บทสรุปของผู้บริหาร
ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
ชื่อโรงเรียนบ้านเกาะลิบง ที่อยู่ ๗๘ หมู่ ๑ ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นายอยุทธา ศรีจันทร์งาม เบอร์โทรศัพท์ ๐๖๒-๒๔๓๐๗๕๔
จำนวนบุคลากร จำแนกเป็น ผู้บริหาร ๑ คน ข้าราชการครู ๑๑ คน เจ้าหน้าที่อื่นๆ ๒ คน
จำนวนนักเรียน รวม ๑๒๗ คน จำแนกเป็นระดับอนุบาล ๔๑ คน ระดับประถมศึกษา ๘๖ คน
ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
ระดับการศึกษาปฐมวัย
๑.๑ มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
๑.๒ มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
๑.๓ มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
สรุปผลการประเมินในภาพรวมระดับการศึกษาปฐมวัย
ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนาโดยภาพรวม
โรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย มุ่งเน้นให้เด็กสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ ตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามวัย จัดการเรียนการสอนพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้
มีหลักสูตรคลอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ซึ่งได้พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ความต้องการของชุมชนและบริบทของท้องถิ่น จัดให้สถานศึกษามีครูที่จบการศึกษาปฐมวัย หรือมีประสบการณ์ในการสอน มีการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถด้านวิชาชีพแก่ครูและบุคคลากรโดยครูปฐมวัยเข้ารับการพัฒนาตามจุดเน้นของหน่วยงานต้นสังกัดตามกำหนด เพื่อนำความรู้และทักษะมาพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ให้กับเด็ก ให้มีพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน มีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัย และเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย มีสื่อสารสนเทศ วัสดุอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์นักเรียน
ครูมีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์จากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ ๔๐ หน่วยเรียนรู้หรือ ๔๐ สัปดาห์ที่มีความยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนเวลาและเนื้อหาได้ตามความเหมาะสม แผนการจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา โดยจัดทำแผนจัดประสบการณ์ตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน ออกแบบกิจกรรมหลัก ๖ กิจกรรมให้สามารถพัฒนาพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน และประเมินพัฒนาการจากการจัดกิจกรรม
ผลการพัฒนาโดยภาพรวม
จากผลการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆ ทำให้เด็กปฐมวัยโรงเรียนบ้านเกาะลิบงส่วนใหญ่ มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีกล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็กที่แข็งแรงสามารถเคลื่อนไหวและทรงตัวได้ดีสามารถวิ่งหลบหลีกสิ่งกีดขวาง เดินต่อเท้า ยืนขาเดียว กระโดดไกล โยนและรับบอลและสามารถใช้มือให้สัมพันธ์กับตาได้ มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจเหมาะสมกับวัย มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอาสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตน มีพัฒนาการด้านสังคมแสดงถึงการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีวินัยในตนเอง มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ มีพัฒนาการด้านสติปัญญาที่ดีส่งผลให้เด็กสามารถสื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน รู้จักแสวงหาความรู้จากสิ่งที่เด็กสนใจ รู้จักสำรวจ มีการค้นพบ จากการฝึกปฏิบัติการทดลอง การสังเกต จนได้รับตราพระราชทานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย ประจำปี ๒๕๖๖-๒๕๖๘ อีกทั้งส่งผลให้เด็กรู้จักคิดวิเคราะห์มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแก้ปัญหา มีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว
โรงเรียนมีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนปลอดภัย มีห้องเรียนที่สะอาดเป็นระเบียบ สวยงามและปลอดภัย มีสภาพแวดล้อมภายนอกที่สะอาดปลอดภัย และมีจัดกิจกรรมที่ให้เด็กได้ปฏิสัมพันธ์กัน มีการวางแผนการทำกิจกรรมร่วมกันเล่นแบบร่วมมือร่วมใจ มีสื่อ อุปกรณ์ ของเล่นและสนามเด็กเล่นที่เพียงพอ ได้เรียนรู้แบบ Active Learning ครูได้ใช้สื่อสารสนเทศวัสดุอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์นักเรียนทำให้เด็กได้เรียนรู้กับสื่อที่ทันสมัยและสามารถค้นหาคำตอบและแสวงหาความรู้ต่างๆได้เต็มที่ และครูยังได้ใช้สื่อสารทนเทศและวัสดุอุปกรณ์ จัดให้มีสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ วัสดุอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนในการพัฒนางานและตนเอง เช่น ติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ เครื่องพิมพ์เอกสาร และสามารถจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย กิจกรรมน่าสนใจและประสบผลสำเร็จเกิดประสิทธิผลกับเด็ก
ครูสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กสนองตอบความต้องการความสนใจและความถนัดมีแผนการจัดประสบการณ์ที่มีความยืดหยุ่นและเหมาะสม มีแผนการจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน ออกแบบกิจกรรมหลัก ๖ กิจกรรมให้สามารถพัฒนาพัฒนาการเด็กทั้ง ๔ ด้าน ทำให้ครูสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์ทำให้เด็กได้รับการพัฒนาต่อยอด มีพัฒนาการที่ก้าวหน้า เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระ ตอบสนองความต้องการความสนใจ และความสามารถของเด็ก
จุดเด่น
๑. ๑. เด็กมีร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติภัย และสิ่งเสพติด มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขมีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน
๒. ๒. โรงเรียนบ้านเกาะลิบง มีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและชุมชน มีการส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเองให้มีความเชี่ยวชาญในการจัดประสบการณ์ มีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก มีสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีการกำกับนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่องทำให้การทำงานบรรลุเป้าหมาย
๓. ๓. เด็กมีพัฒนาการการอย่างสมดุล ได้เรียนรู้โดยจัดประสบการณ์การที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจากการเล่นและปฏิบัติกิจกรรม มีสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย มีบรรยากาศ สภาพห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้ มีการประเมินพัฒนาการเด็กด้วยวิธีการหลากหลาย
จุดที่ควรพัฒนา
๑. ๑. ด้านการมีความคิดรวบยอด การแก้ปัญหาที่เกิดจากการอ่าน การทำกิจกรรมเสริมสติปัญญาให้เหมาะสมตามวัย การปลูกฝังในเรื่องสุขนิสัยที่ดี และการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้เป็นนิสัย
๒. ๒. ส่งเสริมให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียน โดยผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ภายในโรงเรียน การเป็นแบบอย่างที่ดีในการจัดการเรียนรู้ให้แก่โรงเรียนในเครือข่าย การมีส่วนร่วมจากผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรภายนอก
๓. ๓. การจัดสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียนปรับปรุงเครื่องเล่นสนามและระบบสาธารณูปโภคให้เอื้อต่อการเรียนรู้และจัดกิจกรรมสำหรับเด็ก การจัดกิจกรรมส่งเสริมเด็กเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน โดยผ่านการจัดกิจกรรมค่ายวิชาการ กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน และโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในท้องถิ่นระดับปฐมวัย
แผนการดำเนินการเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น
โรงเรียนบ้านเกาะลิบง มีแนวทางในการพัฒนา ดังนี้
- โครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนระดับปฐมวัย
- กิจกรรมส่งเสริมการรักการอ่านระดับปฐมวัย
- กิจกรรมการสร้างเสริมวินัยเชิงบวก
- จัดทำกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้
- จัดให้มีผู้เกี่ยวข้อง โรงเรียนต่างๆเข้ามาศึกษาดูงาน
- จัดการเผยแพร่ผลงานจนเป็นที่ยอมรับจากชุมชนและหน่วยงานต่างๆ
- กิจกรรมปรับปรุงหลักสูตรปฐมวัย
- กิจกรรมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน
- กิจกรรมพัฒนาเครื่องเล่นสนาม
- กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยโดยปราชญ์ชาวบ้านและผู้มีความรู้ประสบการณ์ในท้องถิ่น
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๑.๑ มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
๑.๒ มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม๑.๓
มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
สรุปผลการประเมินในภาพรวมระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนาโดยภาพรวม
โรงเรียนได้มีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ข้อมูลปีการศึกษา ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา ประกอบกับปัญหาภาวการณ์เรียนรู้ถดถอย learning loss ส่งผลให้โรงเรียนได้กำหนดนโยบายที่ส่งผลต่อความสามารถ ในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร ผ่านการจัดการ เรียนรู้ในรายวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ จัดให้มีมาตรการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและพัฒนาทักษะในการแสวงหาความรู้ กิจกรรมเสริมทักษะการอ่าน กิจกรรมห้องสมุดที่ให้บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และทางโรงเรียนได้รับการนิเทศ ติดตามการดำเนินงานพัฒนาภาวะถดถอยทาง การเรียนรู้ของผู้เรียนตามมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนของกระทรวงศึกษาธิการ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต ๒ มีการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีที่หลากหลาย โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ปรับหลักสูตรโรงเรียนบ้านเกาะลิบง พุทธศักราช ๒๕๖๖ ตามหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ออกแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย จัดการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงตามแนวทาง Active Learning เน้นการอ่านออก เขียนได้ พัฒนาให้ครูผู้สอนใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย ปรับปรุงแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน ครูมีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ มีการบันทึกผลหลังสอน เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาผู้เรียน มีการวัดและประเมินผลแบบบูรณาการ ใช้กระบวนการ PLC ในการร่วมแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอน
โรงเรียนได้มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจไว้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาลและของหน่วยงานต้นสังกัด รวมทั้งทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม มีการบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ ทั้งในส่วนการวางแผนพัฒนาคุณภาพ การจัดการศึกษา การนำแผนไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษามีการติดตามตรวจสอบประเมินผลและปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง
มีการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปจัดกิจกรรมได้จริง มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะทางวิชาการ ทักษะ ความสามารถพิเศษต่างๆตามความถนัด กล้าแสดงออก สรุปองค์ความรู้นำเสนอผลงาน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ครูผู้สอนมีการบริหารจัดการชั้นเรียนโดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก มีระบบตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ สนับสนุนให้ครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการ จัดการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้
ผลการพัฒนาโดยภาพรวม
นักเรียนมีความสามารถ ในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร ผ่านการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ โดยนักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน และสื่อสารในระดับดีขึ้นไปร้อยละ ๙๑.๘๖ มีความสามารถในการคิดคำนวณในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ ๖๓.๙๕ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่าง มีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ ๙๔.๑๙ มีความสามารถในการสื่อสารในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ ๑๐๐ มีความสามารถในการแก้ปัญหาในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ ๑๐๐ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ในวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิชาประวัติศาสตร์ วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา วิชาศิลปะ และวิชาการงานอาชีพ ในระดับ ๓ ขึ้นไป ร้อยละ ๘๑.๙๘ มีผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ รายวิชาภาษาไทย วิชาภาษาอังกฤษในระดับ ๓ ขึ้นไป ร้อยละ ๖๑.๔๙ และมีค่าเฉลี่ยผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) สูงกว่าระดับประเทศ
โรงเรียนมีแผนพัฒนาการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีที่เป็นไปได้ในการปฏิบัติตามกำหนดเป้าหมายมาตรฐานการศึกษา กลยุทธ์ นโยบายและจุดเน้น วิสัยทัศน์และพันธกิจ ที่ชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน และนโยบายของรัฐ มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่ชัดเจนส่งผลต่อคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านเกาะลิบง ได้พิจารณาแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ มีผลจากการดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ และจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ มีสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ดี มีมาตรการเข้าออกที่รัดกุม มีความปลอดภัย มีระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการฯ เช่น ระบบ ฐานข้อมูล DMC, e-GP, Web page และ Website โรงเรียน
ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดตามหลักสูตรสถานศึกษา ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง มีการนิเทศการสอนภาคเรียนละ ๒ ครั้ง โดยผลการนิเทศการจัดการเรียนการสอนของครูมีค่าเฉลี่ยร้อยละ ๘๙.๘ ครูมีเทคนิคหรือรูปแบบการสอนที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ส่งผลต่อนักเรียนให้มีทัศนคติที่ดีในการเรียนทำให้ผลการเรียนดีขึ้น มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด มีทักษะหลากหลายสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยเครื่องมือและวิธีการประเมินผลมีความเหมาะสมกับเป้าหมายและการจัดการเรียนการสอนมาใช้ ในการประเมินผลการเรียนรู้อย่างเหมาะสม
จุดเด่น
๑. นักเรียนได้รับการพัฒนาและมีทักษะการอ่านการเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณ คิดวิเคราะห์และเขียน รวมทั้งสามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ในระดับ ดีเลิศ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นไปตามมาตรฐานที่สถานศึกษากำหนด นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตรงตามหลักสูตรสถานศึกษา
๒. สถานศึกษาส่งเสริมให้ผู้เรียนมี คุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนอย่างรอบด้านและครอบคลุม สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพวิชาการด้านการพัฒนา ทักษะอาชีพ โดยส่งเสริมนักเรียนนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างอาชีพ รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่นโดยการจัดตั้งกลุ่มนักเรียนเยาวชนพิทักษ์ดุหยง และนำนโยบายการศึกษาสู่การปฏิบัติจัดทำโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste) สู่การปฏิบัติให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
๓. โรงเรียนบ้านเกาะลิบง มีกระบวนการ บริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ เน้นการปฏิบัติ กิจกรรมตามโครงการต่างๆ ด้วยขั้นตอน PDCA ผ่าน กลุ่มบริหารงานต่างๆ ๔ กลุ่มงาน เน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกคนในโรงเรียน มีการสื่อสารอย่างทั่วถึง มีคณะกรรมการกำกับ ติดตามการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ
๔. โรงเรียนบ้านเกาะลิบงส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยดำเนินการประเมินและปรับปรุงหลักสูตร มีรายวิชาและแผนการเรียนที่สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน และชุมชน
จุดที่ควรพัฒนา
๑. พัฒนาความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร ผ่านการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาไทย วิชาภาษาอังกฤษ จัดให้มีมาตรการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและพัฒนาทักษะในการแสวงหาความรู้
๒. พัฒนานักเรียนในวิชาภาษาอังกฤษ เนื่องจากผลทดสอบความสามารถพื้นฐานระดับชาติ (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ต่ำกว่าระดับประเทศ
๓. พัฒนาความสามารถของผู้เรียนด้านภาษาไทยและคณิตศาสตร์ เนื่องจากผลทดสอบความสามารถพื้นฐาน ของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ต่ำกว่าระดับประเทศ
๔. ผู้เรียนควรได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และควรมีการสอนซ่อมเสริมเป็นรายบุคคลในวิชาที่อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ และส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษให้ดีมากยิ่งขึ้น ผู้เรียนควรได้รับการฝึกฝนทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล
๕. ส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการ สอนแบบเชิงรุก (Active Learning) อย่างต่อเนื่อง ปรับการจัดกิจกรรมการสอนให้นักเรียนมีทักษะที่สำคัญเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษ ที่ ๒๑ ส่งเสริมกระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ และการประเมินเพื่อขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ
แผนการดำเนินการเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น
โรงเรียนบ้านเกาะลิบง มีแนวทางในการพัฒนา ดังนี้
๑. ดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โครงการพัฒนาการอ่าน การเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๓ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะลิบง
๒. มุ่งเน้นกิจกรรมตามโครงการที่เป็นการระดมทรัพยากร และการบริหารงบประมาณต่างๆเพื่อ สนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน วัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้ในชั้นเรียนและแหล่งเรียนรู้ต่างๆในโรงเรียน ตลอดจนกิจกรรมเสริมหลักสูตรต่างๆที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากต้นสังกัด
๓. พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และผลการประเมินระดับชาติ
๔. ส่งเสริมให้ครูจัดทำโครงการสอน แผนการสอน ที่สอดคล้องกับโครงสร้างรายวิชา มีคลังข้อสอบทุกตัวชี้วัด และมีการวิเคราะห์แนวการออกข้อสอบจากผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ระดับชาติออกแบบการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นกระบวนการสร้างประสบการณ์และทักษะการเรียนรู้แก่นักเรียน เสริมทักษะและการเรียนรู้ของนักเรียนด้วยเทคนิคการสอนในรูปแบบเชิงรุก (Active Learning) ส่งเสริมความสามารถพิเศษของนักเรียนรอบด้านตามหลักทฤษฎีพหุปัญญา
|