[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล การดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2566 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านเหนือคลอง
วันที่   13   พฤษภาคม   2567
เข้าชม : 42
Bookmark and Share


           แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561
ปีการศึกษา 2566 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
............................................................
1.ข้อมูลทั่วไป
              โรงเรียนบ้านเหนือคลอง ที่อยู่ 115   หมู่ที่ 8  ตำบลบางกุ้ง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92210   สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 โทรศัพท์ 075-291345   โทรสาร   -  
เปิดสอนระดับชั้น อนุบาลปีที่ 1 ถึงระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6
2. ข้อมูลบุคลากรของสถานศึกษา (31 มีนาคม 2567)    
บุคลากร
ผู้บริหาร
ครูผู้สอน
พนักงานราชการ
ครูอัตราจ้าง
เจ้าหน้าที่อื่นๆ
31 มีนาคม 2567
1
6
-
3
2
3. ข้อมูลนักเรียน (10 พ.ย. 2566)      
ระดับชั้นเรียน
จำนวน
หมายเหตุ
ชาย
หญิง
อนุบาลปีที่ 1
6
2
 
อนุบาลปีที่ 2
6
6
 
อนุบาลปีที่ 3
2
4
 
รวม
14
12
 
ประถมศึกษาปีที่ 1
2
0
 
ประถมศึกษาปีที่ 2
3
2
 
ประถมศึกษาปีที่ 3
3
8
 
ประถมศึกษาปีที่ 4
9
6
 
ประถมศึกษาปีที่ 5
3
6
 
ประถมศึกษาปีที่ 6
4
5
 
รวม
24
27
 
รวมทั้งหมด
38
39
 
 
หมายเหตุ ให้โรงเรียนรายงานข้อมูลทุกระดับชั้นที่เปิดสอนในปีการศึกษา 2566
 
4. ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา                       
    ตามกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2566 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
    ประถมศึกษาตรัง เขต 2
    4.1 รูปแบบการบริหารจัดการการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ อยู่ในระดับ ๕ คุณภาพดีเยี่ยม
การดำเนินงานของสถานศึกษา     การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นกลไกที่สำคัญประการหนึ่งที่สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และปฏิบัติงานได้อย่างเป็นระบบ มีคุณภาพตามมาตรฐาน สถานศึกษาจึงมีโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 มีรูปแบบวิธีการบริหารจัดการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา มีการวางแผนการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่มีความเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติและมีการปรับปรุงพัฒนาต่อเนื่อง     โดยการสร้างความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ ด้วยการบริหารจัดการที่มีคุณภาพทั้งองค์กร โดยใช้หลักการมีส่วนร่วม บุคลากรในโรงเรียนตระหนักถึงเป้าหมาย คือ ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นอันดับแรก ทางโรงเรียนยึดหลัก ๓ ประการในการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ดังนี้
     ๑.การกระจายอำนาจ มีอิสระ มีความคล่องตัวในการบริหาร ทั้งการบริหารกลุ่มงานวิชาการ กลุ่มงานงบประมาณ กลุ่มงานบริหารบุคคลและกลุ่มงานบริหารทั่วไป จัดสิ่งอำนวยความสะดวก ผู้สอนปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ในการสอน มีการพัฒนาสื่อ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ของชุมชน
     ๒.การมีส่วนร่วมในการทำงาน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ร่วมกันคิด ตัดสินใจ สนับสนุน ส่งเสริม ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงาน
     ๓. ภาระรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ ทุกคนรู้มาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน เพื่อติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของโรงเรียน เช่น การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ มีการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา เพื่อติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเป็นประจำทุกปี
ผลการดำเนินงาน
     สถานศึกษามีการบริหารจัดการระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 สอดคล้องตามบริบทของสถานศึกษา มีกระบวนการ ลำดับขั้นตอน อย่างชัดเจน มีความเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ๕ ปี โดยมีคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเป็นประจำต่อเนื่องทุกปี ส่งผลให้ผลการประเมินอยู่ในระดับ ๕ คุณภาพดีเยี่ยม
 
 
 
     4.2 การดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 
           4.2.1 การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับ
ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ   อยู่ในระดับอยู่ในระดับ ๕ คุณภาพดีเยี่ยม
การดำเนินงานของสถานศึกษา
สถานศึกษามีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ เอกลักษณ์ของสถานศึกษา มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อันเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ทรงคุณวุฒิ ครูและบุคลากรในสถานศึกษา ตลอดจนผู้ปกครองและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีการขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  มีการจัดทำคู่มือแนวทางการประเมินคุณภาพมาตรฐานการศึกษาทั้งในระดับการศึกษาปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผลการดำเนินงาน
สถานศึกษามีมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ มีอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกับปรัชญา วิสัยทัศน์ คำขวัญ มีเอกลักษณ์ของโรงเรียนได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน   ผู้เกี่ยวข้องทุกส่วนรับรู้ รับทราบ และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุมาตรฐาน อัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ของโรงเรียน ส่งผลให้ผลการประเมินอยู่ในระดับ ๕ คุณภาพดีเยี่ยม
    4.2.2 การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ อยู่ในระดับ ๕ คุณภาพดีเยี่ยม
การดำเนินงานของสถานศึกษา
            สถานศึกษาได้จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งเน้นตามมาตรฐานการศึกษา โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมกันคิด  วางแผน และพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ   โดยการทำ SWOT Analysis     วิเคราะห์สถานภาพของสถานศึกษา ทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน สำหรับเป็นเครื่องชี้นำการดำเนินการต่างๆ ที่สอดรับกับเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจของสถานศึกษา ระบุแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมและมีการนำเสนอคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อขอความเห็นชอบโดยมีแผน 2 ประเภทคือ
               1) แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาซึ่งเป็นแผนที่มีรอบระยะเวลาการพัฒนาที่มุ่งเน้นคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา เป็นแผนระยะเวลา ๕ ปี ที่มีความเหมาะสมตามบริบทของสถานศึกษา เป็นแผนที่สะท้อน กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่จะใช้ในการพัฒนาหรือปรับปรุงเพื่อนำไปสู่เป้าหมาย ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่วางไว้
     2) แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ เป็นแผนที่แตกมาจากแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อการดำเนินงานเป็นรายปี โดยแผนปฏิบัติการนี้ มีโครงการจำนวน ๑๒ โครงการ เน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่ชัดเจน มีกิจกรรมการดำเนินงานตามกรอบเวลา สถานที่ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ มีกิจกรรม ปฏิทิน การติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานความก้าวหน้าของการดำเนินงาน การปรับปรุง แก้ไขเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการรายงานผลการดำเนินโครงการเพื่อเป็นข้อมูลและสารสนเทศในการปรับปรุงและพัฒนาในปีต่อ ๆ ไป 
ผลการดำเนินงาน
สถานศึกษามีแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนระยะเวลา 5 ปี ที่มียุทธศาสตร์สนองตอบต่อการพัฒนาผู้เรียนตามปรัชญา วิสัยทัศน์ของโรงเรียน มีแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ สนองตอบต่อแผนพัฒนาการจัดการศึกษา  แผนปฏิบัติการในแต่ละปีมีโครงการที่สนองตอบต่อจุดเน้น อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ของโรงเรียน แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนและแผนปฏิบัติการประจำปี ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูทุกคนรับรู้และมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาและแผนปฏิบัติการของโรงเรียน   ส่งผลให้ผลการประเมินอยู่ในระดับอยู่ในระดับ ๕ คุณภาพดีเยี่ยม
          4.2.3 การดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ 
ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ อยู่ในระดับ ๔ คุณภาพดีมาก
การดำเนินงานของสถานศึกษา
            ผู้บริหารใช้แผนพัฒนาการจัดการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณเป็นทิศทางสำคัญในการบริหารจัดการศึกษา  บริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพและระบบคุณธรรม จัดสิ่งอำนวยความสะดวก สนับสนุนทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานตามแผนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ดูแล กำกับ ติดตาม และนิเทศงานของครู และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนดไว้ ให้ความสำคัญและการดำเนินงานปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ผู้บริหารเป็นผู้นำในการปฏิบัติงานตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่กำหนดไว้ รวมทั้งมีการส่งเสริม สนับสนุน กำกับ ติดตามและให้ความช่วยเหลือแก่ครู ให้สามารถปฏิบัติงานได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
ผลการดำเนินงาน      
สถานศึกษามีปฏิทินการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมที่ชัดเจน มีการกำหนดผู้รับผิดชอบการดำเนินโครงการ/กิจกรรม รายงานการประชุม ปรึกษาหารือ การดำเนินการตามแผนอย่างต่อเนื่อง รายงานการกำกับ ติดตาม นิเทศ การดำเนินงานตามแผนเป็นระยะ ๆ โครงการ/กิจกรรมบรรลุตามวัตถุประสงค์ มีการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า ผู้ที่เกี่ยวข้องพึงพอใจในการดำเนินงานตามแผนฯ ส่งผลให้ผลการประเมินอยู่ในระดับ ๔ คุณภาพดีมาก
4.2.4 การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ อยู่ในระดับ ๔ คุณภาพดีมาก
การดำเนินงานของสถานศึกษา
                สถานศึกษา มีการประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะครู   พร้อมกำหนดบทบาทหน้าที่เพื่อประเมิน ตรวจสอบ ติดตามผลการดำเนินงานของสถานศึกษาอย่างชัดเจน มีการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาเป็นการตรวจสอบความก้าวหน้าของการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี รวมทั้งการจัดทำรายงานการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษา โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลและสารสนเทศ การดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เห็นแนวโน้มการปฏิบัติงานว่าดีขึ้นหรือกำลังถอยลง มีการปรับปรุงแก้ไขเรื่องใดบ้าง โดยการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษา โรงเรียนกระทำทุกปี ทั้งนี้ การดำเนินงานตรวจสอบคุณภาพการศึกษาอาศัยความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน และให้ความสำคัญกับคุณภาพผู้เรียนเป็นอันดับแรก และเชื่อมโยงถึงมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในด้านอื่นๆ รวมถึงอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ ของโรงเรียน
ผลการดำเนินงาน
สถานศึกษามีปฏิทินการกำกับ ติดตามการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ การนิเทศภายในโรงเรียน
กำหนดผู้รับผิดชอบตามปฏิทินชัดเจน  ผู้รับผิดชอบแต่ละแผนงาน/โครงการรายงานผลการประเมินโครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปี มีการรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน   มีการประชุมผู้เกี่ยวข้องในการนำผลไปใช้ในการปรับปรุงแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม/การสอน/หลักสูตร ตลอดจนมีการนำผลจากการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาเป็นสารสนเทศในการพัฒนาในปีต่อไป ส่งผลให้ผลการประเมินอยู่ในระดับ ๔ คุณภาพดีมาก
          4.2.5 ติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ อยู่ในระดับ ๔ คุณภาพดีมาก
การดำเนินงานของสถานศึกษา
                สถานศึกษามีการติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาเพื่อให้ทราบขีดความสามารถในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาว่าบรรลุตามเป้าหมายหรือมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาหรือไม่ โดยมีการกำหนดผู้รับผิดชอบดำเนินการติดตามผลการดำเนินการ กำหนดภารกิจและปฏิทินการติดตามฯ จัดทำเครื่องมือติดตามผลการดำเนินงานของสถานศึกษา โดยติดตามผลการดำเนินงานภาคเรียนละ ๑ ครั้ง และรายงานผลการติดตามการดำเนินงานต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ   ในการติดตามผลการดำเนินงาน เน้นความสำเร็จใน ๓ ด้าน คือ
                   ๑. คุณภาพของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่เกิดการเชื่อมโยงจากมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรสู่มาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน โดยระบุถึงกลุ่มผู้เรียนที่ได้มาตรฐานและกลุ่มผู้เรียนที่ไม่ได้มาตรฐาน
                   ๒. คุณภาพครูตามมาตรฐานตำแหน่ง เป็นการประเมินคุณภาพการสอนของครูว่าเป็นไปตามมาตรฐานตำแหน่งหรือไม่ มีสิ่งใดบ้างที่ต้องปรับปรุง
                   3. คุณภาพการศึกษาด้านการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษา เป็นการประเมินคุณภาพการบริหารและการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาด้วยวิธีการอย่างหลากหลาย การสังเกต การสัมภาษณ์ การตรวจสอบ หลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องในมาตรฐานผู้เรียนและการเรียนการสอน
ผลการดำเนินงาน
          สถานศึกษามีการประเมินมาตรฐานด้านผู้เรียน การประเมินมาตรฐานครูผู้สอน มาตรฐานผู้บริหารสถานศึกษา ทั้งในระดับปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับชั้นเรียนและในภาพรวมของสถานศึกษา ตลอดจนมีแนวทางการพัฒนา/ข้อเสนอแนะการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐานส่งผลให้ผลการประเมินอยู่ในระดับ ๔ คุณภาพดีมาก
           4.2.6 จัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้แก่หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษาเป็นประจำทุกปี
ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ อยู่ในระดับ ๕ คุณภาพดีเยี่ยม
การดำเนินงานของสถานศึกษา
สถานศึกษามีการจัดทำรายงานประจำปีหลังการจัดการศึกษาผ่านไป โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการในการสรุปและจัดทำรายงาน ผลสำเร็จของการบริหารจัดการสถานศึกษา ครอบคลุมตามมาตรฐาน ตรวจสอบ ปรับปรุง ให้มีความชัดเจนและสมบูรณ์ นำเสนอต่อคณะกรรมการสถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการเปิดเผยต่อสาธารณชน พร้อมนำข้อเสนอแนะไปปรับปรุง พัฒนาในการดำเนินงานปีถัดไป
ผลการดำเนินงาน                  
 สถานศึกษามีรายงานประจำปีระดับการศึกษาปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด ตลอดจนมีการเปิดเผยต่อสาธารณชน ส่งผลให้ผลการประเมินอยู่ในระดับ ๕ คุณภาพดีเยี่ยม
         4.3 ผลงานเด่นของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566
ประเภท
ระดับรางวัล
ชื่อรางวัล
หน่วยงานที่มอบรางวัล
สถานศึกษา
 
ระดับชาติ
สถานศึกษาปลอดภัย ดีเด่น ปีที่ ๕
กระทรวงแรงงาน
ระดับจังหวัด
ต้นแบบโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญติแห่งชาติ จังหวัดตรัง ประจำปี ๒๕๖๖
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง
ผู้บริหาร
 
ระดับเขตพื้นที่ฯ
นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การดำเนินงานส่งเสริมระบบนิเทศภายในของสถานศึกษา ระดับดีเลิศ   รองชนะเลิศอันดับ ๑
สพป.ตรังเขต ๒
ครูและบุคลากรทางการศึกษา
นางสาว เย็นจิตร ย่องเส้ง
ระดับเขตพื้นที่ฯ
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ ระดับดีเยี่ยม ประเภทการพัฒนาการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน โดยใช้ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ในการคัดเลือกนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การวัดและประเมินผลในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (Assessment for Learning)
สพป.ตรังเขต ๒
นางสาววรรณิษา อ่อนรู้ที่
ระดับเขตพื้นที่ฯ
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๔ ระดับดี ประเภทการพัฒนาการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน โดยใช้ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ในการคัดเลือกนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การวัดและประเมินผลในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (Assessment for Learning)
 
สพป.ตรังเขต ๒
 
 
 
 
 
 
ประเภท
ระดับรางวัล
ชื่อรางวัล
หน่วยงานที่มอบรางวัล
ครูและบุคลากรทางการศึกษา
นางมีนา ทองประดับ
ระดับเขตพื้นที่ฯ
รางวัล ระดับดี ประเภทการพัฒนาการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน โดยใช้ผลการทดสอลทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในการคัดเลือกนวัตกรรมการปฏิบัติที่ดีเป็นเลิศ (Best Practice) การวัดและประเมินผลในชั้นเรียน เพื่อพัมนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (Assessment for Learning)
สพป.ตรังเขต ๒
นางพิมพ์พร คงประสม
ระดับเขตพื้นที่ฯ
   รางวัลระดับดี ประเภทการพัฒนาการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน โดยใช้ผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในการคัดเลือกนวัตกรรมการปฏิบัติที่ดีเป็นเลิศ (Best Practice) การวัดและประเมินผลในชั้นเรียน เพื่อพัมนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (Assessment for Learning)
สพป.ตรังเขต ๒
นายธัญพิสิษฐ์ นานอน
ระดับเขตพื้นที่ฯ
ครูผู้สอนนักเรียน ได้รับรางวัล เรียงความเฉลิมพระเกียรติ “ร้อยถ้อยคำ ร้อยความทรงจำ จากดวงใจ” เจ็ดทศวรรษ ธ ครองไทย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ประเภทการประกวด ระดับประถมศึกษา (ป.๔ - ๖) ระดับเหรียญทองแดง
 
สพป.ตรังเขต ๒
นายธัฐพิสิษฐ์ นานอน
ระดับเขตพื้นที่ฯ
 ครูผู้สอนนักเรียน รางวัลเหรียญทองกิจกรรมการแข่งขันสืบครรลองท่องจำบทอาขยาน ระดับชั้น ป.๔ - ป.๖ งานสานฝันพัฒนาคุณภาพนักเรียน สพป.ตรังเขต ๒ ครั้งที่ ๑๗
สพป.ตรังเขต ๒
 
 
 
 
 
ประเภท
ระดับรางวัล
ชื่อรางวัล
หน่วยงานที่มอบรางวัล
ครูและบุคลากรทางการศึกษา
นางสาวธนวรรณ วงค์เวียงทอง
นางสาวเย็นจิตร ย่องเส้ง
ระดับเขตพื้นที่ฯ
 ครูผู้สอนนักเรียน รางวัลเหรียญทองกิจกรรมการแข่งขันต่อคำศัพท์ไทย
(ไทยเดิม) ระดับชั้น ป.๔ - ป.๖ งานสานฝันพัฒนาคุณภาพนักเรียน สพป.ตรังเขต ๒ ครั้งที่ ๑๗
สพป.ตรังเขต ๒
นางสาววรรณิษา อ่อนรู้ที่
นางสาวชนินาถ ศรีแก้ว
ระดับเขตพื้นที่ฯ
ครูผู้สอนนักเรียน รางวัลเหรียญทองกิจกรรมการแข่งขันทำอาหารคาวหวานเพื่อสุขภาพ ระดับชั้น ป.๔ - ป.๖ งานสานฝันพัฒนาคุณภาพนักเรียน สพป.ตรังเขต ๒ ครั้งที่ ๑๗
สพป.ตรังเขต ๒
นางสาวลัดดาวรรณ พลการ
นายพีระพงษ์   จันทร์เกื้อ
ระดับเขตพื้นที่ฯ
 ครูผู้สอนนักเรียน รางวัลเหรียญทองกิจกรรมการแข่งขันการสร้างสรรค์ภาพด้วยการปะติด ระดับชั้น ป.๔ - ป.๖ งานสานฝันพัฒนาคุณภาพนักเรียน สพป.ตรังเขต ๒ ครั้งที่ ๑๗
 
สพป.ตรังเขต ๒
นางสาวเย็นจิตร   ย่องเส้ง
ระดับเขตพื้นที่ฯ
 ครูผู้สอนนักเรียน รางวัลเหรียญทอง กิจกรรมการแข่งขันต่อคำศัพท์ภาษาไทย (คำคมเดิม) ระดับชั้นป.๔ - ป.๖ งานสานฝันพัฒนาคุณภาพนักเรียน สพป.ตรังเขต ๒ ครั้งที่ ๑๗
สพป.ตรังเขต ๒
นางมีนา ทองประดับ
นางพิมพ์พร คงประสม
ระดับเขตพื้นที่ฯ
ครูผู้สอนนักเรียน รางวัลเหรียญทองแดงกิจกรรมการแข่งขันการแสดงตลก ระดับชั้น ป.๑ - ม.๓ งานสานฝันพัฒนาคุณภาพนักเรียน สพป.ตรังเขต ๒ ครั้งที่ ๑๗
 
สพป.ตรังเขต ๒
นางสาวสุธีรัตน์ กัญชนะกาญจน์นางสาวธนวรรณ วงค์เวียงทอง
ระดับเขตพื้นที่ฯ
 ครูผู้สอนนักเรียน รางวัลเหรียญทองแดงกิจกรรมการแข่งขันสร้างสรรค์ผลงานทางคณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม GSP ระดับชั้น ป.๔ - ป.๖ งานสานฝันพัฒนาคุณภาพนักเรียน สพป.ตรังเขต ๒ ครั้งที่ ๑๗
สพป.ตรังเขต ๒
 
ประเภท
ระดับรางวัล
ชื่อรางวัล
หน่วยงานที่มอบรางวัล
ครูและบุคลากรทางการศึกษา
นางสาวเย็นจิตร ย่องเส้ง
ระดับเขตพื้นที่ฯ
ครูผู้สอนนักเรียน รางวัลชมเชย กิจกรรมการแข่งขันคิดเลขเร็วระดับชั้น ป.๑ - ป.๓ งานสานฝันพัฒนาคุณภาพนักเรียน สพป.ตรังเขต ๒ ครั้งที่ ๑๗
สพป.ตรังเขต ๒
นักเรียน
เด็กหญิงสิริวิมล   รอดกูล
ระดับเขตพื้นที่ฯ
ได้รับรางวัล เรียงความเฉลิมพระเกียรติ “ร้อยถ้อยคำ ร้อยความทรงจำ จากดวงใจ” เจ็ดทศวรรษ ธ ครองไทย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ประเภทการประกวด ระดับประถมศึกษา (ป.๔ - ๖) ระดับเหรียญทองแดง
สพป.ตรังเขต ๒
เด็กหญิงจิรยาวดี วัตรสังข์
ระดับเขตพื้นที่ฯ
รางวัลเหรียญทองกิจกรรมการแข่งขันสืบครรลองท่องจำบทอาขยาน ระดับชั้น
ป.๔ - ป.๖ งานสานฝันพัฒนาคุณภาพนักเรียน สพป.ตรังเขต ๒ ครั้งที่ ๑๗
สพป.ตรังเขต ๒
เด็กหญิงศรวลักษณ์ มาจุรินทร์
เด็กหญิงภคมล ทองจิตต์
ระดับเขตพื้นที่ฯ
รางวัลเหรียญทอง กิจกรรมการแข่งขันต่อคำศัพท์ไทย (ไทยเดิม) ระดับชั้น ป.๔ - ป.๖ งานสานฝันพัฒนาคุณภาพนักเรียน สพป.ตรังเขต ๒ ครั้งที่ ๑๗
สพป.ตรังเขต ๒
เด็กหญิงปิ่นณดา จอมศรี
เด็กหญิงฝนทิพย์ สุขใส
เด็กหญิงสุวภัทร นิลรัตน์
ระดับเขตพื้นที่ฯ
ครูผู้สอนนักเรียน รางวัลเหรียญทองกิจกรรมการแข่งขันทำอาหารคาวหวานเพื่อสุขภาพ ระดับชั้น ป.๔ - ป.๖ งานสานฝันพัฒนาคุณภาพนักเรียน สพป.ตรังเขต ๒ ครั้งที่ ๑๗
สพป.ตรังเขต ๒
 
 
 
ประเภท
ระดับรางวัล
ชื่อรางวัล
หน่วยงานที่มอบรางวัล
นักเรียน
เด็กชายจักรพงษ์   ศรีหนู
เด็กชายฐิติโชติ รอดกูล
 
ระดับเขตพื้นที่ฯ
รางวัลเหรียญทองกิจกรรมการแข่งขันการสร้างสรรค์ภาพด้วยการปะติด ระดับชั้น
ป.๔ - ป.๖ งานสานฝันพัฒนาคุณภาพนักเรียน สพป.ตรังเขต ๒ ครั้งที่ ๑๗
สพป.ตรังเขต ๒
เด็กหญิงมริษฎา สุขรักษา
เด็กหญิงกัลยรัตน์ ศรีหนู
เด็กหญิงลลิตวดี ถาวรมงคล
เด็กหญิงชุติมณฑน์ ฮึ้งฮก
เด็กหญิงปวิชญาดา วินฉ้วน
ระดับเขตพื้นที่ฯ
รางวัลเหรียญทองแดงกิจกรรมการแข่งขันการแสดงตลก ระดับชั้น ป.๑ - ม.๓ งานสานฝันพัฒนาคุณภาพนักเรียน สพป.ตรังเขต ๒ ครั้งที่ ๑๗
สพป.ตรังเขต ๒
เด็กหญิงสิริวิมล รอดกูล
เด็กชายธนันชนัย กวินนันทวงศ์
ระดับเขตพื้นที่ฯ
 รางวัลเหรียญทองแดงกิจกรรมการแข่งขันสร้างสรรค์ผลงานทางคณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม GSP ระดับชั้น ป.๔ - ป.๖ งานสานฝันพัฒนาคุณภาพนักเรียน สพป.ตรังเขต ๒ ครั้งที่ ๑๗
สพป.ตรังเขต ๒
เด็กหญิงอภิสรา ธนะภพ
ระดับเขตพื้นที่ฯ
รางวัลชมเชย กิจกรรมการแข่งขันคิดเลขเร็ว ระดับชั้น ป.๑ - ป.๓ งานสานฝันพัฒนาคุณภาพนักเรียน สพป.ตรังเขต ๒ 
ครั้งที่ ๑๗
สพป.ตรังเขต ๒
 
 
 
 
 

 



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     โครงการ "สุขาดี มีความสุข" 10 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566 2 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2566 1 มิ.ย. 2567
     การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 29 พ.ค. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566 25 พ.ค. 2567


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.