บทสรุปของผู้บริหาร
ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
โรงเรียนวัดห้วยนาง (วันครู 2501 ) ตั้งอยู่ เลขที่ 50 หมู่ที่ 6 ตำบลห้วยนาง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92130 โทรศัพท์ 075-294080
e-mail : 1092140115@pracharath.ac.th สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรังเขต 2
ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นายศรชัย สุขเจริญ เบอร์โทรศัพท์ 085 - 2263005 มีบุคลากรทั้งสิ้น 22 คน จำแนกเป็นผู้บริหาร 1 คน ข้าราชการครู 13 คน ธุรการ 1 คน ลูกจ้างตำแหน่งอื่น ๆ 6 คน เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวนนักเรียน รวม 262 คน
ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
๑. ระดับการศึกษาปฐมวัย
1.1 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
1.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
1.3 มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา โรงเรียนมีกระบวนการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพของเด็ก โดยการจัดโครงการ กิจกรรมต่าง ๆ เช่น โครงการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน มีการจัดกิจกรรมสุขภาพดีมีสุขเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายให้กับเด็ก จัดกิจกรรมนมดีมีประโยชน์ มีการควบคุมดูแลให้เด็กดื่มนมเป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง 3 เดือนต่อครั้ง เพื่อสังเกตการเจริญเติบโต หากเด็กมีน้ำหนักหรือส่วนสูงไม่ได้ตามเกณฑ์ ทางโรงเรียนแนะนำให้ผู้ปกครองจัดอาหารเพิ่มเติมให้กับเด็กหากเด็กมีน้ำหนักเกินจะลดปริมาณอาหารประเภทแป้ง เพิ่มผักและผลไม้ให้เด็กแทน กิจกรรมหนูน้อยสุขภาพดี กิจกรรมที่จัด ได้แก่ การล้างมือก่อนและหลังรับประทานอาหารและการใช้ห้องน้ำให้เด็กดื่มน้ำสะอาดด้วยแก้วน้ำของตนเอง หลังรับประทานอาหารแนะนำให้เด็กแปรงฟันทันที จัดกิจกรรมการร้องเพลงง่ายๆที่เหมาะสมกับวัย ฝึกการวาดภาพ ระบายสี เพื่อสร้างความสุนทรีย์ด้านอารมณ์ให้กับเด็ก กิจกรรมการเรียนการสอนหน่วยรู้ รอบปลอดภัย ให้เด็กได้เรียนรู้การดูแลตนเองจากคนแปลกหน้า การดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุต่าง ๆ ระมัดระวังตนเองในการเล่น ในสนามเด็กเล่น จัดกิจกรรมรณรงค์ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด เปิดวีดิโอให้เด็กดูเกี่ยวกับการป้องกันตนเองในการเล่นน้ำ วิธีการเอาตัวรอดจากการติดอยู่ในรถ สาธิตวิธี การข้ามถนนที่ถูกต้อง สาธิตการใช้หมวกกันน๊อค ในการนั่งรถจักรยานยนต์มาโรงเรียนหรือไปนอกบ้าน โครงการส่งเสริมและพัฒนาเด็กด้านสติปัญญา เช่น กิจกรรมหนูน้อยคนเก่ง กิจกรรมการเล่านิทาน กิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ มีโครงการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ จัดครูให้เหมาะสมกับภารกิจการเรียน การสอน โดยจัดครูที่จบการศึกษาปฐมวัยหรือผ่านการอบรมการศึกษาปฐมวัยอย่างพอเพียงกับชั้นเรียนมีครูครบทั้ง ๓ ห้อง โรงเรียนได้ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้าน การจัดประสบการณ์ โดยได้ปรับหน่วยการเรียนรู้และจัดทำแผนที่สอดคล้องกับสถานการณ์และวิธีการสอน โรงเรียนได้มีการปรับปรุง ซ่อมแซมอาคารเรียนและปรับปรุงสภาพแวดล้อม โรงเรียนได้อํานวยความสะดวก และให้บริการสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ วัสดุและอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์และพัฒนาครู จัดให้มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มีระบบอินเตอร์เน็ตครอบคลุมทุกพื้นที่ของโรงเรียน มีผู้บริหารที่เข้าใจถึงปรัชญาและหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ กิจกรรมที่เด็กได้เรียนรู้จากการลงมือทำ การสังเกต ทดลอง คิดแก้ปัญหา และหาคำตอบของเรื่องราวหรือปรากฎการณ์ต่าง ๆ ได้ตามวัยจากการสังเกต สิ่งรอบ ๆ ตัว
ผลการพัฒนา ด้านคุณภาพของเด็ก มีน้ำหนัก ส่วนสูง เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน เคลื่อนไหวคล่องแคล่ว ทรงตัวได้ดี รู้จักดูแลรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตนและปฏิบัติจนเป็นนิสัย ใช้มือและตาประสานสัมพันธ์ได้ดี หลีกเลี่ยงภาวะที่เสี่ยงต่อโรค และสารเสพติด รู้จักระวังภัยจากบุคคล สิ่งแวดล้อม และสถานการณ์เสี่ยงอันตราย ร่าเริง แจ่มใส แสดงอารมณ์ได้เหมาะสม รู้จักรอคอย ยอมรับ และพอใจ ในความสามารถของตนเองและผู้อื่น มีจิตสำนึกและค่านิยมที่ดี มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออกรู้จักช่วยเหลือแบ่งปัน เคารพสิทธิ รู้หน้าที่ความรับผิดชอบ อดทนอดกลั้น ซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรมจริยธรรมชื่นชมและมีความสุขกับศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว ผลการพัฒนาด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ โรงเรียนมีหลักสูตรที่มีความยืดหยุ่น สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย การจัดการเรียนรู้ตอบสนองความต้องการและความแตกต่างของเด็ก มีมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาระดับชาติ มีแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดรับมาตรฐานที่สถานศึกษากำหนดและดำเนินการตามแผน ชุมชนและผู้ปกครอง มีความพึงพอใจผลการปฏิบัติงาน ทำให้ผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ ผลการพัฒนาด้าน การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ครูมีแผนการจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จัดประสบการณ์ที่เชื่องโยงกับประสบการณ์เดิม ครูเปิดโอกาสให้เด็กเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระ ตามความต้องการ ความสนใจ มีการจัดประสบการณ์ตอบสนองการเรียนรู้เด็กเป็นรายบุคคล มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย เด็กได้เล่น เรียนรู้ ลงมือและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ครูปฐมวัยมีความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษามีทักษะในการจัดประสบการณ์และประเมินพัฒนาการ มีการสังเกตและประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับช่วงอายุ ระยะความสนใจ และการเรียนรู้ของเด็ก มีการประเมินพัฒนาการจากกิจกรรมและกิจวัตรประจำวันด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลายไม่ใช้แบบทดสอบ วิเคราะห์ผลและประเมินพัฒนาการเด็กโดยผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง นำผลการประเมินไปพัฒนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพเด็ก
จุดเด่น เด็กมีน้ำหนัก-ส่วนสูง ตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขมีร่างกายสมส่วนเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว มีสุขภาพแข็งแรง มีพัฒนาการด้านอารมณ์- จิตใจดี เรียนรู้อย่างมีความสุข สุขภาพจิตดี มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น ร่วมกิจกรรมด้วยความสุข ด้านสังคม มีวินัย มีความรับผิดชอบ รู้จักช่วยเหลือตนเองได้ตามวัย ประพฤติตนตามวัฒนธรรมไทยได้เหมาะสมกับวัย โรงเรียนมีระบบการบริหารและการจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย มีหลักสูตรสถานศึกษาฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566 ตามหลักสูตรปฐมวัย 256๐ ที่มีครู พ่อ แม่ ผู้ปกครองและชุมชน มีส่วนร่วม เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนมีครูผู้สอน ที่มีวุฒิ/ความรู้และประสบการณ์ด้านการดูแลเด็กปฐมวัย มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ เข้าใจในพฤติกรรมและธรรมชาติของเด็ก ห้องเรียนมีพื้นที่เพียงพอในการจัดกิจกรรม มีบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุข
จุดที่ควรพัฒนา การออกแบบกิจกรรมด้านทักษะทางด้านภาษา การคิดรวบยอดทักษะทางด้านการใช้ภาษาในการสื่อสาร การเตรียมความพร้อมด้านการอ่าน เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนระดับที่สูงขึ้น การพัฒนากระบวนการสอนที่เน้นทักษะการคิด จัดทำแผนการการช่วยเหลือ นักเรียนที่มีพัฒนาการค่อนข้างช้าในด้านสติปัญญา กำหนดแผนการพัฒนาครูอย่างชัดเจน ส่งเสริมให้ใช้กระบวนการ PLC ในการแก้ไขปัญหาผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ส่งเสริมการใช้สื่อเทคโนโลยี ใช้วิธีการสอน การประเมินที่หลากหลาย จัดให้มีมุมประสบการณ์ที่เหมาะสมกับจำนวนเด็ก พัฒนาตนเองให้รอบด้านเพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน จัดหาสื่อการเรียนการสอนให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพ ระดมทรัพยากรเพื่อสร้างสนามเด็กเล่นให้มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและเพียงพอกับจำนวนนักเรียน จัดอบรมและให้ความรู้ผู้ปกครองเพื่อรองรับ การจัดการศึกษาที่เปลี่ยนไป พัฒนาปรับปรุงเครื่องเล่นสนามให้สวยงาม มีเครื่องเล่นที่หลากหลาย จัดหาสื่อเทคโนโลยีให้เพียงพอต่อจำนวนผู้เรียน ส่งเสริมการทำกิจกรรมทั้งกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อยและจัดหาสื่อการสอนมาให้เพียงพอเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น จัดกิจกรรมอบรมผู้ปกครองในการดูแลเด็กให้สอดคล้องกับวัยและพัฒนาการบูรณาการทักษะชีวิต อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองในการดูแลความปลอดภัยนักเรียน จัดกิจกรรมบูรณาการทักษะชีวิตให้กับนักเรียน จัดให้ครูศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดการเรียนการสอนเพื่อเชื่อมต่อการเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
จัดทำนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่านเพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนในระดับที่สูงขึ้น จัดกิจกรรม บูรณากาการทักษะอาชีพในท้องถิ่น นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาให้ความรู้เด็กด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น กำกับ ติดตาม การดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เด็กมีผู้ดูแลอย่างทั่วถึงและเหมาะสม ปรับสภาพแวดล้อมให้มีแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมมีเครื่องเล่นมากยิ่งขึ้น พัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนและสภาพแวดล้อมทางสังคม ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ และมีความปลอดภัย จัดสอนคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กเพื่อให้ก้าวทันสื่อและมีคอมพิวเตอร์ประจำห้องเรียนพร้อมจอทีวีอย่างน้อย 1 เครื่องต่อห้อง สร้างความตระหนักให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการเตรียมความพร้อมเด็กปฐมวัยอย่างถูกต้อง ประเมินพัฒนาการเด็กผ่านความร่วมมือระหว่างเครือข่ายผู้ปกครองร่วมกับครูประจำชั้น
2. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผลการประเมิน
อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนา โรงเรียนวัดห้วยนาง (วันครู ๒๕๐๑) มีโครงการที่พัฒนาคุณภาพผู้เรียน เช่นโครงการส่งเสริมการอ่านและการใช้ห้องสมุด โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โครงการส่งเสริม การแข่งขันทักษะทางวิชาการ จัดค่ายวิชาการ โครงการส่งเสริมคุณธรรม กิจกรรมวันสำคัญ จัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม โดยความร่วมมือกับมูลนิธิยุวพัฒน์ การจัดอบรมคุณธรรมกับนักเรียนทุกระดับชั้นโดยนำโครงงานมาบูรณาการเป็น ๑ ห้องเรียน ๑ โครงงานคุณธรรม ได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาเพื่อกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจของโรงเรียนอย่างชัดเจน ในดำเนินการพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิชาชีพตามความต้องการของครูและสถานศึกษา จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
ผลการพัฒนา ผู้เรียนอ่านออกและอ่านคล่อง ตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้น สามารถเขียนสื่อสารได้ดี มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับที่สูงกว่าค่าเป้าหมาย ผู้เรียนรู้จักการวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตย มีความมั่นใจ กล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็น หรือวิพากษ์ได้อย่างมีทักษะชีวิต ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด โรงเรียนมีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน มีระบบบริหารจัดการที่มีคุณภาพ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ครูได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ตามมาตรฐานตำแหน่ง สามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการวัดและประเมินผลที่หลากหลายตามสภาพจริง
จุดเด่น โรงเรียนมีผลงานโดดเด่นในกลุ่มสาระภาษาไทย วิทยาศาสตร์ ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) รางวัลเหรียญทองชนะเลิศระดับเขต และได้รับรางวัลเหรียญทองกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ (สาระคอมพิวเตอร์) สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ศิลปะ (สาระดนตรี) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในงานสานฝันพัฒนาคุณภาพนักเรียน ครั้งที่ 17 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 มีโครงงานคุณธรรม ๑ ห้องเรียน ๑ โครงงาน เป็นกิจกรรมเด่นที่ได้รับการดูแล ช่วยเหลือจากมูลนิยุวพัฒน์ มีนิเทศน์อาสามาติดตามผล ให้คำแนะนำทุกภาคเรียน ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจในการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สามารถประยุกต์ใช้กับ การจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้และใช้ในกระบวนบริหารและการจัดการของสถานศึกษา ครูมีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ส่งผลให้ผู้เรียนมีความสุขกับการเรียน รักการเรียนและอยากเรียน อยากรู้มากยิ่งขึ้น โรงเรียนร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการจัดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถและความถนัดของผู้เรียน
จุดที่ควรพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสาร ควรได้รับการปรับปรุง และร่วมกันหาแนวทางเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น มีการสอนซ่อมเสริมนักเรียนอย่างสม่ำเสมอเรื่องการจัดให้มีวัสดุอุปกรณ์ สื่อเทคโนโลยี ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการ เรียนรู้อย่างรอบด้าน และมีการนิเทศ ติดตาม ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ส่งเสริมให้ครูได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ PLC กันมากขึ้น เพื่อพัฒนางาน ส่งเสริมให้ครูมีเครื่องมือในการวัดผลตรงตามสภาพจริง อิงตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดและให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนทันที เพื่อให้ผู้เรียนนำไปใช้พัฒนาตนเอง ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูใช้กระบวนการวิจัยมาจัดการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น โรงเรียนควรจัดกิจกรรมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เช่น จัดค่ายวิชาการ และควรเน้นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ควรนำกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของครู มาใช้เพื่อแก้ปัญหา และยกระดับผลสัมฤทธิ์อย่างจริงจังครูผู้สอนควรส่งเสริมโดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่ม ในการเรียนรู้และพัฒนาผลงานของนักเรียน ให้นักเรียนได้มีโอกาสอภิปราย แลกเปลี่ยน ความคิดเห็น ฝึกพูดนำเสนองานของตัวเองหน้าชั้นเรียนทุกครั้ง หรือนำเสนอผลงานบนเวทีระดับโรงเรียน ส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาให้มากขึ้น
(นายศรชัย สุขเจริญ)
ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดห้วยนาง (วันครู ๒๕๐๑)บทสรุปของผู้บริหาร
ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
โรงเรียนวัดห้วยนาง (วันครู 2501 ) ตั้งอยู่ เลขที่ 50 หมู่ที่ 6 ตำบลห้วยนาง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92130 โทรศัพท์ 075-294080
e-mail : 1092140115@pracharath.ac.th สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรังเขต 2
ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นายศรชัย สุขเจริญ เบอร์โทรศัพท์ 085 - 2263005 มีบุคลากรทั้งสิ้น 22 คน จำแนกเป็นผู้บริหาร 1 คน ข้าราชการครู 13 คน ธุรการ 1 คน ลูกจ้างตำแหน่งอื่น ๆ 6 คน เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวนนักเรียน รวม 262 คน
ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
๑. ระดับการศึกษาปฐมวัย
1.1 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
1.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
1.3 มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา โรงเรียนมีกระบวนการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพของเด็ก โดยการจัดโครงการ กิจกรรมต่าง ๆ เช่น โครงการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน มีการจัดกิจกรรมสุขภาพดีมีสุขเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายให้กับเด็ก จัดกิจกรรมนมดีมีประโยชน์ มีการควบคุมดูแลให้เด็กดื่มนมเป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง 3 เดือนต่อครั้ง เพื่อสังเกตการเจริญเติบโต หากเด็กมีน้ำหนักหรือส่วนสูงไม่ได้ตามเกณฑ์ ทางโรงเรียนแนะนำให้ผู้ปกครองจัดอาหารเพิ่มเติมให้กับเด็กหากเด็กมีน้ำหนักเกินจะลดปริมาณอาหารประเภทแป้ง เพิ่มผักและผลไม้ให้เด็กแทน กิจกรรมหนูน้อยสุขภาพดี กิจกรรมที่จัด ได้แก่ การล้างมือก่อนและหลังรับประทานอาหารและการใช้ห้องน้ำให้เด็กดื่มน้ำสะอาดด้วยแก้วน้ำของตนเอง หลังรับประทานอาหารแนะนำให้เด็กแปรงฟันทันที จัดกิจกรรมการร้องเพลงง่ายๆที่เหมาะสมกับวัย ฝึกการวาดภาพ ระบายสี เพื่อสร้างความสุนทรีย์ด้านอารมณ์ให้กับเด็ก กิจกรรมการเรียนการสอนหน่วยรู้ รอบปลอดภัย ให้เด็กได้เรียนรู้การดูแลตนเองจากคนแปลกหน้า การดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุต่าง ๆ ระมัดระวังตนเองในการเล่น ในสนามเด็กเล่น จัดกิจกรรมรณรงค์ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด เปิดวีดิโอให้เด็กดูเกี่ยวกับการป้องกันตนเองในการเล่นน้ำ วิธีการเอาตัวรอดจากการติดอยู่ในรถ สาธิตวิธี การข้ามถนนที่ถูกต้อง สาธิตการใช้หมวกกันน๊อค ในการนั่งรถจักรยานยนต์มาโรงเรียนหรือไปนอกบ้าน โครงการส่งเสริมและพัฒนาเด็กด้านสติปัญญา เช่น กิจกรรมหนูน้อยคนเก่ง กิจกรรมการเล่านิทาน กิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ มีโครงการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ จัดครูให้เหมาะสมกับภารกิจการเรียน การสอน โดยจัดครูที่จบการศึกษาปฐมวัยหรือผ่านการอบรมการศึกษาปฐมวัยอย่างพอเพียงกับชั้นเรียนมีครูครบทั้ง ๓ ห้อง โรงเรียนได้ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้าน การจัดประสบการณ์ โดยได้ปรับหน่วยการเรียนรู้และจัดทำแผนที่สอดคล้องกับสถานการณ์และวิธีการสอน โรงเรียนได้มีการปรับปรุง ซ่อมแซมอาคารเรียนและปรับปรุงสภาพแวดล้อม โรงเรียนได้อํานวยความสะดวก และให้บริการสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ วัสดุและอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์และพัฒนาครู จัดให้มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มีระบบอินเตอร์เน็ตครอบคลุมทุกพื้นที่ของโรงเรียน มีผู้บริหารที่เข้าใจถึงปรัชญาและหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ กิจกรรมที่เด็กได้เรียนรู้จากการลงมือทำ การสังเกต ทดลอง คิดแก้ปัญหา และหาคำตอบของเรื่องราวหรือปรากฎการณ์ต่าง ๆ ได้ตามวัยจากการสังเกต สิ่งรอบ ๆ ตัว
ผลการพัฒนา ด้านคุณภาพของเด็ก มีน้ำหนัก ส่วนสูง เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน เคลื่อนไหวคล่องแคล่ว ทรงตัวได้ดี รู้จักดูแลรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตนและปฏิบัติจนเป็นนิสัย ใช้มือและตาประสานสัมพันธ์ได้ดี หลีกเลี่ยงภาวะที่เสี่ยงต่อโรค และสารเสพติด รู้จักระวังภัยจากบุคคล สิ่งแวดล้อม และสถานการณ์เสี่ยงอันตราย ร่าเริง แจ่มใส แสดงอารมณ์ได้เหมาะสม รู้จักรอคอย ยอมรับ และพอใจ ในความสามารถของตนเองและผู้อื่น มีจิตสำนึกและค่านิยมที่ดี มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออกรู้จักช่วยเหลือแบ่งปัน เคารพสิทธิ รู้หน้าที่ความรับผิดชอบ อดทนอดกลั้น ซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรมจริยธรรมชื่นชมและมีความสุขกับศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว ผลการพัฒนาด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ โรงเรียนมีหลักสูตรที่มีความยืดหยุ่น สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย การจัดการเรียนรู้ตอบสนองความต้องการและความแตกต่างของเด็ก มีมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาระดับชาติ มีแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดรับมาตรฐานที่สถานศึกษากำหนดและดำเนินการตามแผน ชุมชนและผู้ปกครอง มีความพึงพอใจผลการปฏิบัติงาน ทำให้ผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ ผลการพัฒนาด้าน การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ครูมีแผนการจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จัดประสบการณ์ที่เชื่องโยงกับประสบการณ์เดิม ครูเปิดโอกาสให้เด็กเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระ ตามความต้องการ ความสนใจ มีการจัดประสบการณ์ตอบสนองการเรียนรู้เด็กเป็นรายบุคคล มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย เด็กได้เล่น เรียนรู้ ลงมือและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ครูปฐมวัยมีความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษามีทักษะในการจัดประสบการณ์และประเมินพัฒนาการ มีการสังเกตและประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับช่วงอายุ ระยะความสนใจ และการเรียนรู้ของเด็ก มีการประเมินพัฒนาการจากกิจกรรมและกิจวัตรประจำวันด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลายไม่ใช้แบบทดสอบ วิเคราะห์ผลและประเมินพัฒนาการเด็กโดยผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง นำผลการประเมินไปพัฒนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพเด็ก
จุดเด่น เด็กมีน้ำหนัก-ส่วนสูง ตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขมีร่างกายสมส่วนเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว มีสุขภาพแข็งแรง มีพัฒนาการด้านอารมณ์- จิตใจดี เรียนรู้อย่างมีความสุข สุขภาพจิตดี มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น ร่วมกิจกรรมด้วยความสุข ด้านสังคม มีวินัย มีความรับผิดชอบ รู้จักช่วยเหลือตนเองได้ตามวัย ประพฤติตนตามวัฒนธรรมไทยได้เหมาะสมกับวัย โรงเรียนมีระบบการบริหารและการจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย มีหลักสูตรสถานศึกษาฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566 ตามหลักสูตรปฐมวัย 256๐ ที่มีครู พ่อ แม่ ผู้ปกครองและชุมชน มีส่วนร่วม เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนมีครูผู้สอน ที่มีวุฒิ/ความรู้และประสบการณ์ด้านการดูแลเด็กปฐมวัย มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ เข้าใจในพฤติกรรมและธรรมชาติของเด็ก ห้องเรียนมีพื้นที่เพียงพอในการจัดกิจกรรม มีบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุข
จุดที่ควรพัฒนา การออกแบบกิจกรรมด้านทักษะทางด้านภาษา การคิดรวบยอดทักษะทางด้านการใช้ภาษาในการสื่อสาร การเตรียมความพร้อมด้านการอ่าน เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนระดับที่สูงขึ้น การพัฒนากระบวนการสอนที่เน้นทักษะการคิด จัดทำแผนการการช่วยเหลือ นักเรียนที่มีพัฒนาการค่อนข้างช้าในด้านสติปัญญา กำหนดแผนการพัฒนาครูอย่างชัดเจน ส่งเสริมให้ใช้กระบวนการ PLC ในการแก้ไขปัญหาผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ส่งเสริมการใช้สื่อเทคโนโลยี ใช้วิธีการสอน การประเมินที่หลากหลาย จัดให้มีมุมประสบการณ์ที่เหมาะสมกับจำนวนเด็ก พัฒนาตนเองให้รอบด้านเพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน จัดหาสื่อการเรียนการสอนให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพ ระดมทรัพยากรเพื่อสร้างสนามเด็กเล่นให้มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและเพียงพอกับจำนวนนักเรียน จัดอบรมและให้ความรู้ผู้ปกครองเพื่อรองรับ การจัดการศึกษาที่เปลี่ยนไป พัฒนาปรับปรุงเครื่องเล่นสนามให้สวยงาม มีเครื่องเล่นที่หลากหลาย จัดหาสื่อเทคโนโลยีให้เพียงพอต่อจำนวนผู้เรียน ส่งเสริมการทำกิจกรรมทั้งกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อยและจัดหาสื่อการสอนมาให้เพียงพอเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น จัดกิจกรรมอบรมผู้ปกครองในการดูแลเด็กให้สอดคล้องกับวัยและพัฒนาการบูรณาการทักษะชีวิต อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองในการดูแลความปลอดภัยนักเรียน จัดกิจกรรมบูรณาการทักษะชีวิตให้กับนักเรียน จัดให้ครูศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดการเรียนการสอนเพื่อเชื่อมต่อการเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
จัดทำนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่านเพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนในระดับที่สูงขึ้น จัดกิจกรรม บูรณากาการทักษะอาชีพในท้องถิ่น นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาให้ความรู้เด็กด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น กำกับ ติดตาม การดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เด็กมีผู้ดูแลอย่างทั่วถึงและเหมาะสม ปรับสภาพแวดล้อมให้มีแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมมีเครื่องเล่นมากยิ่งขึ้น พัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนและสภาพแวดล้อมทางสังคม ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ และมีความปลอดภัย จัดสอนคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กเพื่อให้ก้าวทันสื่อและมีคอมพิวเตอร์ประจำห้องเรียนพร้อมจอทีวีอย่างน้อย 1 เครื่องต่อห้อง สร้างความตระหนักให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการเตรียมความพร้อมเด็กปฐมวัยอย่างถูกต้อง ประเมินพัฒนาการเด็กผ่านความร่วมมือระหว่างเครือข่ายผู้ปกครองร่วมกับครูประจำชั้น
2. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผลการประเมิน
อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนา โรงเรียนวัดห้วยนาง (วันครู ๒๕๐๑) มีโครงการที่พัฒนาคุณภาพผู้เรียน เช่นโครงการส่งเสริมการอ่านและการใช้ห้องสมุด โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โครงการส่งเสริม การแข่งขันทักษะทางวิชาการ จัดค่ายวิชาการ โครงการส่งเสริมคุณธรรม กิจกรรมวันสำคัญ จัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม โดยความร่วมมือกับมูลนิธิยุวพัฒน์ การจัดอบรมคุณธรรมกับนักเรียนทุกระดับชั้นโดยนำโครงงานมาบูรณาการเป็น ๑ ห้องเรียน ๑ โครงงานคุณธรรม ได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาเพื่อกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจของโรงเรียนอย่างชัดเจน ในดำเนินการพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิชาชีพตามความต้องการของครูและสถานศึกษา จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
ผลการพัฒนา ผู้เรียนอ่านออกและอ่านคล่อง ตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้น สามารถเขียนสื่อสารได้ดี มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับที่สูงกว่าค่าเป้าหมาย ผู้เรียนรู้จักการวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตย มีความมั่นใจ กล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็น หรือวิพากษ์ได้อย่างมีทักษะชีวิต ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด โรงเรียนมีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน มีระบบบริหารจัดการที่มีคุณภาพ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ครูได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ตามมาตรฐานตำแหน่ง สามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการวัดและประเมินผลที่หลากหลายตามสภาพจริง
จุดเด่น โรงเรียนมีผลงานโดดเด่นในกลุ่มสาระภาษาไทย วิทยาศาสตร์ ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) รางวัลเหรียญทองชนะเลิศระดับเขต และได้รับรางวัลเหรียญทองกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ (สาระคอมพิวเตอร์) สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ศิลปะ (สาระดนตรี) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในงานสานฝันพัฒนาคุณภาพนักเรียน ครั้งที่ 17 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 มีโครงงานคุณธรรม ๑ ห้องเรียน ๑ โครงงาน เป็นกิจกรรมเด่นที่ได้รับการดูแล ช่วยเหลือจากมูลนิยุวพัฒน์ มีนิเทศน์อาสามาติดตามผล ให้คำแนะนำทุกภาคเรียน ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจในการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สามารถประยุกต์ใช้กับ การจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้และใช้ในกระบวนบริหารและการจัดการของสถานศึกษา ครูมีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ส่งผลให้ผู้เรียนมีความสุขกับการเรียน รักการเรียนและอยากเรียน อยากรู้มากยิ่งขึ้น โรงเรียนร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการจัดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถและความถนัดของผู้เรียน
จุดที่ควรพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสาร ควรได้รับการปรับปรุง และร่วมกันหาแนวทางเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น มีการสอนซ่อมเสริมนักเรียนอย่างสม่ำเสมอเรื่องการจัดให้มีวัสดุอุปกรณ์ สื่อเทคโนโลยี ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการ เรียนรู้อย่างรอบด้าน และมีการนิเทศ ติดตาม ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ส่งเสริมให้ครูได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ PLC กันมากขึ้น เพื่อพัฒนางาน ส่งเสริมให้ครูมีเครื่องมือในการวัดผลตรงตามสภาพจริง อิงตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดและให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนทันที เพื่อให้ผู้เรียนนำไปใช้พัฒนาตนเอง ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูใช้กระบวนการวิจัยมาจัดการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น โรงเรียนควรจัดกิจกรรมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เช่น จัดค่ายวิชาการ และควรเน้นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ควรนำกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของครู มาใช้เพื่อแก้ปัญหา และยกระดับผลสัมฤทธิ์อย่างจริงจังครูผู้สอนควรส่งเสริมโดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่ม ในการเรียนรู้และพัฒนาผลงานของนักเรียน ให้นักเรียนได้มีโอกาสอภิปราย แลกเปลี่ยน ความคิดเห็น ฝึกพูดนำเสนองานของตัวเองหน้าชั้นเรียนทุกครั้ง หรือนำเสนอผลงานบนเวทีระดับโรงเรียน ส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาให้มากขึ้น
(นายศรชัย สุขเจริญ)
ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดห้วยนาง (วันครู ๒๕๐๑)
|