บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
โรงเรียนวัดควนธานี ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1– ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประเมินคุณภาพภายในประจำปีการศึกษา 2566 เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2567 มีการจัดสถานศึกษา 2 ระดับ คือ
ระดับการศึกษาปฐมวัย จำแนกเป็น
- ชั้นอนุบาลปีที่ 1 - 3 มีครูสอน 1 คน นักเรียน จำนวน 16 คน
- รวม มีครูสอน 1 คน นักเรียน ทั้งหมด 16 คน
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกเป็น
- ประถมศึกษาปีที่ 1 มีครูสอน 1 คน นักเรียน จำนวน 13 คน
- ประถมศึกษาปีที่ 2 มีครูสอน 1 คน นักเรียน จำนวน 7 คน
- ประถมศึกษาปีที่ 3 - 4 มีครูสอน 1 คน นักเรียน จำนวน 11 คน
- ประถมศึกษาปีที่ 5 - 6 มีครูสอน 1 คน นักเรียน จำนวน 8 คน
- รวม มีครูสอน 4 คน นักเรียน ทั้งหมด 39 คน
ผลการประเมินคุณภาพในสถานศึกษา
สถานศึกษาได้แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 และสรุปผลการประเมินจำแนกตามระดับคุณภาพทั้ง 2 ระดับ ดังนี้
ผลการการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
๑. ระดับการศึกษาปฐมวัย
1.1 มาตรฐานที่ 1 ด้านคุณภาพเด็ก มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ
1.2 มาตรฐานที่ 2 ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ
มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ
1.3 มาตรฐานที่ 3 ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ
ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนของระดับปฐมวัย อยู่ในระดับ ดีเลิศ
ข้อมูลรายละเอียดผลการประเมินผลและหลักฐานสนับสนุนการประเมิน
กระบวนการพัฒนา
ด้านคุณภาพของเด็ก โรงเรียนวัดควนธานีมีผลการประเมินคุณภาพภายใน ตามมาตรฐานที่ 1
มีค่าคะแนน ร้อยละ 83.33 มีผลการประเมิน อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ เด็กมีร่างกายแข็งแรง
มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ ด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ บรรลุตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด โรงเรียนมีการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ตามหลักสูตรและมีแผนงาน/โครงการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐม เพื่อเด็กอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง และจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ระดับปฐมวัย ยึดพัฒนาการและการพัฒนาเด็ก โดยองค์รวมผ่านการเล่นอย่างมีความหมายและเหมาะสมกับวัย มีการพักผ่อนที่เพียงพอกิจกรรมที่หลากหลาย ประเมินพัฒนาการของเด็กโดยคุณครูที่มีความรู้ความสามารถด้านการศึกษาปฐมวัย ด้วยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ มีการบันทึกพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน จากการดำเนินงานตามโครงการกิจกรรมส่งผลให้มีพัฒนาการในภาพรวม ระดับคุณภาพ ดีเลิศ จำแนกเป็น ด้านร่างกายร้อยละ 83.33 ด้านอารมณ์ จิตใจร้อยละ 83.33 ด้านสังคมร้อยละ 83.33 และด้านสติปัญญาร้อยละ 83.33
ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ โรงเรียนวัดควนธานีสามารถบริหารจัดการศึกษาปฐมวัยบรรลุตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนดขึ้น ตามมาตรฐานที่ 2 มีผลการประเมิน อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ เนื่องจากได้ดำเนินการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา มีการประเมินและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และบริบทของท้องถิ่น จัดครูให้เพียงพอและเหมาะสมกับชั้นเรียนมีการส่งเสริมให้ ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งผลต่อคุณภาพเด็กเป็นรายบุคคลตรงความต้องการของครูและสถานศึกษา จัดสภาพแวดล้อมอย่างปลอดภัย และมีสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างเพียงพอและหลากหลาย ส่งผลให้ผลการดำเนินการบรรลุเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด
ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาปฐมวัยบรรลุตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนดขึ้น มีผลการประเมินคุณภาพภายใน ตามมาตรฐานที่ 3 อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ ครูจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา อย่างสมดุล เต็มศักยภาพโดยความร่วมมือของพ่อแม่ และครอบครัว ชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง สร้างโอกาสให้เด็กได้รับระสบการณ์ตรงเล่นและปฏิบัติกิจกรรม เรียนรู้ลงมือทำและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข จัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้โดยเด็กมีส่วนร่วม ใช้สื่อและเทคโนโลยี ที่เหมาะสมกับวัย ครูประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม นำผลการประเมินที่ได้ไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก ส่งผลให้ผล การดำเนินการเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด
ผลการพัฒนา
ด้านคุณภาพเด็ก ระดับการศึกษาปฐมวัย เด็กร้อยละ 83.33 มีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ ด้านอารมณ์จิตใจ เด็กร้อยละ 83.33 มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ สังเกตได้จากการกล้าพูด กล้าแสดงออก รู้จักหน้าที่รับผิดชอบ ตามที่ได้รับมอบหมายให้ทำที่บ้าน ร่าเริง แจ่มใส ด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เด็กร้อยละ 83.33 มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมได้อย่างเหมาะสม
ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ
โรงเรียนวัดควนธานี มีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ที่ชัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนาและนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ มีการดำเนินการนิเทศกำกับ ติดตามประเมินผล การดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา และโรงเรียนได้ใช้กระบวนการในการรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้เป็นฐาน ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
1. โรงเรียนวัดควนธานี จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายอารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา อย่างสมดุล เต็มศักยภาพโดยความร่วมมือของพ่อแม่และครอบครัว ชุมชนแลผู้เกี่ยวข้อง
2. สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเล่นและปฏิบัติกิจกรรม เรียนรู้ลงมือทำและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข
จุดเด่น
- เด็กมีพัฒนาการการอย่างสมดุล
- เด็กเรียนรู้ จากการเล่นและปฏิบัติกิจกรรม
- มีบรรยากาศ สภาพห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้
- ประเมินผลเด็กด้วยวิธีการหลากหลาย
จุดที่ควรพัฒนา
- จัดอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย
- พัฒนาเครื่องเล่นสนามและระบบสาธารณูปโภค
- จัดกิจกรรมส่งเสริมเด็กเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน
แนวทางการพัฒนาเพื่อให้ได้คุณภาพสูงขึ้น (ระดับการศึกษาปฐมวัย)
(1) เด็กควรได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย โดยการจัดหาเกมส์การแข่งขันเป็นทีมที่มีกติกา อย่างชัดเจน และให้เด็กได้เล่นเกมอย่างหลากหลายมากขึ้น โดยควรดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
(2) ควรส่งเสริมและพัฒนาให้เด็กได้วาดภาพตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ โดยกำหนดหัวข้อเรื่องให้ เพื่อดูพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ โดยควรดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
(3) สถานศึกษาควรฝึกการอดทนและรอคอยให้เด็ก ๆ เพื่อความเป็นระเบียบและความพร้อมเพรียง เช่น การเดินแถวเข้าห้องเรียนและการรอรับอาหารกลางวันและอาหารเสริม (นม)
(4) การพัฒนาด้านการเขียน การวาดรูป การปั้นดินน้ำมัน เพื่อสื่อความหมายให้มีความชัดเจนมาก โดยดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
(5) พัฒนาด้านทักษะความรู้ตามสาระการเรียนรู้ในหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ.2565 ด้วยกิจกรรม ที่หลากหลายครอบคลุมทุกสาระ บูรณาการกับกิจกรรมประจำวันอย่างเหมาะสม โดยควรดำเนินการ อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
(6) สถานศึกษาควรส่งเสริมให้เด็กมีคุณลักษณะครอบคลุมตามปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่เกี่ยวข้องกับเด็กตามอัตลักษณ์ คือ ผู้เรียนเชื่อมั่นศรัทธาในพุทธศาสนา และจัดโครงการหรือกิจกรรม ที่สอดคล้องกับ อัตลักษณ์ พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมายของการพัฒนาและตัวชี้วัดให้เหมาะสมตามวัย
(7) สถานศึกษาควรมีการดำเนินงานโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาทของสถานศึกษา คือโครงการวิถีชีวิตเศรษฐกิจปฐมวัย เพื่อปลูกฝังให้เด็กรู้จักประหยัดอดออม ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงเหลือใช้จ่ายในวันข้างหน้า ให้มีการขยายรูปแบบการดำเนินงานอย่างหลากหลายและต่อเนื่องยิ่งขึ้น โดยควรดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
(8) จัดสรรครูหรือผู้เลี้ยงดูเด็กมีจานวนเพียงพอกับเด็กมากขึ้น
(9) สถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรร่วมมือกันวางแผนและจัดระบบการประเมินพัฒนาการเด็ก ทั้ง 4 ด้าน ให้สอดคล้องกับจุดหมายหรือมาตรฐาน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยจัดทำเครื่องมือ กำหนดวิธีการ กระบวนการประเมินอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน และนำผลการประเมิน พัฒนาการเด็กทุกด้านไปใช้ เพื่อการพัฒนาเด็ก และพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ โดยการเปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการวางแผน นำผลประเมินไปพัฒนาเด็ก
2. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1.1 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
1.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
1.3 มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนของระดับปการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับ ดีเลิศ
ข้อมูลรายละเอียดผลการประเมินผลและหลักฐานสนับสนุนการประเมิน
กระบวนการพัฒนา
ด้านคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนวัดควนธานีมีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูจัดการเรียนรู้ให้ เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียนและเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ เหมาะสมกับผู้เรียนโดยมีการจัดการเรียนรู้ทั้งรูปแบบการระดมสมอง แบบลงมือปฏิบัติจริง แบบร่วมมือกันเรียนรู้ แบบใช้กระบวนการคิด พัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านคล่องและเขียนคล่อง ในระดับชั้น ป.1 – ป.3 ส่งเสริมด้านการอ่าน การเขียน และลายมือสวย และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี ในการสืบค้นข้อมูลและพัฒนาตนเอง พัฒนาครูทุกคนให้มีความสามารถในการนำเทคนิควิธีสอนให้ตรง ตามศักยภาพ ผู้เรียนใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ กำหนดแผนการจัดการเรียนรู้การวัดและประเมินผลแบบบูรณาการ ครูเน้นการใช้คำถามเพื่อพัฒนาทักษะ การคิดของผู้เรียน นอกจากนี้โรงเรียนได้มีการดำเนินการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียนเพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ด้านกระบวนการบริหารการจัดการ โรงเรียนวัดควนธานี มีเป้าหมายในการดำเนินงาน ที่ชัดเจน มีแผนในการดำเนินงาน และปฏิบัติงานตามแผนที่ตั้งไว้ได้จริง ในรูปแบบ RSNMQ Model ภายใต้วงจรคุณภาพ PDCA นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 โรงเรียนมีการวางแผนการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนได้รับความไว้วางใจจากผู้ปกครองโดยดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา ศึกษาข้อมูลสารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการ ปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็น จากบุคลากรในโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชน เพื่อวางแผน ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาของโรงเรียน ความต้องการของชุมชนท้องถิ่น และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา พร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ มอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบ ดำเนินการพัฒนา ตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนวัดควนธานีมีรูปแบบเทคนิค วิธีการจัดการเรียนรู้ พัฒนากระบวนการคิด สู่การปฏิบัติ และนักเรียนสามารถ นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยจะเห็นจากครูศึกษา เอกสารประกอบหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดรายวิชา จัดกระบวนการเรียนรู้จากการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดรายวิชาทุกกลุ่มสาระ การเรียนรู้ ลงสู่แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active learning เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยการคิด ปฏิบัติจริง ฝึกทักษะ แสดงความคิดเห็น
กล้าแสดงออกทางสร้างสรรค์ ป้อนคำถามให้นักเรียนเกิดความคิด จำแนก แยกแยะ พิจารณาอย่างรอบคอบ มีเหตุผล เช่น การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เช่น กิจกรรมออมทรัพย์ ปลูกพืชผักสวนครัว เป็นต้น โดยน้อมนำศาสตร์พระราชา และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาบูรณาการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน การเขียนรายงานเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย การปลูกพืชสมุนไพร ปลูกพืชผักสวนครัว นักเรียนศึกษากับภูมิปัญญาท้องถิ่น ศึกษาแหล่งเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน และปีการศึกษา โรงเรียนได้มีการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนการจัดกิจกรรมที่เว้นระยะห่าง เอื้อต่อการเรียนการสอน
ผลการพัฒนา
ด้านคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนวัดควนธานี มีผลการประเมินคุณภาพภายในตาม มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ โดยมีผลการประเมิน ร้อยละ 84.62 เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ มีผลการประเมิน ร้อยละ 84.62 ดังนั้นโดยรวม โรงเรียนวัดควนธานี มีผลการประเมินคุณภาพภายในตาม มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ
โดยรวม มีผลการประเมิน ร้อยละ 84.62 เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนดนั่นเองนั่น
ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ โรงเรียนวัดควนธานีได้กำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจไว้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ความต้องการชุมชน ท้องถิ่น ตามวัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาลและต้นสังกัด รวมทั้งทันต่อการเปลี่ยนแปลงสังคม และได้ดำเนินการบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ ทั้งในส่วนการวางแผนพัฒนาการคุณภาพการจัดการศึกษา การนำแผนไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษามีการติดตามตรวจสอบประเมินผลและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนวัดควนธานีมีผลการประเมินคุณภาพภายในตาม มาตรฐาน ที่ 3 ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด เนื่องจากโรงเรียนมุ่งเน้นและให้ความสำคัญ ต่อการพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ ดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถ นำไปจัดกิจกรรมได้จริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ ครูใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ แหล่งเรียนรู้รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการตรวจสอบและประเมินผลผู้เรียนอย่างเป็นระบบมีขั้นตอน โดยใช้เครื่องมือ วิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสมกับผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้ ให้ข้อมูลย้อนกลับ แก่ผู้เรียน และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ผู้เรียนรักที่จะเรียนและเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข โดยมีชุมชนแห่งการเรียนรู้สนับสนุน ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรร่วมปรับปรุง และพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่สามารถตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลการประเมิน มาพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
จุดเด่น
1. นักเรียนมีร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติด มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ จิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีสติปัญญาเรียนรู้ได้ ตามกิจกรรมประจำวัน อย่างดี
2. หลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและท้องถิ่น การจัดสภาพแวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ ครูทุกคนได้รับการพัฒนา ด้านวิชาชีพ
3. โรงเรียนมีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ
4. จัดกิจกรรมโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการกลุ่ม เปิดโอกาสให้เด็กได้รู้จักคิด วางแผน ร่วมกันปฏิบัติกิจกรรม โดยเน้นกระบวนการกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นลงมือปฏิบัติร่วมกัน มีความสุขกระตือรือร้นในการเรียนรู้
5. ผู้เรียนระดับการศึกษาขึ้นพื้นฐานสามารถ อ่านออก เขียนได้อ่านคล่อง เขียนคล่อง คิดเลขเป็น ตามศักยภาพ ตามระดับชั้นของตนเอง
จุดที่ควรพัฒนา
1. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน
2. สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา
แนวทางการพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น
1) แนวทางในการพัฒนานักเรียน
(1) ควรส่งเสริมให้นักเรียน และโรงเรียนได้ใช้แหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย และให้ทันต่อ
การเปลี่ยนของสภาพสังคม เศรษฐกิจในภาวะปัจจุบัน
(2) กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความตระหนัก และเอาใจใส่ต่อการศึกษาของตน ตามวุฒิภาวะและความพร้อม
(3) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลให้ชัดเจนขึ้น
(4) การส่งเสริมให้ครูเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดทำการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
2) แนวทางในการพัฒนาด้านบุคลากร
(1) การพัฒนาบุคลากรโดยส่งเข้ารับการอบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานที่ได้รับมอบหมาย ติดตามผลการนำไปใช้และผลที่เกิดกับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
(2) สร้างความตระหนักให้เกิดกับบุคลากรในการที่จะปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ
(3) พัฒนาครูในรูปแบบที่หลากหลาย ตามสภาพความต้องการ จำเป็น ของโรงเรียนและ
ความต้องการของครูอย่างต่อเนื่อง
(4) บุคลากรที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาตนเองให้ทันต่อสถานการณ์ให้เขาได้พิจารณาตนเองและตัดสินใจเองตามสถานการณ์
3) แนวทางในการพัฒนาของชุมชน
(1) ส่งเสริมความรู้ให้แก่ชุมชนโดยการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และเห็นความสำคัญของการศึกษา
(2) สร้างความตระหนักให้เกิดกับชุมชนในการการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม
(3) ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนให้ทั่วถึง โดยมีความต่อเนื่องและฉับไว
(4) พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ของชุมชน
4) ความต้องการและการช่วยเหลือ
(1) โรงเรียนมีความต้องการงบประมาณให้เพียงพอกับความต้องการของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียน
(2) โรงเรียนมีความต้องการให้องค์กรเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการจัดการสนับสนุน ด้านอาคารสถานที่ตลอดจนทุนสนับสนุน ในการพัฒนาทางด้านการศึกษา
(3) โรงเรียนมีความต้องการให้มีครูผู้สอนครบชั้น
(4) โรงเรียนมีความต้องการเพิ่มอัตรากำลังในการดำเนินงานในฝ่ายงานที่ต้องรับภาระในงาน ที่นอกเหนือจากการเรียนการสอน
(5) โรงเรียนมีความต้องการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัยและมีจำนวนมากขึ้น เพื่อจะได้นำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มสื่อและเครื่องอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของโรงเรียนให้เพียงพอกับความต้องการ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน, อุปกรณ์ด้านการเรียน ฯลฯ
(6) โรงเรียนมีความต้องการพัฒนาบุคลากรในเรื่องวิชาการ ข้อมูลการให้บริการ แหล่งเรียนรู้จากชุมชน โดยการใช้วิทยากรในท้องถิ่น และวิทยากรจากภายนอกเข้ามาสนับสนุนในการพัฒนางาน พัฒนานักเรียนตลอดจนจัดงบประมาณซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ เอกสารคู่มือครูเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพ
(7) โรงเรียนมีความต้องการส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรได้พัฒนาตนเองเพื่อให้มีวิทยฐานะ ที่สูงขึ้นควบคู่ไปกับการพัฒนาผู้เรียน
(นายไพศาล นาคแป้น)
ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดควนธานี
|