[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านควนพญา
วันที่   13   พฤษภาคม   2567
เข้าชม : 73
Bookmark and Share


  

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 

ชื่อโรงเรียน บ้านควนพญา  ที่อยู่ 259 หมู่ 6  ตำบลบางกุ้ง อำเภอห้วยยอด  จังหวัดตรัง                            ชื่อผู้บริหารโรงเรียน  นางมยุรี อ่อนรู้ที่  เบอร์โทรศัพท์ 0862916281 จำนวนครู 13 คน จำแนกเป็น ข้าราชการครู    8 คน  พนักงานราชการ 2 คน  ครูอัตราจ้าง 2 คน  บุคลากรสนับสนุนอื่น ๆ  (ธุรการ ครูพี่เลี้ยง) จำนวน 1 คน จำนวนนักเรียน รวม 158 คน จำแนกเป็นระดับก่อนประถมศึกษา  33  คน ระดับประถมศึกษา 125 คน             ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น...-.....คน  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย...-...คน

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

1. ระดับปฐมวัย

มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย

ระดับคุณภาพ

มาตรฐานที่ 1  คุณภาพเด็ก

ดีเลิศ      (ระดับ 4)

มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ

ดีเลิศ      (ระดับ 4)

มาตรฐานที่ 3  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

ดีเลิศ     (ระดับ 4)

คุณภาพของสถานศึกษาอยู่ในระดับคุณภาพ  :   ระดับดีเลิศ        

       จากผลการดำเนินงาน โครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ส่งผลให้สถานศึกษาจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐาน จากผลการประเมินสรุปว่าได้ระดับดีเลิศทั้งนี้เพราะ

1. ผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพของเด็กอยู่ระดับดีเลิศ โดยมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา บรรลุตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตรและมีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเสริมในการพัฒนาเด็กอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

2. ผลการประเมินมาตรฐานกระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ระดับดีเลิศ  โดยมีการประเมินและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและบริบทของท้องถิ่น จัดครูให้เพียงพอและเหมาะสมกับชั้นเรียน มีการส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งผลต่อคุณภาพเด็กเป็นรายบุคคล ตรงความต้องการของครูและสถานศึกษา และจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จัดสภาพแวดล้อมอย่างปลอดภัย และมีสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างเพียงพอและหลากหลาย ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา  ที่เหมาะสมและต่อเนื่อง  มีการชี้แนะระหว่างการปฏิบัติงานส่งผลต่อคุณภาพตามาตรฐานของสถานศึกษา บูรณาการการปฏิบัติงานและเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมจนเป็นแบบอย่างที่ดีและได้รับการยอมรับจากชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3. ผลการประเมินมาตรฐานการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ อยู่ระดับดีเลิศ โดยมีการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา อย่างสมดุล เต็มศักยภาพโดยความร่วมมือของพ่อแม่และครอบครัว ชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง             จัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้โดยเด็กมีส่วนร่วม ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย  ครูประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม     นำผลการประเมินที่ได้ไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก ส่งผลให้ผลการดำเนินการเป็นไปตาม            ค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนดแผนพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานระดับสูงขึ้น

 

จุดเด่น

1. เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรงมีสุขนิสัยที่ดีและดูแลความปลอดภัยของตนเองได้

2. เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้

3. เด็กมีพัฒนาการด้านสังคมช่วยเหลือตนเองและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

          4. เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญาสามารถแสวงหาความรู้ได้จากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น เช่น กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย ระดับปฐมวัย

 

จุดที่ควรพัฒนา

1. เด็กควรได้รับการพัฒนา ด้านการแสดงออก ความกล้าตัดสินใจ ภาวะความเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดีและความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม

2. เด็กควรได้รับการดูแลเอาใจใส่จากผู้ปกครองในการป้องกันตนเองจากโรคระบาด เช่น สวมใส่หน้ากากอนามัยมาจากบ้าน ควรมีอุปกรณ์ทำความสะอาดที่เพียงพอเพื่อป้องกันโรคติดต่อ

 

แนวทางทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากขึ้น

ในปีการศึกษา 2567 ครูมีการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย  ให้ครอบคลุมบริบทและสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก และจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์อย่างมีระบบมีการวิเคราะห์ผลการประเมินพัฒนาการเด็กตามความเหมาะสมของสถานการณ์ปัจจุบัน ด้วยวิธีที่หลากหลาย โดยให้ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มีผลการประเมินอยู่ในระดับ

มาตรฐานที่  1 คุณภาพของผู้เรียน

           1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน

                    1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

ดี   (ระดับ 3)

 

มาตรฐานที่  2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

ดีเลิศ (ระดับ 4)

มาตรฐานที่  3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ดี  (ระดับ 3)

คุณภาพของสถานศึกษาอยู่ในระดับคุณภาพ : ระดับดี

          จากผลการดำเนินงาน โครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ส่งผลให้สถานศึกษาจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐาน จากผลการประเมิน  สรุปว่าได้ระดับดี ทั้งนี้เพราะ       

          1. โรงเรียนบ้านควนพญามีกระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่หลากหลาย  เน้นการอ่านออก เขียนได้ คิดคำนวณได้   โดยพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก  โดยใช้รูปแบบการสอน  Active  Learming  และทักษะจากโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ดำเนินการพัฒนาตามจุดเน้น โดยนำผล  RT NT  และ O-NET  และผลการประเมินคุณภาพของผู้เรียนนำไปใช้ในการพัฒนาคุณการศึกษาอย่างรอบด้านเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะด้านการคิด วิเคราะห์  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านกระบวนการกลุ่มและการนำเสนอชิ้นงาน  โรงเรียนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมืองเพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาด้านคุณธรรม  จริยธรรม และประชาธิปไตยในโรงเรียน  เหมาะสมกับวัยผู้เรียน เพื่อให้อยู่    ในสังคมได้อย่างมีความสุข  มีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย  มีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง    ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข  จากโครงการส่งเสริมคุณธรรมในสถานศึกษาและโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

2. ผลการประเมินมาตรฐานกระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ระดับ ดี โดยมีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา แผนการศึกษาแห่งชาติ เป็นไปได้ในการปฏิบัติ มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่ชัดเจน  มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา และ ทุกกลุ่มเป้าหมาย เชื่อมโยงกับชีวิตจริง พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพตรงตามความต้องการของครู   และสถานศึกษา จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และ มีความปลอดภัย จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ ที่เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา

3. ผลการประเมินมาตรฐานกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ระดับ ดี              โดยมีจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา       มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปจัดกิจกรรมได้จริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่าง        เป็นระบบ มีขั้นตอนโดยใช้เครื่องมือและวิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสมกับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ ให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เด็กรักที่จะเรียนรู้           และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข มีชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพระหว่างครูเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้

 

ผลการพัฒนา

          โรงเรียนบ้านควนพญาได้ดำเนินงาน โครงการ และกิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้สถานศึกษา  มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐาน ผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพของผู้เรียน อยู่ระดับ ดี โดยมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ ตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา  มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยน     ความคิดเห็น โดยใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และแก้ปัญหาได้ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเอง และสังคม

               

จุดเด่น

ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน โดยมีการคิดค้นพัฒนาสื่อ นวัตกรรม อย่างต่อเนื่องโดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติจริงที่บ้าน มีการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีที่หลากหลาย ให้นักเรียนได้แสวงหาความรู้จากสื่อและเทคโนโลยีด้วยตนเอง ห้องเรียนมีการจัดบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ต่อนักเรียน ส่งผลให้ครูได้ส่งนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมจนได้รับรางวัลและได้รับการยกย่องเชิดชู

 

จุดควรพัฒนา

ครูควรพัฒนากิจกรรมการสอน เพื่อเสริมทักษะในการคิดและการแก้ปัญหา และของผู้เรียน และปรับปรุงพัฒนาห้องสมุดให้พร้อมใช้งาน ครูผู้สอนควรสนับสนุนให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง และครูควรมีการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและนวัตกรรมที่หลากหลาย

แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

          ในปีการศึกษา 2567 ครูมีการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาให้ครอบคลุมบริบทและสอดคล้องกับผู้เรียนและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์ในปัจจุบัน มีการวิเคราะห์ผลการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนตามความเหมาะสมของสถานการณ์ปัจจุบัน ด้วยวิธีที่หลากหลายโดยให้ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม และนำผล การประเมินที่ได้ไปปรับปรุง พัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ ด้วยการดำเนินกิจกรรมตามโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อพัฒนานักเรียนสู่ความเป็นเลิศ  



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     โครงการ "สุขาดี มีความสุข" 10 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566 2 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2566 1 มิ.ย. 2567
     การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 29 พ.ค. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566 25 พ.ค. 2567


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.