[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา Self-Assessment Report-SAR ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านควนอารี
วันที่   21   พฤษภาคม   2567
เข้าชม : 63
Bookmark and Share


 บทสรุปของผู้บริหาร

*   ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

สี่เหลี่ยมผืนผ้า: มุมมน: ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

โรงเรียนบ้านควนอารี ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 205 ม. ๙ ตำบลบางดี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ๙๒๒๑๐ ผู้บริหารสถานศึกษา นางสกาวเดือน  ศรีสุข โทร. 086-2891293 e-mail : ibankuanareesch@gmail.com โรงเรียนบ้านควนอารี มีจำนวนบุคลากรทั้งหมด ๑๐ คน จำแนกเป็น ข้าราชการครู ๗ คน, ครูอัตราจ้าง ๒ คน และลูกจ้างประจำ ๑ คน เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ๑ ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ซึ่งมีจำนวนนักเรียน ๙๔ คน จำแนกเป็นระดับชั้นอนุบาล ๒๒ คน และระดับชั้นประถมศึกษา ๗๒ คน

 

                                

*   ระดับการศึกษาปฐมวัย

ผลการประเมินระดับคุณภาพมาตรฐาน   :   ดีเลิศ

มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย

ระดับคุณภาพ

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก

ยอดเยี่ยม

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหาร และการจัดการ

ดีเลิศ

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

ดีเลิศ

v กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนบ้านควนอารี มีหลักสูตรสถานศึกษาที่เอื้อต่อการส่งเสริม และมีการจัดประสบการณ์แก่เด็กปฐมวัยแบบบูรณาการการเรียนรู้ มีการออกแบบการเรียนรู้ที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการที่ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน มีการจัดหาสื่อ เทคโนโลยี และมีการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อพัฒนาการเด็ก โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของเด็กเป็นสำคัญ รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างต่อเนื่อง

v ผลการพัฒนา

          จากการดำเนินงานของโรงเรียนบ้านควนอารีส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านที่เหมาะสมกับวัย โดยพัฒนาการด้านร่างกาย เด็กปฐมวัยมีร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี ดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ พัฒนาการด้านอารมณ์ เด็กปฐมวัยควบคุมการแสดงออกทางด้านอารมณ์และความรู้สึกได้ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม มีสุนทรียภาพทางด้านดนตรี ศิลปะ และกีฬา พัฒนาการทางด้านสังคม เด็กปฐมวัยสามารถช่วยเหลือตนเองได้ เป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี มีระเบียบวินัย รู้จักช่วยเหลือแบ่งปัน ประพฤติตนตามวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี และพัฒนาการด้านสติปัญญา เด็กปฐมวัยรู้จักคิด ฟัง สังเกต ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง วางแผน ตัดสินใจ สร้างสรรค์ผลงานได้ตามความคิด และจินตนาการ

 

 

v จุดเด่น

          โรงเรียนบ้านควนอารี มีหลักสูตรสถานศึกษาที่เอื้อต่อการส่งเสริม และมีการจัดประสบการณ์แก่เด็กปฐมวัยแบบบูรณาการการเรียนรู้ มีการออกแบบการเรียนรู้ที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการที่ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน มีการจัดหาสื่อ เทคโนโลยี และมีการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อพัฒนาการเด็ก โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของเด็กเป็นสำคัญ รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างต่อเนื่อง

v จุดที่ควรพัฒนา

          การส่งเสริมด้านการเลี้ยงดูของพ่อแม่ จัดหาครูให้เพียงพอ ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ และพัฒนาการด้านสังคม เพื่อเตรียมความพร้อมการความเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ ครูผู้สอน และผู้ปกครองควรให้ความสำคัญกับการใช้สื่อเทคโนโลยีของเด็กให้เหมาะสมกับวัย

v แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

          จากผลการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาสถานศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัยจะประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐาน เพื่อให้การดำเนินงานดังกล่าวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีคุณภาพการศึกษาที่สูงขึ้น ควรจัดการศึกษาโดยมุ่งพัฒนาเด็กให้สามารถอยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีความสุข มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 สามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ได้กับตนเอง และครอบครัว มีการจัดอบรมผู้ปกครอง และจัดหางบประมาณจ้างครูให้ตรงวิชาเอก

*   ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผลการประเมินระดับคุณภาพมาตรฐาน   :   ดีเลิศ

มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ระดับคุณภาพ

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน

ดีเลิศ

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

ดีเลิศ

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ดีเลิศ

v จุดเด่น

๑. ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีในการสร้างอาชีพที่สุจริต มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์สูงกว่าเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล ภูมิใจในสถาบันหลักของชาติและค่านิยมประเพณี วัฒนธรรมไทย

๒. โรงเรียนจัดระบบบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา มีการกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจอย่างชัดเจน สามารถดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาในทุกกลุ่มเป้าหมายจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ดำเนินการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่ปลอดภัย เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้

๓. ครูจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ในรูปแบบที่หลากหลาย เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ          เน้นกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคล สร้างโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงตามศักยภาพ มีการบริหารจัดการเรียนรู้เชิงบวกสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีร่วมกันแลกเปลี่ยน เรียนรู้ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

v จุดที่ควรพัฒนา

๑. ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถด้านการอ่าน การสื่อสาร การคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ การคำนวณ ความสามารถในการสร้างสนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้

๒. ควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกลุ่มชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของครูผู้สอนแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อให้ได้แนวคิดที่หลากหลายในการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอน

๓. ควรจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการในสถานศึกษา เช่น การวางระบบการดูแลนักเรียน การประชาสัมพันธ์ข่าวสาร การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้ปกครองให้เป็นระบบและใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาระบบบริหารที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ

v แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

๑. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Active Learning เช่น การสอนแบบโครงงาน แบบสะเต็มศึกษา แบบพหุปัญญา โดยการวางแผนการจัดการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และมีการประเมินความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหาของผู้เรียนเป็นระยะ พร้อมทั้งพัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอย่างเป็นระบบมีการใช้กระบวนการวิจัยในรูปแบบที่ถูกต้องตามหลักวิชาการมาใช้ในการดำเนินงาน พัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างเป็นรูปธรรม

๒. จัดกิจกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาแล้วนำมาสู่การระดมความคิดเพื่อพัฒนาสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ ระดมทรัพยากรทางการศึกษาให้เพียงพอต่อความต้องการในการจัดการศึกษา

๓. พัฒนาวิธีการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนอย่างเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาผ่านกระบวนการวิจัย

๔. จัดกิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พัฒนาครูให้ทำการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อนำผลการวิจัยนั้นไปพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ

๕. จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ เทคโนโลยี บริการและการช่วยเหลือทางเทคโนโลยีให้หลากหลาย เพียงพอต่อการใช้งานและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น

 

------------------------------------

 

 



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     โครงการ "สุขาดี มีความสุข" 10 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566 2 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2566 1 มิ.ย. 2567
     การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 29 พ.ค. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566 25 พ.ค. 2567


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.