สถานศึกษามีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น จัดประสบการณ์ การเรียนรู้ให้กับเด็ก มีการจัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ มีการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างปลอดภัยและเพียงพอ โดยการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัย จัดบรรยากาศรอบอาคารเรียนให้มีความร่มรื่น สะอาด จัดหาสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อใช้ประกอบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็ก จัดให้มีระบบบริหาร ที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และ อัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด จัดทำแผนพัฒนาการศึกษา นำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม
ผลการพัฒนา
สถานศึกษามีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีครูที่เพียงพอ กับชั้นเรียน ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ ออกแบบการจัดประสบการณ์ จัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จัดสภาพแวดล้อมอย่างปลอดภัย และมีสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างเพียงพอและหลากหลาย มีบริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่เหมาะสมและต่อเนื่อง
จุดเด่น
สถานศึกษามีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีครูที่มีประสบการณ์ และเพียงพอกับชั้นเรียน และมีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ภาพรวมอยู่ในระดับยอดเยี่ยม มีการบริหารจัดการที่ดีและมีประสิทธิภาพ
จุดที่ควรพัฒนา
การให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ ควรจัดหาสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย และเพียงพอต่อการเรียนรู้
แผนการดำเนินการเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น
สถานศึกษาจัดให้มีโครงการพัฒนาหลักสูตรระดับปฐมวัย ให้ครูได้มีประสบการณ์ในการพัฒนาหลักสูตร ให้มากขึ้น จัดหางบประมาณในการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและนอกห้องเรียนให้น่าอยู่ จัดบรรยากาศให้ร่มรื่น จัดงบประมาณด้านการซื้ออุปกรณ์เทคโนโลยีให้มากขึ้น
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนา
ครูจัดประสบการณ์ให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้าน อย่างสมดุลเต็มศักยภาพ มีการวิเคราะห์ข้อมูลเด็ก เป็นรายบุคคลและสร้างโอกาสให้เด็กทุกคนได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข ครูจัดประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมให้เด็กมีโอกาสเลือกทํากิจกรรมอย่างอิสระ ตามความต้องการ ความสนใจ จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย โดยการจัดห้องเรียนให้สะอาด อากาศถ่ายเท ปลอดภัย มีพื้นที่แสดงผลงานเด็ก พื้นที่สําหรับมุมประสบการณ์และการจัดกิจกรรม เด็กมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน ครูประเมินพัฒนาการเด็กจากกิจกรรม และกิจวัตรประจําวันด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย ไม่ใช้แบบทดสอบวิเคราะห์ผลการประเมินพัฒนาการเด็กโดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วม และนําผลการประเมินที่ได้ไปพัฒนาคุณภาพเด็ก และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดประสบการณ์ ที่มีประสิทธิภาพ
ผลการพัฒนา
เด็กมีพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน อย่างสมดุลและเต็มศักยภาพ ครูได้รู้จักเด็กเป็นรายบุคคล และสามารถจัดประสบการณ์ตามความต้องการและความสนใจของเด็ก มีบรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ห้องเรียนสะอาด อากาศถ่ายเท มีมุมประสบการณ์ มีการประเมินพัฒนาผู้เรียนที่นำเสนอผู้ปกครองเพื่อร่วมกันส่งเสริมและแก้ไขปัญหาเด็กเป็นรายบุคคล
จุดเด่น
เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เด็กมีโอกาสเลือกทํากิจกรรมอย่างอิสระ ตามความต้องการ ความสนใจ เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข มีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็ก ไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก
จุดที่ควรพัฒนา
การจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การจัดมุมประสบการณ์ที่หลากหลาย การใช้สื่อและเทคโนโลยี ที่เหมาะสมกับวัย ควรจัดหาสื่อด้านเทคโนโลยีเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมพัฒนาการอย่างรอบด้าน
แผนการดำเนินการเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น
สถานศึกษาจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กในทุกด้าน จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ จัดให้มีมุมประสบการณ์ที่หลากหลาย จัดให้มีสื่อที่และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับช่วงอายุ และระยะความสนใจของเด็ก จจัดให้มีสื่อของเล่นที่กระตุ้นความคิดและหาคำตอบ และจัดให้มีการอบรมการประเมินพัฒนาการด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่หลากหลาย
2. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีผลการประเมินในภาพรวม อยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
2.1 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
2.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
2.3 มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา
สถานศึกษาได้ดำเนินการโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนคุณภาพผู้เรียน ด้านความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารญาณ อภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหาได้ผ่านการถอดบทเรียนสรุปความรู้ ในทุกรายวิชา มีการสร้างนวัตกรรม จัดทำโครงงาน ผลงาน/ชิ้นงานที่ภาคภูมิใจ เผยแพร่ผลงานต่อสารณะชน มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตร มีความรู้ ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพในท้องถิ่นตนเอง มีการศึกษาต่อเมื่อจบการศึกษา มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เป็นค่านิยมและเจตคติที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด ภาคภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยและประเพณีท้องถิ่นอันงดงาม มีการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย ทำกิจกรรมตามความถนัดและความสนใจ รวมทั้งมีสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคมที่ดี
ผลการพัฒนา
จากกระบวนการดำเนินงานของโรงเรียนบ้านหนองศรีจันทร์ ทำให้เกิดผลการพัฒนาที่สะท้อนคุณภาพของผู้เรียนทางด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ประกอบด้วย ความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ การสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตร การมีความรู้ ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เป็นค่านิยมและเจตคติที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด ความภาคภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย รวมทั้งสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคม มีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 พัฒนาคุณภาพเครื่องมือวัดและประเมินผล เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดในแต่ละสาระการเรียนรู้ จัดซื้อ จัดหาสื่อการเรียนการสอน ที่มีความทันสมัยและเพียงพอต่อการใช้งาน ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูเข้ารับการอบรม/ศึกษาต่อ เพื่อพัฒนาตนเอง และนำความรู้มาพัฒนาคุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน จัดครูทำหน้าที่สอนในสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่มีความรู้ ความสามารถตรงตามวิชาเอก มีการนิเทศการศึกษาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ใช้กระบวนการ PLC เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครู ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนได้แสดงความสามารถตามความแตกต่างของศักยภาพ จัดกิจกรรมเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test: RT) โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 การทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (Nation Test: NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Education Test: O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ดำเนินงานโครงการเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาและดูแลช่วยเหลือนักเรียน ได้แก่ กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน และพัฒนาอาคารสถานที่และภูมิทัศน์ กิจกรรมห้องเรียนแห่งความสุข เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้ และกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยี เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพให้กับผู้เรียน
จุดเด่น
ผู้เรียนได้รับการส่งเสริมให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามที่สถานศึกษากำหนด อ่านออก เขียนได้ ผู้เรียนได้รับการพัฒนาจากรูปแบบการสอนตามที่เหมาะสมกับช่วงวัยด้วย ได้ไปเข้าร่วมแข่งขันทักษะวิชาการ ที่เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียน มีรูปแบบการสอนและครูพัฒนาสื่อและนวัตกรรมเพื่อใช้ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผู้เรียนทุกคนเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์และคิดแก้ปัญหา ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เผชิญหน้ากับปัญหาด้วยตนเอง นําไปสู่การสร้าง องค์ความรู้หรือนวัตกรรมได้อย่างเป็นระบบ มีส่วนร่วมในการจัดทำโครงงาน มีผลงานและชิ้นงานที่ภาคภูมิใจ ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี สื่อและนวัตกรรมต่างๆ ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีในการบูรณาการการเรียนในทุกรายวิชา สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ภาคภูมิใจในท้องถิ่นและรักความเป็นไทย มีสุขภาพที่ดี
จุดที่ควรพัฒนา
1. พัฒนาทักษะทางด้านการอ่าน การเขียน ทักษะทางด้านความคิด และส่งเสริมทักษะทางด้านต่าง ๆ ของผู้เรียนเพิ่มมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนได้มีทักษะที่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันทางด้านวิชาการได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น
2. พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test: RT) โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 การทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (Nation Test: NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Education Test: O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้สูงกว่าระดับประเทศในทุก ๆ ปี
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนา
สถานศึกษามีการพัฒนากระบวนการบริหารและการจัดการ มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจอย่างชัดเจนสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการของสถานศึกษา ชุมชน ท้องถิ่นและสอดคล้องกับแนวปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ มีจุดเน้นและการจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาในทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยจัดการศึกษาที่เน้นพัฒนาทั้งความรู้ และคุณธรรม จริยธรรม มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา โดยใช้กระบวนการ PDCA ในการบริหารงานและจัดการคุณภาพสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ จัดโครงสร้างการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Management : SBM) แบ่งงานเป็น 4 ฝ่าย ประชุมเพื่อวางแผน ปรับปรุง และพัฒนา จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ เปิดโอกาสให้เครือข่ายมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสนับสนุนพัฒนาครูและบุคลากร ให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้รวมทั้งสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ มีการบริหารวางแผนอัตรากำลัง และแบ่งผู้รับผิดชอบงานฝ่ายต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของงาน โดยให้ความสำคัญกับการจัดวางตัวบุคคลให้เหมาะสมกับงาน และจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีเครือข่ายผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วม มีระบบนิเทศภายใน การนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย มีส่วนร่วมในการวางแผน ปรับปรุงและพัฒนา และร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา มีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้ารับการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน เพื่อพัฒนาตนเอง ส่งเสริมให้ครูมีหรือเลื่อนวิทยะฐานะที่สูงขึ้น สร้างขวัญและกำลังใจแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาในด้านต่างๆ มีการจัดกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) และมีการส่งเสริมสนับสนุนให้ครูและบุคลากร เข้าร่วมประกวดส่งผลงานต่างๆ เพื่อเป็นการพัฒนาตนเองให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพมากยิ่งขึ้น
ผลการพัฒนา
สถานศึกษาดำเนินการบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ ทั้งในส่วนการวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา โดยการนำแผนไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีการตรวจสอบประเมินผล และปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีการบริหารอัตรากำลังทรัพยากรทางการศึกษา และจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีเครือข่ายผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วม มีระบบนิเทศภายใน การนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนา บุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย มีส่วนร่วมในการวางแผน ปรับปรุง และพัฒนา และร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษาทำให้การพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานของสถานศึกษาสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ มีการกำกับติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลโดยใช้วงจรคุณภาพ หรือรูปแบบบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษา โดยกรรมการที่โรงเรียนได้แต่งตั้งขึ้นเพื่อกำกับและติดตามการทำงานของครูและบุคคลากรให้ทำงานอย่างเต็มที่และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโรงเรียนตามระบบการประกันคุณภาพภายใน ผลจากปรับปรุงพัฒนางาน อย่างต่อเนื่องทำให้ผู้บริหาร ครูและบุคลากรได้รับรางวัลต่างๆ เช่น รางวัลครูผู้สอนดีเด่น รางวัลครูดีไม่มีอบายมุข และรางวัลอื่น ๆ ซึ่งเป็นผลมากจากการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และนำผลจากการพัฒนาตนเองมาปรับใช้ กับการเรียนการสอนจนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโรงเรียน และมีผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้
จุดเด่น
สถานศึกษามีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ การทำงานแบบมีส่วนร่วม โดยการร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมปฏิบัติงานของบุคลากรทุกคน มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ที่กำหนดไว้ชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาตามความต้องการของชุมชน วัตถุประสงค์ของแผนการจัดการศึกษาของชาติ นโยบายของรัฐบาลและหน่วยงานต้นสังกัด
ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ และมีความสามารถทำให้การบริการจัดการด้านต่างๆ มีประสิทธิภาพ ระบบสารสนเทศของโรงเรียน เป็นหมวดหมู่และเป็นปัจจุบัน มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี นำผลการประเมินไปปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม และจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัด จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ส่งเสริมและตอบสนองความต้องการความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียน
จุดที่ควรพัฒนา
เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนา
ครูผู้สอนได้ดำเนินการโครงการ/กิจกรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับความถนัด และความสนใจเต็มตามศักยภาพของผู้เรียน จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา สร้างโอกาสให้ผู้เรียน มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง (Active Learning) มีการพัฒนาการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และมีการจัดกิจกรรมทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา รวมทั้งนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกลุ่มสาระและภูมิปัญญา มีการบริการจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ภายใต้การนิเทศภายในกิจกรรมห้องเรียนแห่งความสุข เอาใจใส่ ดูแล ช่วยเหลือ สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้เรียน ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล มีการวัดผลและประเมินผลผู้เรียนอย่างเป็นระบบ มีวิธีการที่หลากหลายในการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภายใต้กิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) และนำผลที่ได้มาสะท้อนกลับ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผลการพัฒนา
ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้และทำกิจกรรมด้วยความสนใจเต็มตามศักยภาพของผู้เรียน สามารถค้นคว้า หาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกโรงเรียน เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน และนำไปสู่การคิดและปฏิบัติในชีวิตประจำวัน โดยเกิดทักษะกระบวนการแสวงหาความรู้ มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณลักษณ์อันพึงประสงค์ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข สถานศึกษามีการบริหารจัดการโรงเรียนทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีการจัดระบบการทำงานในองค์กรและพัฒนาระบบงานทุก ๆ ด้าน โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมของครูและผู้ที่เกี่ยวข้องพัฒนาโรงเรียนไปในทิศทางที่ดีขึ้นและก้าวหน้าในทุก ๆ ด้าน
จุดเด่น
ครูปฏิบัติหน้าที่ตรงกับความรู้ความสามารถทำให้งานมีคุณภาพ ได้รับการยอมรับจากผู้ปกครองและชุมชน ผู้บริหารให้คำแนะนำ คำปรึกษาทางด้านวิชาการและเอาใจใส่การจัดการศึกษาอย่างเต็มศักยภาพและเต็มเวลา ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อาคารเรียนมั่นคง สะอาดและปลอดภัยมีสิ่งอำนวยความสะดวก พอเพียง อยู่ในสภาพใช้การได้ดี สภาพแวดล้อมร่มรื่น และมีแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้เรียน ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและบุคลากรของสถานศึกษารวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง โรงเรียนให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อินเทอร์เน็ตแบบไร้สายที่ครอบคลุม ให้ครูสามารถจัดการเรียนการสอนที่ทันสมัยและมีคุณภาพ ทำให้นักเรียนสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จุดที่ควรพัฒนา
เปิดโอกาสให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา เข้ารับการฝึกอบรม ดูงาน เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
แผนการดำเนินการเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น
แผนงานที่1 โครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อเป็นการส่งเสริมงานด้านวิชาการ พัฒนา และปรับปรุงหลักสูตรของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับแผนงาน นโยบาย สนองตามจุดเน้น
แผนงานที่ 2 โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดียิ่งขึ้น พร้อมสำหรับการรับการประเมิน และทดสอบในระดับต่างๆ รวมทั้งได้รับการพัฒนาในทุกด้านอย่างเต็มศักยภาพ
แผนงานที่ 3 โครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ เต็มตามศักยภาพ ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการค้นคว้าหาความรู้ มีเจตคติที่ดีต่อการศึกษาทั้งด้านวิชาการและทักษะอื่นที่จำเป็น
แผนงานที่ 4 โครงการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในหมู่บ้านของตัวเอง มีโอกาสในการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อค้นพบความต้องการและพัฒนาทักษะด้านวิชาชีพในท้องถิ่นของตน
แผนงานที่ 5 โครงการห้องสมุดหรรษา เพื่อให้นักเรียนทุกระดับชั้นได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ จากห้องสมุด และมีนิสัยรักการอ่าน รู้จักคิดวิเคราะห์ ใช้วิจารณญาณ นำความรู้ที่ได้รับจากการอ่านไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
แผนงานที่ 6 โครงการส่งเสริมความสามารถพิเศษที่หลากหลาย เพื่อพัฒนานักเรียนส่งเสริมนักเรียน ตามความต้องการ ความสามารถ ความถนัด และความสนใจของนักเรียน
แผนงานที่ 7 โครงการเปิดบ้านวิชาการโรงเรียนบ้านหนองศรีจันทร์ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ทักษะต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน และอนาคต ตามความถนัด และความสนใจ อย่างเต็มศักยภาพ
แผนงานที่ 8 โครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักความพอเพียงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีภูมิคุ้มกันที่เหมาะสม สามารถดำเนินชีวิตในทางที่ถูกต้อง
แผนงานที่ 9 โครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน ในสังคม และเรียนรู้ความมีประชาธิปไตย ยอมรับในความคิดเห็นของผู้อื่น
(นายสุทัศน์ จริยาโสวรรณ)
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองศรีจันทร์
|