[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self AssessmentReport : SAR) ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนวัดโคกเลียบ อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง
ผู้เขียน : โรงเรียนวัดโคกเลียบ
วันที่   13   พฤษภาคม   2567
เข้าชม : 99
Bookmark and Share


บทสรุปของผู้บริหาร

 

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

โรงเรียนวัดโคกเลียบ ตั้งอยู่เลขที่ 3 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองปาง อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง 

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 เบอร์โทรศัพท์ : 075 - 286113  

E - Mail : kokleab.school@gmail.com เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่

          ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นางสาวสุภาพร เพียรดี เบอร์โทรศัพท์ 087 - 8942571

          จำนวนบุคลากร 13 คน จำแนกเป็นผู้บริหาร 1 คน ข้าราชการครู 9 คน พนักงานราชการ 1 คน 

และครูจ้างสอน 2 คน มีนักเรียน 200 คน จำแนกเป็นระดับชั้นอนุบาล 47 คน ระดับชั้นประถมศึกษา 153 คน 

 

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

1.  ระดับการศึกษาปฐมวัย

1.1  มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

1.2  มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

1.3   มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

 

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก

กระบวนการพัฒนา

ในปีการศึกษา 2566 โรงเรียนวัดโคกเลียบได้จัดกิจกรรมแบบองค์รวมโดยเน้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี ดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ ด้านอารมณ์ จิตใจสามารถควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมะสม ด้านสังคม ช่วยเหลือตนเองและเป็นสมาชิกที่ดี                 ของสังคม และด้านสติปัญญา มีทักษะการคิดพื้นฐาน แสวงหาความรู้ และสื่อสารได้

ผลการพัฒนา 

1) เด็กร้อยละ 91.84  มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดีและดูแลความปลอดภัยของตนเองได้

2) เด็กร้อยละ 90.31  มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้

3) เด็กร้อยละ 92.10  มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

4) เด็กร้อยละ 89.25  มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้

แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้โดยการจัดประสบการณ์                            ที่หลากหลายผ่านกิจกรรมที่เหมาะสมตามวัย ให้เด็กเรียนรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ จากการลงมือปฏิบัติและการได้รับประสบการณ์ตรง มีการกำหนดจุดมุ่งหมายและการวางแผนในการจัดประสบการณ์และกิจกรรมทั้งรายบุคคล      กลุ่มย่อย และกลุ่มใหญ่ เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม                 และสติปัญญา โดยคำนึงถึงเด็กเป็นสำคัญและพัฒนาเด็กแต่ละคนอย่างเต็มศักยภาพ

จุดเด่น

          เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคมและสติปัญญา บรรลุตามเป้าหมาย                          ที่สถานศึกษากำหนด และมีแผนงาน/โครงการในการพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวม เช่น โครงการส่งเสริม                      การจัดการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย มีกิจกรรมได้แก่ กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย กิจกรรมเรียนรู้               การทำผ้ามัดย้อม กิจกรรมกีฬาอนุบาลสัมพันธ์ กิจกรรมเรียนรู้วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น/ไทยจากวันสำคัญ กิจกรรมหนูน้อยจิตอาสา กิจกรรมทัศนศึกษา กิจกรรมเปิดบ้านวิชาการ เป็นต้น 

จุดที่ควรพัฒนา 

โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกความรู้สึกอย่างเหมาะสม มีความมั่นใจ กล้าแสดงออก ได้ทำกิจกรรมเท่าเทียมกันทุกคนและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทุกกิจกรรมทั้งรายบุคคลและกิจกรรมกลุ่ม เปิดโอกาสให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในและนอกห้องเรียน เรียนรู้ทักษะชีวิตและการอยู่ร่วมกันในสังคมให้เหมะสมตามช่วงวัย แก้ไขขัดขัดแย้ง โดยปราศจากการใช้ความรุนแรง จัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ ตัดสินแก้ปัญหาคิดวิเคราะห์ได้ตามวัย เช่น กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงการ จัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับเด็กปฐมวัย การเรียนรู้แบบ                    Active Learning กระตุ้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง การจัดกิจกรรมควรให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าและมีโอกาสค้นพบตนเองให้มากที่สุดอย่างต่อเนื่อง

 

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารจัดการ 

กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนวัดโคกเลียบดำเนินการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย พุทธศักราช 2565 สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 ตอบสนองความต้องการและความแตกต่างของเด็กปกติ                   และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น ออกแบบการจัดประสบการณ์ที่เตรียมความพร้อมของเด็ก สอดคล้องกับหลักสูตร เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติ จัดครูเหมาะสมกับภารกิจการเรียนการสอน โดยจัดครูที่จบการศึกษาปฐมวัยและครูที่ผ่านการอบรมทางการศึกษาปฐมวัยเข้าสอนอย่างเพียงพอกับชั้นเรียนพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์               โดยมีโครงการพัฒนาครูและบุคลากรโดยส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรมพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

และมีการนำความรู้มาจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็ก วิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีการประเมินพัฒนาการด้วยวิธีการที่หลากหลายตามสภาพจริง ทั้งเป็นกลุ่ม        และรายบุคคล จัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียนอย่างปลอดภัยและเพียงพอ เอื้อต่อการเรียนรู้ สื่อในห้องเรียนมีมุมประสบการณ์ในชั้นเรียนอย่างหลากหลาย มีกระบวนการบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ โดยมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย                  มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานผล                  การประเมินตนเองประจำปี นำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา โดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม และจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัด

ผลการพัฒนา

1) โรงเรียนมีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น

2) โรงเรียนมีครูเพียงพอกับชั้นเรียน

3) โรงเรียนส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์

4) โรงเรียนจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างปลอดภัยและเพียงพอ

          5) โรงเรียนให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์                 สำหรับครู

          6) โรงเรียนมีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

1)    โครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนระดับปฐมวัย และพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับ                   ความต้องการและบริบทของท้องถิ่น

2)    โครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา จัดอัตรากำลังครูให้ครบชั้นเรียน

3)    โครงการปรับปรุงและซ่อมแซมอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม ควรระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนา           สนามเด็กเล่น ซ่อมแซมสนามเด็กเล่นให้พร้อมใช้งาน จัดซื้อ/จัดจ้างทำเครื่องเล่นสนาม ให้เพียงพอต่อ                       ความต้องการของเด็ก เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเล่นกลางแจ้งได้อย่างปลอดภัย และปรับปรุงอาคารสถานที่ห้องเรียนปฐมวัยให้มีความปลอดภัย แสงสว่าง เพียงพอต่อจำนวนเด็ก และถูกสุขลักษณะเอื้อต่อการเรียนรู้

4)    โครงการจัดซื้อ/จัดหาสื่อเทคโนโลยี สื่อการเรียนรู้สนับสนุนการจัดประสบการณ์สำหรับครู

5)    โครงการ/กิจกรรมเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

จุดเด่น

          1) มีหลักสูตรสถานศึกษาที่ยืดหยุ่น สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและบริบทของท้องถิ่น

          2) จัดครูได้เพียงพอและเหมาะสมกับชั้นเรียน

3) มีการส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งผลต่อคุณภาพเด็กเป็นรายบุคคล

          4) มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพตามมาตรฐานของสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพตามมาตรฐานของสถานศึกษาและเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

จุดที่ควรพัฒนา 

1) โรงเรียนควรพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ออกแบบการจัดประสบการณ์ที่เตรียมความพร้อม                           และไม่เร่งรัดวิชาการ เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติ ตอบสนองความต้องการและความแตกต่างของเด็กปกติและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ อย่างต่อเนื่อง

2) สถานศึกษาต้องจัดครูได้เหมาะสมกับภารกิจการเรียนการสอน โดยจัดครูที่จบการศึกษาปฐมวัยและครูที่ผ่านการอบรมทางการศึกษาปฐมวัยเข้าสอนอย่างเพียงพอกับชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง

3) โรงเรียนควรมีโครงการพัฒนาครูและบุคลากรโดยส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรมพัฒนาตนเอง                  อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และมีการนำความรู้มาจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็ก วิเคราะห์                    และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีการประเมินพัฒนาการด้วยวิธีการ                       ที่หลากหลายตามสภาพจริงทั้งเป็นกลุ่มและรายบุคคล ครูมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและครอบครัว ในการร่วมกิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ ที่ทางโรงเรียนจัดอย่างต่อเนื่อง

4) โรงเรียนควรจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ มีมุมประสบการณ์ในชั้นเรียน    อย่างหลากหลาย มีสื่อการเรียนรู้ เช่น ของเล่น หนังสือนิทาน บล็อก เกมการศึกษา เป็นต้น อย่างต่อเนื่อง

5) สถานศึกษาจะต้องอำนวยความสะดวก และให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศวัสดุ เพื่อสนับสนุน                การจัดประสบการณ์และพัฒนาครูเพิ่มขึ้น

6) สถานศึกษาจะต้องกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี นำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยผู้ปกครอง                   และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม และจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

 

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

กระบวนการพัฒนา

          1) มีการวิเคราะห์ข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคล จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ตามหน่วยการเรียนรู้                    ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและบริบทของท้องถิ่น มีการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรสถานศึกษา มีกิจกรรมที่พัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวมครบทุกด้าน

2) มีการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตของเด็ก การรับประทานอาหาร                 ที่สะอาดถูกสุขลักษณะมีคุณค่าครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม การดื่มนมเป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ                  จัดกิจกรรมออกกำลังกายอย่างอิสระทั้งในร่มและกลางแจ้ง เพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่ว                    ทรงตัวได้ดี และใช้มือและตาประสานสัมพันธ์โดยการร้อยลูกปัด และการใช้กรรไกรตัดกระดาษ การทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ เป็นต้น ด้านสุขนิสัยที่ดีของเด็กดูแลรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตน โดยเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ดูแลตนเองเป็นกิจวัตรประจำวัน ได้แก่ การล้างหน้า แปรงฟัน การล้างมือ การใช้ห้องน้ำด้วยตนเอง การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และดื่มน้ำสะอาดได้ด้วยตนเอง นอนพักผ่อนเป็นเวลา และออกกำลังกาย เป็นต้น ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้แก่ กิจกรรมวาดภาพระบายสี กิจกรรมประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุเหลือใช้ กิจกรรมเคลื่อนไหวผ่านเสียงเพลง  การเล่นเกมกลางแจ้ง กิจกรรมกีฬาสัมพันธ์ กิจกรรมงานบ้าน เป็นต้น ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ได้แก่ การใช้สิ่งของเครื่องใช้อย่างประหยัด รดน้ำต้นไม้ การทิ้งขยะ การปฏิบัติตนตามมารยาทไทย การไหว้ การยิ้ม การทักทาย     กล่าวขอบคุณ ขอโทษ การมีสัมมาคารวะ การยอมรับหรือเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านความคิด พฤติกรรม เป็นต้น กิจกรรมเกี่ยวกับการช่วยเหลือตนเองได้แก่  การแต่งตัว การรับประทานอาหาร การใช้ห้องน้ำห้องส้วม การเก็บของ การเก็บรองเท้า การอาบน้ำ สระผม เป็นต้น ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ ได้แก่ กิจกรรมการทำขนมวันสารทเดือนสิบ กิจกรรมเรียนรู้การทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ กิจกรรมทดลองตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย  เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรมเกี่ยวกับ   การสื่อสาร ได้แก่ กิจกรรมนิทานก่อนนอน กิจกรรมเล่าเรื่องจากภาพงานศิลปะ กิจกรรมสนทนาจากกิจกรรม      การเรียนรู้ กิจกรรมทดลองตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เป็นต้น

          3) จัดกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยเหมาะสมกับวัยของเด็ก วุฒิภาวะ ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสนใจ ความชอบและความต้องการของเด็กที่หลากหลาย นอกจากนี้มีทั้งสื่อที่เป็นของจริง                          สื่อธรรมชาติ สื่อที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก และเป็นสื่อที่เอื้อให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า และส่งเสริมการลงมือปฏิบัติจริงของเด็ก เพื่อพัฒนาเด็กให้ครบทุกด้านอย่างสมดุล

          4) มีการประเมินพัฒนาการเด็กจากกิจกรรมและกิจวัตรประจำวันด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กสำหรับการส่งเสริมความก้าวหน้าและช่วยเหลือสนับสนุนเมื่อพบเด็กล่าช้าหรือมีปัญหาที่เกิดจากพัฒนาการและการเรียนรู้ ไม่มีการใช้แบบทดสอบในการประเมิน                       แต่ได้ทำการประเมินตามสภาพจริงที่มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ใช้วิธีการและวิธีการประเมินที่หลากหลาย           อย่างมีจุดหมาย เช่น การสังเกต สัมภาษณ์ บันทึกพฤติกรรม บันทึกพัฒนาการ หรือแฟ้มสะสมผลงาน เป็นต้น

ผลการพัฒนา

1)   ครู (ปฐมวัย) ทุกคนจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ

2)   เด็กร้อยละ 100 ได้รับประสบการณ์ตรงเล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข

ครู (ปฐมวัย) ทุกคน จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย

1)   ครู (ปฐมวัย)ทุกคนประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็ก                   ไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก

แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

1)   จัดกิจกรรมพัฒนา EF สำหรับเด็กปฐมวัย

2)   จัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับเด็กปฐมวัย

3)   จัดกิจกรรมทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัย

4)   จัดกิจกรรมปรับปรุง ซ่อมแซม จัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียน

5)   จัดกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

จุดเด่น

          1) ครูมีความรู้ความสามารถในการจัดประสบการณ์ให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ                   มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการสอน สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการพัฒนาตนเอง มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างหลากหลายสอดคล้องกับหลักสูตร

          2) เด็กทุกคนได้รับประสบการณ์ตรง เล่น และลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า เรียนรู้อย่างมีความสุข

จุดที่ควรพัฒนา 

          1) การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ อย่างต่อเนื่อง

          2) สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข อย่างต่อเนื่อง

          3) จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย อย่างต่อเนื่อง

          4) ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก อย่างต่อเนื่อง

 

     2.  ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 

2.1  มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

          2.2  มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

          2.3  มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลการประเมิน                      

                             อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

กระบวนการพัฒนา

          ในปีการศึกษา 2566 โรงเรียนวัดโคกเลียบได้จัดกิจกรรมพัฒนาการอ่าน การเขียน ส่งเสริมให้นักเรียน                                มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด พัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมด้วยการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ               ในรายวิชาต่าง ๆ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีโครงการ                 และกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา โดยปรับเปลี่ยนกิจกรรมตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น มีการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพในท้องถิ่นของตนเอง มีการจัดกิจกรรมโดยให้นักเรียน                 ได้เรียนรู้ภายนอกสถานศึกษา ร่วมกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรมและประเพณีไทยโดยให้นักเรียนได้ร่วมกิจกรรม    ต่าง ๆ มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนพัฒนาพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์ ด้วยวิธีการต่าง ๆ

ผลการพัฒนา 

มีผลการประเมินการอ่าน และการเขียน การคิดวิเคราะห์ สมรรถสำคัญของผู้เรียนเป็นไปตามเป้าหมาย

ที่สถานศึกษากำหนด ผู้เรียนทุกคนเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์และคิดแก้ปัญหา ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเผชิญหน้ากับปัญหาด้วยตนเอง ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ผลการประเมินระดับชาติขั้นพื้นฐานประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมเพิ่มขึ้น ผู้เรียนทุกคนมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ มีทักษะในการทำงาน เข้าร่วมกิจกรรมทุกกิจกรรม มีความสามารถในการทำงานเป็นอย่างดีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนเป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด โรงเรียนสามารถจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นไปอย่างมีระบบ และมีประสิทธิภาพ นักเรียนได้เรียนรู้วิถีชีวิตในการสร้างพฤติกรรมซึ่งจะปลูกฝังให้เกิดการปฏิบัติตนที่จะนำไปสู่การมีสุขภาพดีตั้งแต่เด็กควบคู่ไปกับการศึกษา เพื่อให้เด็ก “ดี เก่ง มีสุข”

แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

          จัดทำโครงการเพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณที่เน้นการฝึกทักษะให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริงจัดกิจกรรมที่เน้นให้นักเรียนฝึกความสามารถทางด้านการคิดวิเคราะห์ และการแลกเปลี่ยน                    ความคิดเห็นเช่น กิจกรรมการจัดทำโครงงาน การถอดบทเรียน เป็นต้น กิจกรรมส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ กิจกรรมพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)                     จัดกิจกรรมโครงการสอนซ่อมเสริมและยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน จัดกิจกรรมและโครงการที่ส่งเสริม                     ให้นักเรียนได้ฝึกอาชีพ และได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้เข้าร่วมเรียนรู้                                  เกิดความสนุกสนานและมีความสุขในการเรียนรู้ที่แตกต่างจากการเรียนรู้ภายในห้องเรียน การเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นโดยไม่เกิดการแบ่งแยก

จุดเด่น

โรงเรียนมีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้กำหนดเป็นเป้าหมายในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ฐานข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ เน้นทักษะ                     การอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ จนทำให้ผู้เรียนมีทักษะทางวิชาการ คืออนหือออกแ่อง           ทั้ามาื่กาื่อุกคามาช้เทโนลยีในกรแสาความรู้ได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้ัมทธิ์ทางารเรียนขงนักเรียนสูงขึ้นทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ผู้เรียนมีทักษะชีวิตที่เด่นชัด มีคุณลักษณะ                     ที่พึงประสงค์ มีคุณธรรม จริยธรรม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ธรรมชาติ                  มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย มีระเบียบวินัย มีมารยาทไทย และแสดงออกได้เหมาะสมกับวัยและศาสนาที่ตนนับถือ มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตดี ทษิษสิ่ด และผู้เรียนมีทักษะอาชีพ คือ                    มีทักษะในการทำงาน รักการทำงานสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต ในการน้อมนำ                 หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการเรียนรู้และปรับใช้ชีวิตประจำวันได้  

จุดที่ควรพัฒนา 

          ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา และผลการทดสอบระดับชาติทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ การดำเนินงานตามมาตรฐานนี้นักเรียนบางคนยังขาดเป้าหมาย และแรงจูงใจในการเรียน และนักเรียนบางคน                  ยังขาดทักษะในการแก้ปัญหา ขาดทักษะการวางแผน กระบวนการและขั้นตอนการทำงานยังไม่เกิดขึ้น                และปรับเปลี่ยนวิธีการอย่างเหมาะสม นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ยังต้องเร่งพัฒนาด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ การคิดคำนวณ การคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ การการนำเสนอ การอภิปราย                          และแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสมเหตุสมผล และต้องพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม  ตามวัย เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนมากขึ้น ควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็งมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษาและการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา

 

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ 

กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนได้กำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์ และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการของสถานศึกษา มีนโยบายและจุดเน้นที่ชัดเจนและมีการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมจุดเน้นของนักเรียน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรการศึกษา ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูได้จัดทำผลงานทางวิชาการและวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนการสอน มีการจัดดูแล ปรับปรุงซ่อมแซม ตกแต่ง บำรุงรักษา สภาพแวดล้อมทางกายภาพให้มีสภาพสะอาดเป็นระเบียบ เตรียมแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ      มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี สามารถนำเทคโนโลยีมาบริหารจัดการสถานศึกษาและจัดกระบวนการเรียนรู้ได้รับการพัฒนาให้มีความเข้มแข็ง ด้วยระบบเครือข่ายสถานศึกษาที่สามารถส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์พัฒนาวิชาการ และเครือข่ายวิชาชีพโดยใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างเกื้อกูล มีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง มีการสร้าง พัฒนาและนำนวัตกรรมระบบเทคโนโลยีมาช่วย                      จัดการข้อมูลสารสนเทศภายในโรงเรียน บริหารจัดการระบบข้อมูลสารสนเทศที่มีความเชื่อมโยงภายในภายนอกและส่วนกลางอย่างเป็นระบบ มีข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัยนำไปประยุกต์ใช้ได้

ผลการพัฒนา

          สถานศึกษามีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการของสถานศึกษา นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่นและสอดคล้องกับแนวปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ ซึ่งกำหนดไว้อย่างชัดเจน มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา มีหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ครบทุกสาระการเรียนรู้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกรอบหลักสูตรท้องถิ่นของเขตพื้นที่การศึกษา มีการประเมินหลักสูตรสถานศึกษา และการจัดการเรียนการสอน จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ และนำนวัตกรรมระบบเทคโนโลยีมาช่วย                     จัดการข้อมูลสารสนเทศภายในโรงเรียนและโรงเรียนบริหารจัดการระบบ ข้อมูลสารสนเทศที่มีความเชื่อมโยงภายในภายนอก และส่วนกลางอย่างเป็นระบบ มีข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้

แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

          จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีสอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียน                  ทุก กลุ่มเป้าหมาย และปรับแผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีการจัดทำและดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี มีครูและบุคลากรเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ โรงเรียนจัดระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียนและเยี่ยมบ้านนักเรียนทุกปีการศึกษาจัดให้มีกิจกรรมการเรียนการสอน                ที่หลากหลาย เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และให้ผู้เรียนเกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้                ทางวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนางานเพิ่มมาก ขึ้นจัดให้มีแหล่งเรียนรู้หรือสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งภายใน                   และภายนอก โรงเรียนพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ต ความเร็วสูง เพื่อให้ครูและผู้เรียนเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เพื่อการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ก้าวทันเทคโนโลยีในปัจจุบั

จุดเด่น

          โรงเรียนมีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจของสถานศึกษาที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม                     และสามารถนำไปปรับใช้กับการบริหารจัดการสถานศึกษาได้จริง  ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษาร่วมกับผู้ปกครองและชุมชนร่วมกันบริหารจัดการศึกษาให้มีคุณภาพทั้งระบบ ครูและบุคลากรทางการศึกษา                                มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพและสามารถใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนและการปฏิบัติงาน

ในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน                     ที่สวยงาม และเอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

จุดที่ควรพัฒนา 

          โรงเรียนควรพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการจัดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) มาใช้พัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียน และเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารร่วมกับ                หัวหน้าฝ่ายวิชาการควรกำกับ ติดตามและนิเทศการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

 

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

กระบวนการพัฒนา

          นักเรียนของโรงเรียนวัดโคกเลียบได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ สอดคล้องกับความถนัดและเต็มตามศักยภาพ จัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ และให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง วางรากฐานด้านสุขภาพให้เข้มแข็งด้วยการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพตั้งแต่แรกเริ่มเพื่อให้นักเรียนสามารถเผชิญกับปัญหา                    และสภาวการณ์ที่คุกคามต่อสุขภาพได้ ครูโรงเรียนวัดโคกเลียบมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือฝึกปฏิบัติจริง (Active Learning) ในด้านการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ มีการวัดผลประเมินผลอย่างหลากหลาย ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์รวมทั้งให้ข้อมูลป้อนกลับ  เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ครูทุกคนวิเคราะห์ข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคล มีการใช้                  วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องครูทุกคนมีการบริหารจัดการชั้นเรียน โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกเอาใจใส่ ดูแล ช่วยเหลือ มีการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนและให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนเพื่อนำไปใช้พัฒนาการเรียนรู้

ผลการพัฒนา

 

           นักเรียนได้เรียนรู้และทำกิจกรรมด้วยความสนใจ สามารถค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้ ภายในและภายนอกโรงเรียน โดยครูคอยให้ มีนิสัยรักการอ่าน รักการค้นคว้า เกิดการใฝ่รู้ และนำไปสู่การปฏิบัติ  ในชีวิตประจำวันโดยนักเรียนมีทักษะกระบวนการแสวงหาความรู้ รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง                 มีคุณธรรม จริยธรรมและมีคุณลักษณ์อันพึงประสงค์สามารถ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โรงเรียน                             มีการบริหารจัดการโรงเรียนทันต่อการเปลี่ยนแปลงมีการจัดระบบการทำงานในองค์กร มีโครงสร้างงาน มีแผน                  การปฏิบัติราชการ มีการพัฒนาระบบงานทุก ๆ ด้านโดยใช้หลักการมีส่วนร่วม สามารถพัฒนาโรงเรียนไปในทิศทางที่ดีขึ้น และก้าวหน้าในทุก ๆ ด้าน นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมากขึ้นได้พัฒนาความสามารถต่าง ๆ  ตามศักยภาพของตนแนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

          ส่งเสริมให้คุณครูจัดกิจกรรมปรับปรุงบรรยากาศในห้องเรียน ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย มีความปลอดภัย สะอาด น่าอยู่โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โครงการพัฒนาการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณโครงการการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการบริหารและการเรียนการสอน โครงการห้องสมุดมีชีวิต และโครงการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโครงการพัฒนาระบบการวัดผลประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริง

จุดเด่น

         ครูทุกคนมีความมุ่งมั่น ตั้งใจพัฒนาการสอน โดยจัดกิจกรรมที่เน้นทักษะกระบวนการคิด ให้ผู้เรียน                  ได้ปฏิบัติจริง ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจในการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สามารถประยุกต์ใช้                         กับการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้และใช้ในกระบวนบริหารและกาจัดการของสถานศึกษา ครูมีการบริหาร                     จัดการชั้นเรียนเชิงบวก ส่งผลให้ผู้เรียนมีความสุขกับการเรียน รักการเรียน และอยากเรียนอยากรู้มากยิ่งขึ้นโรงเรียนร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการจัดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถและความถนัดของผู้เรียน

จุดที่ควรพัฒนา   

          ควรจัดหา สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้เรียน ครูผู้สอนควรมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานภายนอก ศึกษาและใช้เครื่องมือในการวัดผลการพัฒนาพฤติกรรมการเรียนรู้ตรงตามสภาพจริงอิงตามมาตรฐาน การเรียนรู้และตัวชี้วัดและให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนทันที เพื่อให้ผู้เรียนนำไปใช้พัฒนาตนเอง และควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้มากยิ่งขึ้น



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     โครงการ "สุขาดี มีความสุข" 10 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566 2 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2566 1 มิ.ย. 2567
     การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 29 พ.ค. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566 25 พ.ค. 2567


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.