[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : การจัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖๖
ผู้เขียน : โรงเรียนวัดเขาพระ
วันที่   13   พฤษภาคม   2567
เข้าชม : 90
Bookmark and Share


  

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

 

 

               โรงเรียนวัดเขาพระตั้งอยู่เลขที่ ๒๔  หมู่ที่ ๔   ตำบลคลองปาง  อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง  รหัสไปรษณีย์ ๙๒๑๖๐  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต ๒ เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ๒ ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๓

              ปีการศึกษา ๒๕๖๖  มีครูจำนวน ๑๔  คน ครูประจำการ  ๑๔  คน ( ไม่นับรวมกับผู้บริหาร) มีนักเรียนทั้งหมด ๑07 คน ระดับชั้นอนุบาล จำนวน  ๑2 คน  ระดับประถมศึกษา จำนวน  ๖3  คนและระดับมัธยมศึกษา  จำนวน 32 คน  ได้ดำเนินการประเมินตนเองตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามระบบประกันคุณภาพภายในทางการศึกษาตามมาตรฐานของสถานศึกษา ซึ่งได้ กำหนดมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย แบ่งเป็น ๓ มาตรฐาน และ มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งเป็น ๓ มาตรฐาน ได้แก่ คุณภาพของผู้เรียน กระบวนการบริหารและการจัดการ และกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งสรุปผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ดังนี้

 

๑. ระดับการศึกษาปฐมวัย                             ระดับคุณภาพ : ยอดเยี่ยม

 

มาตรฐานที่ ๑  คุณภาพของเด็ก                                  ระดับคุณภาพ : ยอดเยี่ยม

          มาตรฐานที่ ๒  กระบวนการบริหารและการจัดการ            ระดับคุณภาพ : ยอดเยี่ยม

          มาตรฐานที่ ๓  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ      ระดับคุณภาพ : ยอดเยี่ยม

 

๒. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน                        ระดับคุณภาพ : ยอดเยี่ยม

 

          มาตรฐานที่ ๑  คุณภาพของผู้เรียน                              ระดับคุณภาพ : ดีเลิศ

          มาตรฐานที่ ๒  กระบวนการบริหารและการจัดการ            ระดับคุณภาพ : ยอดเยี่ยม

          มาตรฐานที่ ๓  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 

                            ระดับคุณภาพ : ยอดเยี่ยม

         

จากการประเมินตนเองตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย แบ่งเป็น ๓ มาตรฐาน และ มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งเป็น ๓ มาตรฐาน ได้แก่ คุณภาพของผู้เรียน กระบวนการบริหารและการจัดการ และกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งสรุปผล การประเมินตนเองของสถานศึกษา  มีกระบวนการพัฒนา ผลการพัฒนา จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา แนวทาง     การพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับ  ให้สูงขึ้น ซึ่งจะนำเสนอเป็นภาพรวมของแต่ละระดับการศึกษา ดังนี้

๑. ระดับการศึกษาปฐมวัย

           กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนดำเนินการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาการคุณภาพของเด็ก โดยได้จัดทำโครงการพัฒนาปฐมวัยให้มีพัฒนาการสมวัย จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย โครงการอาหารกลางวันและอาหารเสริมนม กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอนามัยและสุขนิสัยที่ดี โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ อบรมคุณธรรม จริยธรรม ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมที่ยั่งยืน ให้เป็นตามหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ และบริบทของท้องถิ่น ซึ่งการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยเปิดโอกาสให้ครู เด็ก ผู้ปกครอง  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ครูออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ เช่น การเรียนรู้ผ่านการเล่น    การปฏิบัติจริง  โครงงาน การทดลอง  จัดครูที่มีวุฒิทางการศึกษาสาขาวิชาเอกการศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ จัดสภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ภายในให้มีความหลากหลาย ปลอดภัย สื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้และเพียงพอ จัดหาคอมพิวเตอร์ สื่อเทคโนโลยีที่สนับสนุนการจัดประสบการณ์ 

          ผลการพัฒนา

          1. เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว   มีสุขนิสัยที่ดีในการดูแลสุขภาพ  ดูแลความปลอดภัยของตนเองได้   พัฒนาการด้านอารมณ์         เด็กสามารถควบคุมการแสดงออกทางด้านอารมณ์และความรู้สึกได้  รู้จักรอคอย  กล้าแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ มีสุนทรียภาพทางด้านดนตรี ศิลปะและกีฬา พัฒนาการทางด้านสังคม เด็กอยู่ร่วมและทำกิจกรรมกับเพื่อนได้อย่างมีความสุข

          2. โรงเรียนมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย      ที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ บริบทของท้องถิ่นและนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด ครูผู้สอนสำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาเอกการศึกษาปฐมวัยโดยตรง และได้รับการพัฒนาในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ นำความรู้ที่ได้รับมาพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่สะอาด ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก มีสื่อและเทคโนโลยีที่สนับสนุนการจัดประสบการณ์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

          3. ครูรู้จักเด็กเป็นรายบุคคล มีการจัดกิจกรรมที่สร้างโอกาสให้เด็กทุกคนได้รับประสบการณ์ตรงจริง จัดบรรยากาศภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ครูประเมินผลพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย      

จุดเด่น  

1. เด็กมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย เรียนรู้จากการเรียนปนเล่นและลงมือปฏิบัติจริง        อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข  กล้าคิด กล้าแสดงออก รู้จักป้องกันตนเองจากภัยอันตราย โรคติดต่อ และภาวะคุกคามต่างได้เหมาะสม ตามวัย

2. โรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการที่มีคุณภาพเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ผู้บริหาร ให้คำแนะนำ คำปรึกษาทางวิชาการและเอาใจใส่   การจัดการศึกษา  มีการกระจายอำนาจการบริหารงานให้แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น เด็ก ผู้ปกครองและชุมชน

           3. โรงเรียนมีครูที่สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาเอกการศึกษาปฐมวัยโดยตรง ครบชั้นเรียน ปฏิบัติหน้าที่จัดประสบการณ์การเรียนรู้ ระดับชั้นอนุบาล ๒ - อนุบาล ๓

จุดที่ควรพัฒนา

1.   การจัดประสบการณ์ให้เด็กมีพัฒนาการทักษะ การอ่าน การสื่อสาร   การคิดอย่างมีเหตุ มีผล และมีจิตสาธารณะในการช่วยเหลือผู้อื่นมากยิ่งขึ้น

           2. การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุล ส่งเสริมทักษะ   การมีระเบียบวินัย การรักษาความสะอาด และการเสริมสร้างพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

          1. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมกลุ่ม โครงงาน กิจกรรมทักษะทาง               ด้านวิทยาศาสตร์ การทดลอง การใช้คำถาม เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ฝึกกระบวนการคิด

          2. จัดกิจกรรมพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของโรงเรียน ครูผู้สอนพัฒนาตนเองนำทักษะใหม่ ๆ พัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย  

          3. ผู้บริหารนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูอย่างสม่ำเสมอ จัดกิจกรรมห้องเรียนแห่งความสุข โดยเน้นมุมต่างๆในห้องเรียนที่หลากหลาย

          ๔. ร่วมพลังเครือข่ายศูนย์ปฐมวัย เอการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสถานศึกษาต่างๆ ในการปฏิรูปการเรียนรู้ และก้าวเดินไปด้วยกันอย่างภาคภูมิใจบนพื้นฐานของความสำเร็จร่วมกัน

          ๒. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระบวนการพัฒนา

          1. โรงเรียนวัดเขาพระ มีการพัฒนาการอ่าน การเขียน ภาษาไทย ดำเนินการจัดทำแผน  การซ่อมเสริมให้กับนักเรียนที่มีปัญหาการอ่าน การเขียนภาษาไทย มีการวิเคราะห์ปัญหาจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในปีที่ผ่านมา ศึกษามาตรฐานตัวชี้วัด ในแต่ละวิชาจัดทำแผนยกระดับผลสัมฤทธิ์ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัด

2. โรงเรียนจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน    มีผลสัมฤทธิ์ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด เช่น การสอนซ่อมเสริม การจัดสอนติวเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ รวมถึงมีการวัดและการประเมินผลของรายวิชาต่าง ๆ ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

3. โรงเรียนวัดเขาพระดำเนิน กิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรม คุณลักษณะและค่านิยมที่ดี      เพื่อสร้างวินัยให้นักเรียน  เพื่อให้นักเรียนตระหนักรู้ถึงการสร้างจิตสำนึก ให้มีคุณธรรม จริยธรรม   ให้เป็นไปตามแนวทาง  ๒๙  ประการสู่ความเป็นโรงเรียนวิถีพุทธ  คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และ ค่านิยมหลักคนไทย ๑๒  ประการ และให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยดำเนินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรม  ที่ยั่งยืน

4. โรงเรียนวัดเขาพระ ได้จัดกิจกรรมอนามัยโรงเรียน มีครูรับผิดชอบ ครูคอยดูแลกำกับนักเรียนในเรื่องของสุขภาพร่างกาย จิตใจ การแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน  ส่งเสริมสุขภาพนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนทุกคนมีสุขภาพสมบูรณ์  แข็งแรง  พร้อมทั้งด้านร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์  และสังคม โรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นความปลอดภัยให้นักเรียน      มีการทำประกันอุบัติเหตุให้นักเรียน โรงเรียนได้ให้ครูประจำชั้น ครูที่ปรึกษาออกเยี่ยมบ้านนักเรียนทุกคนเพื่อทราบปัญหาต่างๆของนักเรียนทุกคน

5. โรงเรียนได้จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้                    มีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคม   ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและมีความปลอดภัย บริเวณโรงเรียนจัดสภาพบริเวณโรงเรียนสะอาดเป็นระเบียบ

          6. โรงเรียนวัดเขาพระ มีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน จัดให้มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม มีการพัฒนาสื่อนวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งการเรียนรู้ทางการศึกษา เพื่อพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยี และแหล่งการเรียนรู้ตรงตามที่หลักสูตรกำหนด

ผลการพัฒนา 

๑. ผลการดำเนินงานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ทำให้นักเรียน      มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระเป็นไปตามที่สถานศึกษากำหนด

๒. ผลการดำเนินงานกิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทำให้นักเรียนสามารถอ่าน เขียน ผ่านเกณฑ์การประเมินแต่ละระดับชั้น ทำให้มีผลการอ่าน การเขียน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา  ปีที่ ๑ อยู่ในระดับ ดีมาก โดยมีรายละเอียด ดังนี้ มีผลการอ่านออกเสียง ร้อยละ ๘5.11 และผลการอ่านรู้เรื่อง ร้อยละ ๘2.44 รวม ๒ สมรรถนะเฉลี่ยร้อยละ ๘3.77

๓. จากที่โรงเรียนวัดเขาพระได้จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความสามารถในการวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียน และนอกห้องเรียน มีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ทำให้มีผล      การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน โดยแยกเป็นระดับชั้น ดังนี้ ผลการประเมินการอ่าน    คิดวิเคราะห์ และเขียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๓ อยู่ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 77.78    ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖  อยู่ในระดับดี  ขึ้นไป ร้อยละ 95.83 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓     อยู่ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 92.00

๔. ผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมสุขภาวะทางร่างกายของโรงเรียนวัดเขาพระ ทำให้นักเรียนมีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรง สมบูรณ์ และมีสุขภาพในช่องปากอยู่ในระดับดี ร้อยละ 95.29            

จุดเด่น  

๑. ผู้เรียนสามารถอ่านออกและอ่าน คล่อง ตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้น สามารถเขียนสื่อสารได้ รู้จักการวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตย            กล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์ได้อย่างสร้างสรรค์ สืบค้นข้อมูลหรือแสวงหาความรู้จากสื่อ เทคโนโลยีได้ ด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ จำแนกแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนดี สำคัญ จำเป็น รวมทั้งรู้เท่าทันสื่อและสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

 ๒. โรงเรียนวัดเขาพระ มีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ โรงเรียนใช้เทคนิค    การประชุมที่หลากหลายวิธี เช่น การประชุมแบบมีส่วนร่วม การประชุมระดมสมอง การประชุมกลุ่ม เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ที่ชัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนาและนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตามหลักสูตรโรงเรียนวัดเขาพระ 

๓. ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล การดำเนินงาน และการจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา และโรงเรียนได้ใช้กระบวนการวิจัยในการรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

จุดที่ควรพัฒนา

๑. ผู้เรียนในระดับชั้น ป.๑ - ป.๖ ยังต้องเร่งพัฒนาด้านการเรียนรายวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ การนำเสนอ การอภิปราย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสมเหตุสมผล และต้องพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาตามสถานการณ์อย่างเหมาะสม  ผู้เรียนในระดับชั้น  ม.๑ - ม.๓ ยังต้องได้รับ   การส่งเสริมในด้านทัศนคติที่ดี ต่อความเป็นไทย ไม่หลงใหลกับค่านิยมต่างชาติ  ทำให้ลืมวัฒนธรรม     อันดีงามของไทย

๒. เปิดให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้            มีความเข้มแข็งมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา

          ๓. สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้      มีความเข้มแข็งมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา

           ๔. ครูควรส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ตนเอง กำหนดเนื้อหาและกิจกรรม     ที่สอดคล้องกับตามต้องการ ตามความถนัดรายบุคคลให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากขึ้น

๕. ครูควรปรับปรุงจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนรู้สึกอยากมีส่วนร่วมและมีความสุขในการทำกิจกรรม

๖. ครูนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

๑.   โรงเรียนควรจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิด ตามมาตรฐาน การเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา มีแผนการจัด การเรียนรู้ที่สามารถนำไปจัดกิจกรรมได้จริง สร้างนวัตกรรมในการจัด  การเรียนรู้ และมีการเผยแพร่

 ๒. จัดให้มีชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพระหว่างครูและผู้เกี่ยวข้อง และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

 ๓. จัดกระบวนการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เอื้อต่อการเรียนรู้  โดยสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

๔. ผู้บริหารมีความเป็นผู้นำบริหารจัดการด้านการศึกษาบรรลุเป้าหมาย ตามวิสัยทัศน์ ปรัชญาและจุดเน้นที่กำหนดในแผนปฏิบัติการ ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมและให้บริการแก่ชุมชน จนเป็นที่ยอมรับจากผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

๕. โรงเรียนจัดทำโครงการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพตรงตามความต้องการของครูและสถานศึกษา

๖. โรงเรียนจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและมีความปลอดภัย กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้ ตามโครงการปรับปรุงพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม

 
 

 

 

 

 

 

(นายกิตติศักดิ์  ชุมใหม่)

ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดเขาพระ

 



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     โครงการ "สุขาดี มีความสุข" 10 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566 2 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2566 1 มิ.ย. 2567
     การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 29 พ.ค. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566 25 พ.ค. 2567


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.