[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : ผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านช่องหาร
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านช่องหาร
วันที่   17   พฤษภาคม   2567
เข้าชม : 102
Bookmark and Share


 

บทสรุปของผู้บริหาร

ชื่อโรงเรียน              บ้านช่องหาร   

ที่อยู่                     เลขที่ ๒๐๒ หมู่ที่ ๓ ตำบลวังมะปรางเหนือ  อำเภอวังวิเศษ

                          จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ ๙๒๒๒๐

 

ชื่อผู้บริหารโรงเรียน    นางนุชนาฎ ภักดีชน  เบอร์โทรศัพท์ 95-5680912

จำนวนครู               9 คน  จำแนกเป็น ข้าราชการครู 5 คน พนักงานราชการ ๑ คน ครูอัตราจ้าง ๒ คน

       เจ้าหน้าที่ธุรการ ๑ คน

จำนวนนักเรียน         รวม 99 คน จำแนกเป็นระดับอนุบาล ๒7 คน ระดับประถมศึกษา 72 คน

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

๑. ระดับการศึกษาปฐมวัย มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ ดีเลิศ

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

  จากการดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรมต่างๆ ตามแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาส่งผลให้การพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ซึ่งผลการประเมินโดยรวมของสถานศึกษาอยู่ในระดับ ดีเลิศ ดังนี้  

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนบ้านช่องหารมีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษา มีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อที่จะใช้ในการขับเคลื่อนการศึกษาระดับปฐมวัย ได้แก่ การพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรปฐมวัย จัดกิจกรรมและจัดประสบการณ์เรียนรู้ตามหลักสูตรเป็นระบบอย่างต่อเนื่องโดยการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 ครูจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 ใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบจัดกิจกรรม 6 กิจกรรมหลักและสอนแบบการจัดการเรียนรู้โดยส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ - จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา จัดกิจกรรมตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การใช้สื่อและเทคโนโลยี มีการจัดห้องเรียนให้สะอาดอากาศถ่ายเท ปลอดภัย มีมุมแสดงผลงานนักเรียน มุมประสบการณ์ มุมรักการอ่าน มีการประเมินพัฒนาการเด็กจากกิจกรรม 6 กิจกรรมหลักหน่วยการเรียนรู้ และกิจวัตรประจำวันด้วยการสังเกตพฤติกรรม สังเกตการณ์ปฏิบัติงานกลุ่มและรายบุคคล การสัมภาษณ์ ผลงาน และให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม

ผลการพัฒนา

          เป็นไปตามเป้าหมายที่โรงเรียนวางไว้ทั้ง 3 มาตรฐาน นักเรียนมีพัฒนาการด้านร่างที่แข็งแรง สมบูรณ์ มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน มีการแสดงออกทางด้านอารมณ์ ความรู้สึกได้เหมาะสมกับวัย มีความรู้สึกที่ดีทั้งต่อตนเองและผู้อื่น มีพัฒนาการด้านสังคม และช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม สามารถช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทย เช่น

การกล่าวคำทักทาย สวัสดีค่ะ/สวัสดีครับ การไหว้ การยิ้ม การขอโทษ และการมีสัมมาคารวะ ทำให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

 

จุดเด่น

          มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ซึ่งสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ นักเรียนมีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก ยิ้มแย้มแจ่มใส ร่าเริง มีการจัดกิจกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์ ด้านศิลปะ ดนตรี เพื่อสร้างจินตนาการและมีอารมณ์ผ่องใส ให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ ได้ทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน มีครูตรงตามวิชาเอก โดยครูได้มีการเข้ารับการพัฒนาด้านวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

 

จุดที่ควรพัฒนา

1. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน แบบองค์รวม และหลากหลายอย่างต่อเนื่อง

2. สถานศึกษาต้องดำเนินการบริหารและจัดการสถานศึกษาที่ครอบคลุมทุกด้าน จัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ มีการบริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์สำหรับครู และมีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง

3. ควรการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ
สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่อง

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

1. พัฒนาหลักสูตรปฐมวัยของสถานศึกษา ให้มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตรและมีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเสริมในการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวมโดยคำนึงถึงเด็กเป็นสำคัญและพัฒนาเด็กแต่ละคนอย่างเต็มศักยภาพฅชางการศึกษา ส่งเสริมให้ครูปฐมวัยได้รับการอบรม สัมมนาและศึกษาดูงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องครบทุกคน และนอกจากนี้เปิดโอกาสให้ครูได้นำนวัตกรรม/เทคนิควิธี/รูปแบบการสอน ส่งประกวดในเวทีวิชาการต่างๆ

3. จัดทำโครงการ/กิจกรรมการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

๒. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ ดีเลิศ

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน มีผลการประเมินในระดับ ยอดเยี่ยม

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินในระดับ ดีเลิศ

มาตรฐานที่ ๓  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลการประเมินในระดับ ดีเลิศ

จากการดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรมต่างๆ ตามแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาส่งผลให้การพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ซึ่งผลการประเมินโดยรวมของสถานศึกษาอยู่ในระดับ ดีเลิศ ดังนี้  

 

 

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนบ้านช่องหารได้จัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลายที่เป็นไปตามปัญหาและความต้องการพัฒนาตามสภาพของนักเรียน สอดคล้องกับจุดเน้นของสถานศึกษาและสภาพของชุมชน ครูผู้สอนมีการประเมินการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียน การประเมินสมรรถนะสำคัญผู้เรียนและการประเมิน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านและเขียน ความสามารถในการสื่อสาร คิดคำนวณ การใช้

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ดี และมีความประพฤติด้านคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะตามที่สถานศึกษากำหนดสถานศึกษาวางแผนพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยมีการ วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้กำหนดเป็นเป้าหมายทางการเรียน โดยใช้ข้อมูลพื้นฐาน 3 ปีย้อนหลัง เป็นเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนให้พัฒนาสูงขึ้น จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ และการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning เน้นทักษะในการอ่าน การเขียนและการคิดคำนวณ ส่งผลให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพ

ผลการพัฒนา

          โรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จัดกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อฝึกทักษะให้ผู้เรียนสามารถอ่านออก และเขียนได้ตามระดับชั้น รู้จักวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตย มีระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศที่พร้อมใช้งาน มีครูจัดการเรียนการสอน โดยใช้โครงงานเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์นักเรียน มีการนำสื่อ นวัตกรรมมาใช้ในการสอน และจัดกิจกรรม Active learning เพื่อส่งเสริมการคิด และปฏิบัติจริงทุกชั้นเรียน ครูได้รับการพัฒนา และนำความรู้มาจัดทำแผนการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอน และเครื่องมือวัดและประเมินผลผู้เรียน

จุดเด่น

          โรงเรียนมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ใช้เทคนิคการประชุม ที่หลากหลาย เช่น การประชุมแบบมีส่วนร่วม การประชุมระดมสมอง การประชุมกลุ่ม เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ที่ชัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และแผนการศึกษาชาติ ครูมีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพอย่างเต็มตามศักยภาพ ตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรสถานศึกษาและโรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่สะอาด ร่มรื่น สวยงาม ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนมีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา รวบรวมข้อมูลเพื่อใช้เป็นฐานในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง

จุดที่ควรพัฒนา

  1. สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่เพียงพอต่อความต้องการและจำนวนของผู้เรียน

๒. ผู้เรียนในระดับขั้น ป.๑ - ป.๖ ยังต้องเร่งพัฒนาด้านการสรุปความคิด การใช้ภาษาในการนำเสนอ การอภิปราย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสมเหตุสมผล และต้องพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาตามสถานการณ์ ได้อย่างเหมาะสม

  3. ครูผู้สอนไม่ค่อยมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานภายนอก

  4. ครูควรใช้เครื่องมือในการวัดผลการพัฒนาพฤติกรรมการเรียนรู้ตรงตามสภาพจริงอิงตามมาตรฐาน การเรียนรู้และตัวชี้วัดและให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนทันที เพื่อให้ผู้เรียนนำไปใช้พัฒนาตนเอง

  5. ควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้มากยิ่งขึ้น

 

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

  1. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม และเน้นการจัดการเรียนการสอนทักษะวิชาชีพให้มากขึ้น

2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลให้ชัดเจนขึ้น

  3. ส่งเสริมให้บุคลากรมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้นด้วยการส่งเสริมการอบรมและการพัฒนาเฉพาะทางมากขึ้น โดยเฉพาะด้านการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนและส่งเสริมให้มีกาแลกเปลี่ยน เรียนรู้ระหว่างหน่วยงานเพื่อนำมาพัฒนาผู้เรียนและการให้ความสำคัญกับการทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหา ผู้เรียนได้ตรงเป้าหมายโดยมีผู้บริหารนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     โครงการ "สุขาดี มีความสุข" 10 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566 2 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2566 1 มิ.ย. 2567
     การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 29 พ.ค. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566 25 พ.ค. 2567


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.