[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านวังหลาม
วันที่   14   พฤษภาคม   2567
เข้าชม : 103
Bookmark and Share


 บทสรุปผู้บริหาร

 

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

โรงเรียนบ้านวังหลาม  ตั้งอยู่เลขที่ 101 หมู่ที่ 1 ตำบลห้วยนาง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ เปิดทำการสอนการศึกษา 2 ระดับ คือ ระดับปฐมวัย คือ ชั้นอนุบาล 1-3 และระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นางสาวจำเนียน นามวงศ์ เบอร์โทรศัพท์ 081-8912201 จำนวนครูและบุคลากรทั้งสิ้น 14 คน จำแนกเป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 คน ข้าราชการครู ๑๐ คน ครูอัตราจ้าง คน เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน เจ้าหน้าที่อื่นๆ 1 คน มีจำนวนนักเรียน รวม ๑๘๖ คน จำแนกเป็นระดับอนุบาล 1-3 จำนวน ๒๗ คน ระดับประถมศึกษา จำนวน ๑๕๙ คน

 

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566  

 

1.ระดับการศึกษาปฐมวัย สรุปผลการประเมินในภาพรวมของสถานศึกษา ระดับยอดเยี่ยม
          1.1 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก                            มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

1.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ       มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

1.3 มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

 

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนมีการนำกิจกรรมการดำเนินงานของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยมาขับเคลื่อนการดำเนิน งานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาให้กับเด็ก การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน ให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยวิธีที่หลากหลาย เช่น กิจกรรมสำรวจของต่างๆ ในบริเวณโรงเรียน ให้เด็กสำรวจ สังเกต ค้นคว้า ค้นพบ ทดลอง และรู้จักแก้ปัญหาด้วยตนเอง เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ กล้าแสดงในทางที่ดี มีความร่าเริงแจ่มใส มีความสุขสนุกสนานในการเรียน และสามารถอยู่ร่วมหรือทำงานกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

ผลการพัฒนา

ผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในระดับปฐมวัย ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วาง ไว้ทั้ง 3 มาตรฐาน สืบเนื่องมาจากผลการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมต่างๆที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ เด็กมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี เกิดการเรียนรู้และมีความสุขเมื่อทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น มีความพร้อมที่จะเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากโรงเรียนให้ความสำคัญของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย เน้นการพัฒนาเด็กทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา เพื่อพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการทุกด้านสูงสุดตามศักยภาพ

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

โรงเรียนต้องมีการนำผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษามาใช้ในการปรับปรุง พัฒนา
การบริหารจัดการอย่างจริงจัง และพัฒนาบุคลากรทุกคนให้มีความพร้อมในทุกๆด้านอยู่เสมอ
ส่งเสริมให้ความสำคัญกับผู้ปกครองในการเห็นความสำคัญของการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อร่วมดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีพัฒนาการไปตามวัย เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย

จุดเด่น

โรงเรียนมีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายที่ชัดเจน มี การปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพ ปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตาม มาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ครูผู้สอนได้รับการพัฒนาตามความต้องการสถานศึกษาจัดแหล่ง เรียนรู้ภายในที่หลากหลายทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนและส่งเสริมให้มีการใช้สื่อเทคโนโลยีควบคู่กับการลงมือปฏิบัติจริงในกิจกรรมของบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ทำให้การจัดประสบการณ์ในระดับปฐมวัย สามารถส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตามวัย

จุดที่ควรพัฒนา

          มีการใช้แผนจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างจริงจัง ควรมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้และมีการวิจัยอย่างต่อเนื่อง มีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาสอดแทรกในการจัดการเรียนรู้และนำผลการเรียนรู้มาพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่องโดยควรได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง

 

2. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สรุปผลการประเมินในภาพรวมของสถานศึกษา ระดับยอดเยี่ยม

1.1 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน                         มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม

1.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ       มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม

1.3 มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ใน

                                                                                           ระดับยอดเยี่ยม

 

กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนมีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบด้วยรูปแบบการบริหารงาน ที่เรียกว่า W.M.TEAM MODEL เป็นรูปแบบการบริหารงานที่มุ่งสืบสาน รักษาและต่อยอดการดำเนินงานของโรงเรียนบ้านวังหลาม ซึ่ง W = Win การบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ บรรลุเป้าหมาย สู่ผลสำเร็จ มุ่งสู่ปณิธานร่วมกัน M = Management การบริหารจัดการ การบริหารจัดการโดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยใช้หลักการคิดเชิงระบบ มีขั้นตอนกระบวนการเป็นการบริหารเพื่อสนองนโยบายด้านการศึกษา การจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนเป็นคนดี เก่ง มีความสุขมีความสามารถ มีทักษะวิชาการ ทักษะอาชีพและทักษะชีวิต T = Technology วัสดุ อุปกรณ์ วิธีการทางเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้และการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้มีคุณภาพ  หลากหลาย ทันสมัยและเพียงพอกับความต้องการของนักเรียน E = Economic  สมรรถนะทางด้านเศรษฐกิจ  การเงิน  แหล่งเงินทุน งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจัดการศึกษารวมถึงการระดมทรัพยากร A = Attitude ทัศนคติ ความคิดเห็นร่วมกันในองค์กร ทำให้เกิดความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน บุคลากรมีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ สุจริต มีวินัย M = Morality การเรียนรู้คู่คุณธรรม 

ด้านครูผู้สอนเน้นการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ การลงมือปฏิบัติจริงให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ตามศตวรรษที่ 21 มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงานแบบกัลยาณมิตรและจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา เพื่อใช้เป็นฐานในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

ผลการพัฒนา

          ผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานประสบผลสำเร็จตาม เป้าหมายที่วาง ไว้ทั้ง 3 มาตรฐาน สืบเนื่องมาจากการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมต่างๆที่บรรลุตาม วัตถุประสงค์ ผู้เรียนมีพัฒนาการเหมาะสมกับวัย ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสมรรถภาพทางกายและน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีสุนทรียภาพด้านดนตรี มีระเบียบวินัย จนเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษาเป็นที่ยอมรับของชุมชน ด้านการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งผลให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณเป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด สามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง มีทักษะในการทำงานสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

โรงเรียนควรส่งเสริมให้มีการดำเนินการแก้ไขปัญหานักเรียนกลุ่มที่มีปัญหาทางการเรียนรู้อย่างเข้มข้น โดยประสานความร่วมมือจากผู้ปกครอง ครูประจำวิชา และครูประจำชั้นเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างจริงจัง

จุดเด่น

           ผู้บริหารสถานศึกษามีวิสัยทัศน์และมีความเป็นผู้นำ มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่ชัดเจน เปิดโอกาสให้บุคลากรทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา ส่งเสริมการดำเนินการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพโดยส่งเสริมให้เข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนางานในหน้าที่อย่างต่อเนื่อง สร้างขวัญกำลังใจแก่บุคลากรในโอกาสต่างๆตามความเหมาะสม ครูผู้สอนมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ เรียนรู้โดยกระบวนการคิด ได้ลงมือปฏิบัติจริง มีการใช้สื่อการเรียนรู้และเทคนิคการเรียนรู้ที่หลากหลาย มุ่งเน้นให้นักเรียน แสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

จุดที่ควรพัฒนา

           เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความเข้มแข็ง  มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     โครงการ "สุขาดี มีความสุข" 10 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566 2 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2566 1 มิ.ย. 2567
     การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 29 พ.ค. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566 25 พ.ค. 2567


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.