บทสรุปของผู้บริหาร
ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
ชื่อโรงเรียน บ้านไชยภักดี ที่อยู่เลขที่ 35 หมู่ที่ 2 ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
สังกัดสำนัก งานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 website http ://school.obec.go.th และbanchaipakdee@hotmail.com
ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นายภาณุพันธุ์ ขาวสังข์ เบอร์โทรศัพท์ 088-3944384
จำนวนครูและบุคลากรทั้งหมด 15 คน จำแนกเป็น ข้าราชการครู 11 คน พนักงานราชการ 1 คน ครูอัตราจ้าง 1 คน ธุรการ 1 คน นักการภารโรง 1 คน (ข้อมูล 31 มีนาคม 2567)
จำนวนนักเรียนทั้งหมด 221 คน จำแนกเป็นระดับอนุบาล 49 คน ระดับประถมศึกษา 172 คน
(ข้อมูล 10 พ.ย. 2566)
ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
ระดับการศึกษาปฐมวัย มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ
1.1 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ
1.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ
1.3 มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนา
สถานศึกษาจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัยและดำเนินงานตามโครงการเพื่อพัฒนา ศักยภาพของเด็กปฐมวัยตามหลักสูตรสถานศึกษา และจัดประสบการณ์ให้มีความเหมาะสมกับวัยตามศักยภาพของเด็ก ความเหมาะสม ความพร้อมของสภาพแวดล้อม ช่วงเวลา สื่อ และสถานการณ์ปัจจุบัน มีการปรับปรุงแผน การจัดประสบการณ์ กิจกรรมการละเล่น เกม การแสดงบทบาทสมมติ ให้เหมาะสมกับพัฒนาการและความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วยวิธีการที่หลากหลาย จัดกิจกรรมประจำวันตามแผนการจัดประสบการณ์ รวมทั้งประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงาน องค์กรอื่นๆ มีกระบวนการและกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กทุกด้านอย่างสมดุล ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ประกอบด้วยมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ กำหนดเวลาเรียนและสาระการเรียนรู้ การจัดประสบการณ์ หลักการจัดประสบการณ์ แนวการจัดประสบการณ์ การจัดกิจกรรมประจำวัน การจัดสภาพแวดล้อม สื่อ แหล่งเรียนรู้ และการประเมินพัฒนาการ ตามการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย
สถานศึกษาได้ใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ทำให้เด็กเกิดทักษะสังเกต สำรวจ ค้นคว้า ทดลองและแก้ปัญหาด้วยตนเอง รู้จักคิด มีความคิดสร้างสรรค์ ได้ใช้ความคิดของตนเอง ผ่านกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยนำรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียน รู้โดยโครงการ (Project Approach) เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยเรียนรู้เรื่องราวต่างๆที่สนใจ ให้โอกาสเด็กได้ค้นพบ และเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงกับเรื่องราว สิ่งของ บุคคล สถานที่หรือชุมชนที่แวดล้อมตัวเด็ก ตามวิธีการของตนเอง กล้าคิด กล้าแสดงออก ส่งเสริมการทำงานศิลปะกระตุ้นประสาทผ่านการเล่น (sensory play) กิจกรรมการประกอบอาหาร (Cooking) การประดิษฐ์ของเล่น ของใช้จากวัสดุเหลือใช้ การเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ โดยครูเป็นผู้สนับสนุน ช่วยเหลือและจัดเตรียมสภาพแวดล้อม รวมทั้งสื่อ วัสดุอุปกรณ์ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก มีสื่อประกอบการจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ทั้งที่เป็นประเภท 2 มิติ และ 3 มิติ ที่เป็นสื่อของจริง สื่อธรรมชาติ สื่อที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก รวมทั้งสื่อดิจิตอล ทำให้เด็กๆได้เรียนรู้จากสื่อที่มีความหลากหลาย และได้เรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนคือที่บ้านของนักเรียน
มีการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตามสภาพจริงด้วยวิธีการหลากหลายเหมาะกับเด็ก รวมทั้งใช้แหล่งข้อมูลหลายๆ ด้าน ไม่ใช้การทดสอบ ส่งเสริมให้ครูเข้าอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะและความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ตามโครงการพัฒนาบุคลากร ส่งเสริมการจัดประสบการณ์ที่เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เป็นกระบวนการต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมปกติ ตามตารางกิจกรรมประจำวันและครอบคลุมพัฒนาการของเด็กทุกด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา นอกจากนี้มีการเชื่อมต่อของการศึกษาระดับปฐมวัยกับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 โดยความร่วมมือของครูชั้นปฐมวัย ครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และผู้ปกครอง เพื่อให้เด็กสามารถปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลง ในช่วงรอยเชื่อมต่อ สามารถพัฒนาการเรียนรู้ได้อย่างราบรื่น และประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายหลักสูตรที่กำหนดไว้
ผลการพัฒนา
เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่อโรคโควิด 19 โรคติดต่ออื่นๆอุบัติเหตุภัย อบายมุข และสิ่งเสพติดต่างๆ เด็กแสดงอารมณ์ความรู้สึกได้เหมาะสม มีความร่าเริงแจ่มใส รู้จักยับยั้งชั่งใจ อดทนในการรอคอย ยอมรับและพอใจความสามารถในผลงานของตนเองและผู้อื่น มีจิตสำนึกและค่านิยมที่ดี มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปัน เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีวินัยในตนเอง ประหยัดและพอเพียง มีส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในและนอกห้องเรียน มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทย สนองอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของสถานศึกษา (ยิ้มใส ไหว้สวย) มีทักษะการสื่อสาร สามารถสนทนาโต้ ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ ตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือสงสัย อ่านนิทานและเล่าเรื่องที่ตนเองอ่านได้เหมาะสมกับวัย มีทักษะการคิดพื้นฐาน แสวงหาความรู้ได้และพยายามค้นหาคำตอบ มีความสามารถในการคิดรวบยอด การคิดเชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ การคิดแก้ปัญหาและสามารถตัดสินใจในเรื่องง่ายๆ ได้
สถานศึกษามีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นสถานศึกษา มีหลักสูตรสถานศึกษาที่ยืดหยุ่น สอดคล้องกับมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์จำนวน 12 มาตรฐานที่ครอบ คลุมพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา จัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็ก โดยเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติ สอดคล้องตามหลักการทำงานของสมอง บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรียนรู้แบบลงมือกระทำ เน้นจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ในการเรียนรู้ เสริมสร้างความรับผิดชอบในกิจวัตรประจำวันของเด็ก มีครูที่จบการศึกษาปฐมวัยเพียงพอและเหมาะสมกับภารกิจการเรียนการสอน สามารถออกแบบการจัดกิจกรรม นำนวัตกรรม เทคโนโลยีทางการสอนมาประยุกต์
ใช้ให้เหมาะสมกับศักยภาพของเด็กแต่ละคน มีการสังเกตและประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล รวมทั้งมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและครอบครัว ครูจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ จัดประสบการณ์กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง จัดประสบการณ์ตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย เด็กได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง จัดกิจกรรมตามหลักสูตรและกิจกรรมเสริมหลักสูตร ทำแผนการจัดประสบการณ์ บันทึกผลหลังการจัดประสบการณ์โดยถอดหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไขคุณธรรม ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมหนูชอบกินผัก เด็กลงมือปลูกผัก ดูแลและเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วยตนเอง จัดสภาพห้องเรียน ภูมิทัศน์และแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน บรรยากาศในชั้นเรียน มีสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ สิ่งอำนวยความสะดวกที่มีประโยชน์และมีความปลอดภัย ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการเก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูลการพัฒนาของเด็ก การประเมินผลการเรียนรู้ของเด็กและใน การประเมินการจัดการศึกษา
จุดเด่น
เด็กมีการเจริญเติบโตสมวัย กล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก รวมถึงกระดูกและข้อต่อต่าง ๆ มีความแข็งแรงเคลื่อนไหวได้อย่างสัมพันธ์กัน สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่อโรค โควิด 19 อุบัติเหตุภัยและโรคอื่นๆ อบายมุขสิ่งเสพติดต่างๆ มีความร่าเริงแจ่มใส รู้จักยับยั้งชั่งใจ แสดงความรู้สึกและอารมณ์เหมาะสมกับเหตุการณ์ อดทนในการรอคอย มีวินัยและรับผิดชอบ เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ แบ่งปันของเล่นของใช้ ใช้น้ำ ใช้สิ่งของเครื่องใช้อย่างประหยัด มีคุณธรรมจริยธรรม มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทยสนองอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของสถานศึกษา ใช้วาจาสุภาพเหมาะสมกับวัย แสดงความเคารพเมื่อพบผู้ใหญ่ แสดงอาการขอบคุณเมื่อรับของจากผู้ใหญ่ เล่นและทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ปฏิบัติตามข้อตกลงเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี ไม่รังแกกัน เด็กช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวัน คิดและแก้ปัญหาเหมาะสมกับวัย บอกความสัมพันธ์ของตำแหน่งของสิ่งของ จำแนกสิ่งของ สนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่อง ตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือสงสัยและพยายามค้นหาคำตอบตามแนวทางการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ อ่านนิทานและเล่าเรื่องที่ตนเองอ่าน เขียนชื่อตนเองตามแบบ
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยโรงเรียนบ้านไชยภักดี มีแนวทางการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการ การเรียนรู้โดยคำนึงถึงตัวเด็กเป็นสำคัญ จัดกิจกรรมตามหลักสูตรและกิจกรรมเสริมหลักสูตร วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เริ่มสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1-3 โดยจัดโปรแกรมการสอนให้ สอดคล้องกับหน่วยการเรียน ตามหลักสูตร (สัปดาห์ละ 2 ครั้ง) กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดยจัดโปรแกรมการสอนให้ สอดคล้องกับหน่วยการเรียน ตามหลักสูตร (สัปดาห์ละ 2 ครั้ง) กิจกรรมอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำผ้ามัดย้อมโดยใช้สีธรรมชาติ และกิจกรรมหนูชอบกินผัก มีกิจกรรมที่หลากหลายประเภท เป็นรายบุคคล กลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ กิจกรรมสงบและกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหว เปิดโอกาสให้เด็กริเริ่มกิจกรรม ได้มีโอกาสเลือกด้วยตนเอง ระยะเวลาจัดกิจกรรมเหมาะสมกับวัย ยืดหยุ่นได้ เน้นสื่อของจริง เด็กได้มีโอกาสสังเกต สำรวจ ค้นคว้า ทดลอง แก้ปัญหาด้วยตนเอง มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับเด็กอื่นๆ และผู้ใหญ่ มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ห้องเรียนสะอาด เป็นระเบียบ น่าสนใจ ถูกสุขลักษณะ มีพื้นที่สนามเด็กเล่นและอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการทำกิจกรรมที่หลากหลาย ห้องเรียนถูกตกแต่งให้น่าสนใจด้วยข้อมูล ความรู้ ผลงานเด็ก มีมุมอ่านและมุมประสบการณ์ต่างๆ ที่ปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ ครูประเมินชิ้นงาน ประเมินพัฒนาการเจริญเติบโต ประเมินตามสภาพจริงด้วยวิธีการหลากหลายเหมาะกับเด็ก รวมทั้งใช้แหล่งข้อมูลหลายๆด้าน ไม่ใช้การทดสอบ ติดตามช่วยเหลือพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กเป็นรายคน ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการประเมินพัฒนาการ
จุดที่ควรพัฒนา
1. การสร้างความมั่นใจและกล้าแสดงออก ควบคุมอารมณ์ตนเอง ชื่นชมศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักธรรมชาติให้เหมาะสมกับวัย
2. การคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้
3. ส่งเสริมทักษะทางภาษา ทักษะการสื่อสารที่เหมาะสมกับวัย รวมทั้งทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
4. เชิญวิทยากรภายนอกเข้ามาให้ความรู้แก่เด็กปฐมวัย ในด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น การดูแลสุขภาพอนามัย ทักษะการดูแลความปลอดภัยของตนเอง
5. ส่งเสริมความร่วมมือและสร้างความตระหนักระหว่างผู้ปกครองกับโรงเรียน ในการดูแลและกระตุ้นเด็กให้เกิดการเรียนรู้ที่คงที่คงทน เนื่องจากผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแลเด็กให้ทำชิ้นงานที่ได้รับมอบหมายด้วยตนเอง แต่เป็นผู้ปกครองทำใบงานเสียเอง ต้องทำชิ้นงานหรือใบงานซ้ำๆ ทำให้สอดแทรกประสบการณ์ที่ควรรู้ใหม่ได้ช้ายิ่งขึ้น
แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย ดำเนินการตามโครงการพัฒนาศักยภาพปฐมวัย จัดประสบการณ์ผ่านการเล่น พัฒนาเด็กโดยองค์รวม กำหนดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสน ใจและความถนัดของเด็ก โดยคำนึงความแตกต่างระหว่างบุคคล สถานศึกษากำหนดแผนพัฒนาครูเพื่อยก ระดับความสามารถในการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะการคิด ผ่านกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมกับวัย โดยครูเป็นผู้ส่งเสริม จัดสิ่งแวดล้อม สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดีในโรงเรียน มีความสะอาดปลอดภัย สะดวกสบาย และส่งเสริมการใฝ่รู้ สนองความสนใจที่จะเรียนรู้ ค้นคว้า ทดลอง สัมผัสเหมาะสมกับความต้องการของเด็ก เพื่อให้เด็กเข้าถึงอย่างเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง เช่น จัดเตรียมอุปกรณ์ หนังสือ ข้อมูลเพื่อให้เด็กสามารถใช้แสวงหาความรู้และพัฒนาตนเอง จัดประสบการณ์ผ่านโครงงานตามความสนใจของเด็ก สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ เช่น เชิญวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาเด็ก เป็นต้น จัดการ ประเมินพัฒนาการเป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง และให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ
1.1 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ
1.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ
1.3 มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา
สถานศึกษาดำเนินโครงการปรับปรุงหลักสูตรและพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็น ในทุกด้านทั้งทาง ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นไปตามหลักสูตร ส่งเสริมการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ที่เชื่อมโยงสู่อาชีพและการมีงานทำสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ให้มีความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์นำไปสู่การพัฒนานวัตกรรม มีความรู้ความสามารถ ด้านดิจิทัล (Digita) และใช้ดิจิทัลเป็นเครื่อง มือในการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฝึกทักษะทางด้านภาษาไทย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ ส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน พัฒนาผู้เรียนให้มีความก้าวหน้าและยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการประเมินความสามารถด้าน การอ่าน RT ความสามารถพื้นฐานระดับชาติ NT และดำเนินงานเพื่อทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET ให้สูงขึ้น มีการออกแบบการเรียนรู้แบบบูรณาการ ที่สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของผู้เรียน และมีความสอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดตามหลักสูตร และสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทราบ โดยเน้น เนื้อหาจำเป็นตามมาตรฐานของแต่ละช่วงวัย เน้นเรื่องการอ่านออกของผู้เรียนเป็นเรื่องสำคัญที่สุด โดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้น ป.1 นอกจากนี้ โรงเรียนให้ความรู้แก่ผู้เรียนแต่ละช่วงวัยในการป้องกันตนเองจากโรคระบาด เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนอย่างมีความสุขโดยเรียนจากสภาพจริงใน การดำเนินวิถีชีวิต เรียนจากการปฏิบัติจริงในแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ใกล้บ้าน และผู้ปกครองใช้ศักยภาพในการให้คำปรึกษา ช่วยเหลือแนะนำการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้เป็นอย่างดีมี
พัฒนาหลักสูตรทุกระดับเพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน (ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสติปัญญา) สอดคล้องกับหลักสูตรท้องถิ่น พัฒนาครูทุกคนให้มีความสามารถในการใช้สื่อเทคโนโลยี สื่ออิเล็ก ทรอนิกส์ในการจัดการเรียนการสอน เน้นการจัดการเรียนการสอนที่มีความยืดหยุ่น มีการดำเนินการวัดและประเมินผล ประเมินความก้าวหน้าและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น วัดผลและประเมินผลจากใบงาน จากการสอบถามผู้ปกครอง สอบถามนักเรียนโดยตรง นำผลการประกันคุณภาพการศึกษามาใช้ในการวางแผน การปฏิบัติงาน ตรวจสอบ ติดตาม เพื่อการปรับปรุงพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพและเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาแบบบูรณาการ ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และชุมชนมีส่วนร่วมสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
สถานศึกษาได้เข้าร่วมโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ในโรงเรียนตามแนวพระราชดำริโครง การคุณธรรมของสพฐ .โครงการสถานศึกษาสีขาวและโครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ พัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนและนักเรียนเรียนร่วม ให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เน้นการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม ที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน จัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์หน้าที่พลเมือง คุณธรรม จริยธรรม สร้างจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิบัติในการดำเนินชีวิต จัดกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียนให้เหมาะ สมกับวัย เน้นให้ผู้เรียนมีวินัย ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ และมีจิตสาธารณะ มีระบบการแนะแนวและการดูแลสุขภาวะและจิตสังคม นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้วางแผนการจัดการเรียนการสอน และเพิ่มเวลารู้เรื่องอาชีพ เช่น การประดิษฐ์เหรียญโปรยทาน การผลิตของใช้จากเศษวัสดุเหลือใช้ การให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริงเกี่ยว กับการเพาะปลูกพืชผัก การทำงานบ้าน การทำสบู่ การทำน้ำยาล้างจาน การรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน
ผลการพัฒนา
ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ปีการศึกษา 2566 มีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ผลการประเมินสมรรถนะผู้เรียน 5 ด้าน อยู่ในระดับดีเยี่ยม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้สูงขึ้นและผ่านเกณฑ์มาตรฐานของหลักสูตรสถานศึกษาและเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด เกิดวัฒนธรรมภายในโรงเรียนเรื่องการต่อต้านการใช้ความรุนแรงระดับห้องเรียน ป้องกันการรังแกกัน ผู้เรียนปฏิบัติตามระเบียบห้องเรียนที่ได้กำหนดร่วมกัน ผู้เรียนมีทักษะใน การป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยทุกด้าน เป็นโรงเรียนคุณธรรมสพฐ. ใช้นวัตกรรม “หนึ่งห้องเรียน หนึ่งโครงงานคุณธรรม” มีโครงงานของนักเรียนชั้นก่อนประถมศึกษา ถึงระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย มีส่วนร่วมในกิจกรรมการสืบสานประเพณีท้องถิ่นและกิจกรรมทางศาสนา ยอมรับและเห็นความงามในความแตกต่างทางวัฒนธรรม เช่น กิริยามารยาท การแต่งกาย ศาสนา พิธีกรรม ความคิด ความเชื่อ โครงการสถานศึกษาสีขาวแก้ปัญหา การอยู่ร่วมกันได้ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและอบายมุข ผู้เรียนผ่านการคัดกรองตามแบบประเมินนักเรียนรายบุคคล แบบประเมิน SDQ พบว่าผู้เรียนเป็นกลุ่มปกติ รายงานการใช้สารเสพติดในสถานศึกษา รายงานการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ปี 2566 พบว่ามีกลุ่มปลอด ไม่มีกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสพ กลุ่มติดและกลุ่มค้า ผู้เรียนสามารถปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ด้านกระบวนการบริหารจัดการ สถานศึกษามีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน กำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ไว้อย่างชัดเจนมีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา สถานศึกษามีการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ภายใต้วงจรคุณภาพ PDCA กำกับ ดูแลและพัฒนา ยึดหลักธรรมาภิบาล บริหารจัดการคุณภาพอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา นำแผนไปปฏิบัติ มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาที่เหมาะสม เป็นระบบและต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ร่วมรับทราบส่งเสริม รับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา พัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านและทุกกลุ่ม เป้าหมาย เชื่อมโยงวิถีชีวิตจริงและครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผู้เรียนสามารถหาคำตอบจากคำถามโดยการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ ครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้ารับการอบรมทาง วิชาการกับหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานอื่น ศึกษาดูงานนอกสถานที่ ได้รับการพัฒนาฝึกอบรมตามความต้องการของตนเอง อย่างน้อยปีละ 20 ชั่วโมง สถานศึกษามีอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ห้องเรียน ภูมิทัศน์และแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ที่ปลอดภัยและเพียงพอสำหรับผู้เรียนทุกระดับชั้น มีระบบบริการเทคโนโลยีสารสน เทศ ใช้ในการบริหารจัดการที่เหมาะสม สามารถอำนวยความสะดวกในการสืบค้นและนำไปใช้ ช่วยลดเวลาในการทำงาน ลดความซ้ำซ้อน
ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูผู้สอนร้อยละ 100 จัดทำแผนการ จัดการเรียนรู้และจัดการเรียนรู้ เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา มีรูปแบบ การ จัดการเรียนรู้เฉพาะสำหรับผู้ที่มีความจำเป็นและต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ครูทุกคนจัดทำนวัตกรรม เพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน และจัดทำรายงานการใช้นวัตกรรม/รายงานการวิจัย ระดมทุนการศึกษาให้กับนักเรียน เยี่ยมบ้านนักเรียนตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน คิดเป็นร้อยละ 100 นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษและแก้ปัญหานักเรียนเรื่องการเรียนได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง โดยกระบวนการสอนซ่อมเสริมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีการนิเทศภายใน ไม่ต่ำกว่า 6 ครั้งต่อปี และนำผลการนิเทศมาปรับปรุง พัฒนาการจัดการเรียนรู้ มีการวัดและประเมินผลที่มุ่งเน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลาก หลาย มีขั้นตอนโดยใช้เครื่องมือและวิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสมกับเป้าหมายในการจัด การเรียนรู้ ผู้เรียนมีพัฒนาการทางร่างกาย สมรรถภาพทางกาย และการเจริญเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐาน มีทักษะแสดงออก แสดงความคิดเห็น สรุปองค์ความรู้ นำเสนอผลงานและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ แสดงออกถึงความสามารถทุกด้าน ทั้งด้านวิชาการ ด้านกีฬา ด้านศิลปะการแสดง ด้านทักษะอาชีพ และมีทักษะชีวิตตามวิถีใหม่ มีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก มีวินัยในตนเอง มีความรับผิดชอบ มีความรู้และทักษะตรงตามหลักสูตรสถานศึกษา สถานศึกษามีหนังสือ วัสดุครุภัณฑ์ห้องสมุดเพียงพอในการค้นคว้าเพิ่มเติมของผู้เรียน ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพตรงตามหลักสูตร ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนเพิ่มขึ้น
จุดเด่น
1. ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ปีการศึกษา 2566 มีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ผลการประเมินสมรรถนะผู้เรียน 5 ด้าน อยู่ในระดับดีเยี่ยม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้สูงขึ้นและผ่านเกณฑ์มาตรฐานของหลักสูตรสถานศึกษาและเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด
2. ผลการสำรวจผู้เรียนศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 100
3. สถานศึกษาเป็นโรงเรียนโครงการคุณธรรม สพฐ.ระดับ 2 ดาว
4. สถานศึกษาเป็นสถานศึกษาสีขาว ระดับเงิน
5. ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยกระทรวงศึกษาธิการ การอ่านรู้เรื่อง มีผลการประเมินสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับสังกัด
6. ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาคณิตศาสตร์คะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับเขตพื้นที่ ระดับสังกัดและระดับภาค
7. ครูผู้สอนจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเรียนรู้ ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปจัดกิจกรรมได้จริง บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้
8. สถานศึกษามีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ จนทำให้เกิดความสำเร็จและเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา อาทิเช่น คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เครือข่าย ผู้ปกครอง โดยเน้นให้สอดคล้องกับกลยุทธ์หลักของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลยุทธ์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรังเขต 2 และคำนึงถึงการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย กลยุทธ์ และอัตลักษณ์เอกลักษณ์ของสถานศึกษา มีการนิเทศติดตามและนำผลการนิเทศมาปรับปรุงพัฒนา และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการจัดกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC )
9. สถานศึกษาสามารถจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมาย ตามที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการอยู่ในระดับดีเยี่ยม ผู้รับบริการทั้งนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนพึงพอใจผลการบริหารการจัดการศึกษา รวมทั้งสามารถให้คำแนะนำ คำปรึกษาทางวิชาการ และเอาใจใส่การจัดการศึกษาอย่างเต็มศักยภาพและเต็มเวลา
จุดที่ควรพัฒนา
1. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูได้นำสื่อ เทคโนโลยีที่มีคุณภาพอยู่ทุกห้องเรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
2. พัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ เรียนรู้และสื่อสารรวมทั้งทำงานอย่างสร้างสรรค์ มีคุณธรรม
3. ส่งเสริมผู้เรียนเข้าร่วมการแข่งขันระดับชาติเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล
4. พัฒนาผู้เรียนให้อ่านออก เขียนได้ ลายมือสวย คิดเลขคล่อง ทุกคน
5. ครูและบุคลากรทุกฝ่ายควรให้ความสำคัญและช่วยกันปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่ดี การไม่รังแกกัน การดูแลความปลอดภัยของตนเอง แก่ผู้เรียนทุกคนอย่างต่อเนื่องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
6. ปรับปรุงห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ทุกห้อง มีสื่อเทคโนโลยีที่เพียงพอและทันสมัย อุปกรณ์ต่างๆพร้อมใช้งาน การเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตมีความเสถียร ครอบคลุมทุกพื้นที่
แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น
1. จัดทำแผนงาน/โครงการคุณธรรมสพฐ. กิจกรรมยิ้มใส ไหว้สวย ให้สอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูปการศึกษาและจุดเน้นของสพฐ.ตลอดทั้งความเป็นอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของโรงเรียนอย่างโดดเด่น เป็นต้น แบบอย่างยั่งยืน
2. ดำเนินโครงการ/ กิจกรรม/ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลให้ชัดเจนขึ้น
3. พัฒนาสถานศึกษาไปสู่สถานศึกษาแห่งการเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้สถานศึกษาเป็นต้นทางของการพัฒนานักเรียนและชุมชนให้เป็นบุคคลพอเพียง และชุมชนพอเพียง เพื่อนำไปสู่การมีชีวิตที่มีความสุขบนรากฐานของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืนต่อไป
4. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ พัฒนาครูผู้สอนให้มีความเป็นมืออาชีพ ส่งเสริมให้ครูเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงาน และจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนในโรงเรียนให้มากขึ้น ทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพเข้ารับการอบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานที่ได้รับมอบหมาย ติดตามผลการนำไปใช้และผลที่เกิดกับผู้เรียนอย่างต่อเนื่องตลอดจนพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสถานศึกษาให้เป็นที่ยอมรับและมีคุณภาพยั่งยืนต่อไป
5. สร้างเครือข่ายสังคมแห่งการเรียนรู้ในการแลกเปลี่ยน แบ่งปันประสบการณ์ องค์ความรู้ทักษะใน ด้านต่างๆ ที่เป็นเลิศ เพื่อร่วมกันพัฒนาวิชาชีพและคุณภาพการศึกษา
6. สร้างความเสมอภาคทางการศึกษา โดยการสำรวจนักเรียนในเขตบริการทั้งเด็กปกติ เด็กด้อยโอกาส เด็กพิการให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง รวมทั้งจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ
7. ปรับปรุง ซ่อมแซม ห้องปฏิบัติการ พื้นที่การจัดเก็บเครื่องดนตรี อุปกรณ์นาฏศิลป์ อุปกรณ์กีฬาและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเกษตรให้ชัดเจน พร้อมใช้งาน
|