บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
ชื่อโรงเรียน : โรงเรียนบ้านดุหุน
ที่อยู่ : เลขที่ - หมู่ที่ ๓ ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
พิกัด 7.400297528909146, 99.42718026428398
พื้นที่โรงเรียนทั้งหมด 6 ไร่ 200 ตารางวา
เขตพื้นที่บริการทั้งหมด ๒ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ ๓ , หมู่ 9
สังกัด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรังเขต2
ชื่อผู้บริหารโรงเรียน : นางรชฏนันท์ พระคง
โทรศัพท์: 0๘๗๕๕๑๕๐๑๑
e-mail: duhun.school@gmail.com
website: https://data.bopp-obec.info /web/?School_ID=1092140214
Facebook: https://www.
facebook.com/Duhun999/
เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๒ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ครูและบุคลากรของสถานศึกษา จำนวน ๑๔ คน ผู้เรียนจำนวน ๑๔๐ คน
ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
๑. ระดับการศึกษาปฐมวัย สรุปผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับยอดเยี่ยม
มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม
มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม
มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม
๑. กระบวนการพัฒนา
โรงเรียนมีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนให้มีพัฒนาการทั้ง ๔ ด้านอย่างสมดุล มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง โรงเรียนมีการบริหารจัดการที่คลอบคลุมด้านวิซาการ ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจไว้อย่างชัดเจนโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบ Active Learning ด้วยเทคนิควิธีที่หลากหลาย จัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อ ต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย
๒. ผลการพัฒนา
เด็กมีร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว สามารถใช้มือและตาประสานสัมพันธ์กันได้ดีโรงเรียนมีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติ ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เหมาะสมกับวัยเด็ก ได้รับประสบการณ์ตรง ลงมือปฏิบัติจริง ด้วยตนเองผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองได้อย่างมีความสุขปลอดภัย
๓. จุดเด่น
เด็กมีสุขภาพร่างกายเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน เด็กสามารถใช้กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็กได้อย่างคล่องแคล่ว และประสานสัมพันธ์กันเหมาะสมกับวัย มีสุขภาพแข็งแรงมีทักษะในการใช้ประสาทสัมผัส ทั้ง 5 มีสุขนิสัยการรักษาสุขภาพอนามัยที่ดี มีสุขภาพจิตดี ร่าเริง แจ่มใส มีความสุข มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น เด็กปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีครอบครัว รู้จักแบ่งปันและช่วยเหลือผู้อื่นตามโอกาส รู้จักการออมเงิน สนใจเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวตามวัย กล้าซักถามในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือสงสัย และรักการเรียนรู้ มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้ มีทักษะทางภาษาที่เหมาะสมกับวัย มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ โดยมีการจัดประสบการณ์ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีหลักสูตรสถานศึกษาสอดคล้องกับความต้องการและบริบทของท้องถิ่น ครูมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก มีการจัดเอกสารการเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีสื่อ วัสดุอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ ครูได้รับการพัฒนาด้านวิชาชีพ เด็กมีพัฒนาการพร้อมทั้ง ๔ ด้าน มีการวัดและประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงด้วยวิธีการหลากหลาย มีระบบการนิเทศภายใน เพื่อการพัฒนาการจัด การเรียนการสอนอยู่อย่างสม่ำเสมอ มีการผลิตสื่อและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การจัด การเรียนรู้ทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีอย่างสมดุลรอบด้าน
๔. จุดควรพัฒนา
ครูพัฒนาเทคนิคการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถานการคิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์ และทักษะเบื้องต้นได้ส่งเสริมให้ครูปฐมวัยเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดประสบการณ์ นำนวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัยใหม่ ๆ มาบูรณาการ นำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์ หรือกิจกรรมให้กับเด็กครูควรมีการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนทศ และแหล่งเรียนรู้ รวมทั้ง ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลายมากขึ้น
5. แผนการดำเนินการเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น
ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ปกครอง ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น เพื่อพัฒนาเด็กด้านการเรียนรู้ ด้านคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ควรมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบ ต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษาควรมีการรักษาระดับคุณภาพ มาตรฐาน การจัดการศึกษาปฐมวัยโดยการจัดโครงการและกิจกรรมทุกกิจกรรมอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
๒. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สรุปผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับยอดเยี่ยม
มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ
มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม
มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม
๑. กระบวนการพัฒนา
โรงเรียนให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนโดยการจัดการศึกษาด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูผู้สอนจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning สถานศึกษามีการจัดกระบวนการศึกษาโดยได้มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปีให้มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการในการพัฒนาด้านต่าง ๆ สถานศึกษาได้ดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการจัดกิจกรรมอย่างหลากหลายสนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมได้ลงมือปฏิบัติ
๒. ผลการพัฒนา
ผู้เรียนมีผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ทั้ง ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่าเป้าหมายของสถานศึกษา ผลทดสอบระดับชาติ(O-NET) สูงกว่าคะแนนระดับเขตพื้นที่ทุกวิชา และสูงกว่าคะแนนระดับชาติ 3 วิชา คือ คณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และภาษาอังกฤษ ผลทดสอบ NT เพิ่มขึ้นในรายวิชาภาษาไทย มีสื่อและแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ครูผู้สอนมีความรู้และความมุ่งมั่นตั้งใจ เพื่อการจัดการเรียนการสอน สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการพัฒนาตนเองมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างหลากหลายและมีความสอดคล้องกับหลักสูตร
๓. จุดเด่น
มีการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมส่งเสริมทักษะทางวิชาการของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โดยส่งเสริมบทบาทของครูได้จัดทำกําหนดการสอน วิเคราะห์หลักสูตร จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยยึดหลักสูตรสถานศึกษา บูรณาการหลักสูตรท้องถิ่นมาใช้ในกิจกรรมการเรียน มีการวัดประเมินผล การเรียนรู้ตามมาตรฐาน ตัวชี้วัด ทักษะที่สําคัญเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมกระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ตรงตามหลักสูตรที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดและสอดคล้องกับคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ ปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทัศนคติที่ดี มีความประหยัดและการออมเงินที่ดี ยึดมั่นตามหลักศาสนารวมถึงทักษะที่จำเป็นในการอยู่ร่วมกันในสังคมให้แก่นักเรียน พร้อมทั้งมีการนําผลประเมินคุณภาพของผู้เรียนมาพัฒนาผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้น จัดทำแผนยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน RT,NT และ O-NET มีการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ที่ผู้เรียนอยู่ในระดับพอใช้ และปรับปรุงมาพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ PLC จัดทำวิจัยในชั้นเรียน ดำเนินกิจกรรมทดสอบสมรรถภาพเพื่อสุขภาพผู้เรียน ทุกระดับชั้น ทำให้มีการพัฒนาสุขภาวะทางร่างกายและลักษณะจิตสังคม
๔. จุดควรพัฒนา
ควรมีการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้จัดทำโครงงานเชิงบูรณาการ และเน้นให้ผู้เรียนคิดเองทำเองโดยใช้สื่อแหล่งเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้าออกแบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นตามหลักสูตรอย่างต่อเนื่องควรมี การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลายทุกระดับชั้นให้มากขึ้น โดยเน้นการเรียนการสอนแบบ Active Learning เพื่อให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติ เร่งพัฒนาด้านการอ่านออกและเขียนได้ของผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จัดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการอ่าน การเขียน และการสื่อสารทั้งภาษาไทย และควรเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนสร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา พัฒนาเครื่องมือประเมินโครงการที่สามารถสะท้อนข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ในการตัดสินระดับคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา รวมทั้งควรจัดกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองความถนัดและความต้องการของนักเรียนเป็นรายบุคคล และควรสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนให้เพิ่มมากยิ่งขึ้นสำหรับกิจกรรม การเรียนการสอนในทุกรูปแบบ
5. แผนการดำเนินการเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น
โรงเรียนได้มีแผนการปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน และจัดหาแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีการนำสื่อเทคโนโลยีมาใช้ในการสอนของครูมากขึ้นสถานศึกษา ได้จัดทำแผนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพและความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีมาทำสื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ มีแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยเน้นฝึกความรับผิดชอบ ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยให้มีความสอดคล้องกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา
|