[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566
ผู้เขียน : โรงเรียนวัดทุ่งใหญ่
วันที่   2   มิถุนายน   2567
เข้าชม : 77
Bookmark and Share


 

บทสรุปของผู้บริหาร

 

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 

ชื่อโรงเรียน โรงเรียนวัดทุ่งใหญ่ ที่อยู่ 222/2 หมู่ 3 ตำบลท่าสะบ้า อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง

ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นางธัญวรัตม์  ตั้งคีรี เบอร์โทรศัพท์ 0829757928

จำนวนครู 10 คน  จำแนกเป็น ข้าราชการครู  8 คน ครูอัตราจ้าง 2 คน จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 73 คน จำแนกเป็น ระดับก่อนประถมศึกษา 2 คน ระดับประถมศึกษา 52 คน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 13 คน

 

1.      ระดับการศึกษาปฐมวัย

1.1  มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของเด็ก                             มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

1.2  มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ        มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

1.3   มาตรฐานที่ 3  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

          โรงเรียนวัดทุ่งใหญ่ จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย มีนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 รวม 2 คน ครูผู้สอน 1 คน จัดทำรายงานการประเมินคุณภาพของตนเอง (SAR) ปีการศึกษา 2566 เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานอื่น ๆ ผลการประเมินตนเองในภาพรวม อยู่ในระดับ “ดีเลิศ”  มีผลการดำเนินงานดังต่อไปนี้

          คุณภาพของเด็ก อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

          เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนได้ คิดเป็นร้อยละ 100 โดยสถานศึกษามีกระบวนการส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายของเด็ก ครูประจำชั้นเป็นผู้ให้ความรู้กับเด็กในเรื่องของการรักษาสุขอนามัยและปลูกฝังสุขนิสัยที่ดีให้กับเด็ก รวมไปถึงการดูแลสุขภาพ ดูแล ความปลอดภัยตนเองของเด็ก     เด็กรู้จักปฏิบัติตนให้ปลอดภัย และหลีกเลี่ยงภาวะที่เสี่ยงต่อโรค สิ่งเสพติด และระวังภัยจากบุคคลภายนอกจากสถานการณ์ที่เสี่ยงอันตราย

          มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้ คิดเป็นร้อยละ 100 โดยจัดกิจกรรม       จิตรกรน้อยที่ส่งเสริมให้เด็กได้แสดงออกตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม สอดแทรก  ลงสู่แผนการจัดประสบการณ์ในแต่ละสัปดาห์เพื่อให้เด็กมีความนอบน้อมและความสุภาพปลูกฝังคุณธรรม 8 ประการ รวมทั้งค่านิยม 12 ประการ มีการจัดกิจกรรมที่ปลูกฝังให้เด็กรู้จักความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ มีการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ผ่านกิจวัตรประจำวัน

          มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม คิดเป็นร้อยละ 100 โดยฝึกให้เด็กรู้จัก  การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวัน มีความรับผิดชอบ รอคอยในการกระทำสิ่งต่าง ๆ รู้วิธีการดูแลรักษาสิ่งของเครื่องใช้ของตนเองและส่วนรวม ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา

          มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้มีทักษะการคิดพื้นฐานและแสวงหาความรู้ได้ คิดเป็นร้อยละ  100

ทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ สนใจเรียนรู้ด้วยตนเอง เกิดความคิดรวบยอดในสิ่งที่เรียนรู้มี            ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ผ่านกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ส่งเสริมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา รักการอ่าน กล้าซักถาม เพื่อค้นหาคำตอบ โดยครูอ่านนิทานให้ฟังและให้เด็กสรุปให้เพื่อนฟัง

          กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับ ดีเลิศ  โรงเรียนวัดทุ่งใหญ่หลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น ครูผู้สอนนำหลักสูตรไปใช้จัดกิจกรรม  การเรียนการสอนให้กับเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ ในรูปแบบแผนการจัดประสบการณ์ จัดสรรบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยโดยตรง ครูมี    ความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ จัดสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อพัฒนาเด็กอย่างรอบด้าน สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนสะอาด สวยงาม ร่มรื่น เป็นระเบียบ อาคารสถานที่มีความมั่นคงถาวร  ครูใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดประสบการณ์ รวมไปถึงการทำความสะอาดสื่อการสอน ของเล่น เพื่อความปลอดภัย อย่างเพียงพอและเหมาะสมกับเด็ก ยึดหลักการมีส่วนร่วมและการนำระบบคุณภาพ PDCA มาใช้ จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และนำผลการดำเนินงานไปวางแผนเพื่อพัฒนาในปีการศึกษาต่อไป มีระบบโครงสร้างการบริหารงานชัดเจน การบริหารงานเปิดโอกาสให้ทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เช่น เครือข่ายผู้ปกครอง ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และชุมชน ซึ่งการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ

          การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ อยู่ในระดับ ดีเลิศ ครูวิเคราะห์ข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคล ครูจัดทําแผนการจัดประสบการณ์จากการวิเคราะห์มาตรฐาน ไม่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว มีการดูแล   ด้านสุขภาพอนามัย กิจกรรมให้เด็กได้เข้าร่วมแสดงออก แสดงอารมณ์  ความรู้สึกได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม ให้ผู้ปกครองประเมินกิจวัตรประจำวัน ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่นักเรียนทำเป็นประจำ ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัยและมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ มีการจัดประสบการณ์ที่แสดงว่าเด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระตาม      ความต้องการความสนใจความสามารถ ตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับช่วงอายุระยะความสนใจ และวิถีการเรียนรู้ของเด็ก ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง วิเคราะห์        ผลพัฒนาการให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์ สถานศึกษานำข้อมูลจากผลการนิเทศครูระหว่างภาคเรียนที่ 1 แจ้งให้ครูทราบจุดเด่นและจุดด้อย เพื่อให้ครูได้ทำ  การปรับปรุงและพัฒนาตัวเอง ในภาคเรียนที่ 2 จากข้อเสนอแนะ จุดเด่น ปัญหาอุปสรรคและจุดที่ควรพัฒนาในการจัดกิจกรรม              ปีการศึกษา 2566 เพื่อให้ครูได้นำไปเป็นฐานในการจัดกิจกรรมปีการศึกษา 2567 ซึ่งการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ

          จุดเด่น

1.  เด็กมีร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์ สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองตามความเหมาะสมมีคุณธรรม จริยธรรม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข พร้อมที่จะฝึกทักษะและลงมือปฏิบัติส่งผลให้มีพัฒนาการด้านสติปัญญาดีขึ้น

2. สถานศึกษามีโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจน การบริหารจัดการเป็นไปในลักษณะของคณะกรรมการบริหารสถานศึกษาที่มีบุคลากรทุกฝ่ายร่วมกันพัฒนาสถานศึกษา

3. มีหลักสูตรสถานศึกษาที่ทันสมัยเป็นปัจจุบัน ตอบสนองความต้องการของผู้ปกครอง และชุมชน มีการบูรณาการอย่างหลากหลายทั้งทักษะพื้นฐาน มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น

4. จัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์

5. บุคลากรครูภายในสถานศึกษาเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถมีวุฒิการศึกษาปฐมวัยโดยตรง มีประสบการณ์   ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก

6. ผู้ปกครอง ชุมชน ให้ความร่วมมือและสนับสนุนสื่อวัสดุอุปกรณ์ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นอย่างดี

 

          จุดที่ควรพัฒนา 

          สถานศึกษาส่งเสริมและพัฒนาเด็กที่มีพัฒนาการไม่เป็นไปตามวัย ได้แก่  สถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมใน    ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ให้กับเด็กอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เด็กได้มีประสบการณ์ที่หลากหลายเหมาะสมตามวัย ส่งเสริมด้าน     การสื่อสารในภาษาอังกฤษให้เหมาะสมและเป็นไปตามวัย จัดให้มีสนามเด็กเล่นเพื่อพัฒนาเด็กทั้งด้านร่างกายและจิตใจ จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และพอเพียง ส่งเสริมบุคลากรให้พัฒนาสื่อ นวัตกรรมของตนเองให้หลากหลายชัดเจนเพิ่มมากขึ้น ควรทำการประกาศผลการประเมินเด็กสม่ำเสมอทั้งในและนอกห้องเรียน  เพื่อแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ ครูควรมีการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริม กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้มีการใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการสอนของครูอย่างหลากหลายและทันสมัย ประเมินวิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับผู้เรียนและท้องถิ่น มีการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรอยู่เสมอ นำข้อมูลจากการบันทึกผล       หลังสอน โดยเน้นสภาพจริงของผู้เรียน ทำการวิจัยและ PLC เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพ

          แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

          1. จัดกิจกรรมออกกำลังกายและจัดกิจกรรมที่เน้นการให้เด็กทุกคนดูแลสุขภาพตนเอง

          2. จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุมการแสดงออกทางอารมณ์ และใช้ศิลปะท้องถิ่น  กลองยาวให้นักเรียนได้เข้าร่วมเพื่อพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

          3. ส่งเสริมการพัฒนากรอบหลักสูตรท้องถิ่นและหลักสูตรสถานศึกษาตามความจำเป็นของกลุ่มเป้าหมาย และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม

          4. การออกแบบโครงการสร้างหลักสูตรเพิ่มเติม เช่น กิจกรรมบูรณาการการสอนภาษาอังกฤษสื่อสาร คณิตศาสตร์ เพื่อเตรียมความพร้อมของนักเรียน

          5. จัดจ้างครูเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการในกรณีที่มีนักเรียนในแต่ละชั้นเพิ่มขึ้น พัฒนาครูให้มีทักษะความรู้ และความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และภาษาอังกฤษ

          6. ควรมีห้องในหรือห้องในใกล้กับห้องเรียนเพื่อความปลอดภัยของนักเรียนและอยู่ในการดูแลของครูผู้สอน 

          7. จัดหาสื่อและอุปกรณ์ใหม่ๆ ที่ทันสมัยให้กับเด็ก เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่รอบด้าน เปิดโอกาสให้หน่วยงานเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2.1  มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของผู้เรียน                      มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

2.2  มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ    มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

2.3  มาตรฐานที่ 3  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

          โรงเรียนวัดทุ่งใหญ่ จัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปี รวม 71 คน ครูผู้สอน 9 คน จัดทำรายงานการประเมินคุณภาพของตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2566 เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานอื่น ๆ ผลการประเมินตนเองในภาพรวม อยู่ในระดับ “ดีเลิศ” มีผลการดำเนินงานดังต่อไปนี้

          คุณภาพของผู้เรียน อยู่ในระดับ ดีเลิศ

          ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนอยู่ใน ระดับ ดีเลิศ

ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ คิดเป็นร้อยละ 88.30 ผู้เรียนสามารถอ่านออกและเขียนคล่องตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละช่วงชั้น สามารถเขียนสื่อสารได้ จากผลการประเมินความสามารถในด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ซึ่งมีผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน มีผลการอ่านออกเสียงคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 67.00 ผลการอ่านรู้เรื่อง คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80.25 และคะแนนเฉลี่ยรวม 2 ด้าน 73.62 ซึ่งค่าแนนเฉลี่ยด้านการอ่านรู้เรื่องสูงกว่าระดับประเทศ ผลการประเมินคุณภาพนักเรียน (NT) ด้านภาษาไทย 52.04  และผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติทางการศึกษา   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รายวิชาภาษไทย 47.54 ภาษาอังกฤษ 26.79 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาษาไทย 49.73 ภาษาอังกฤษ 29.69 โดยนักเรียนมีความสามารถในการอ่าน อยู่ในระดับดีขึ้นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด คิดเป็นร้อยละ 95.89 และการเขียน อยู่ในระดับดีขึ้นไปตามเกณฑ์             ที่สถานศึกษากำหนด คิดเป็นร้อยละ 95.89 มีการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนด้านความสามารถในการสื่อสาร  คิดเป็นร้อยละ 80.28 มีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ คิดเป็นร้อยละ 75.28  

ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น และแก้ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 92.09

ผู้เรียนมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม คิดเป็นร้อยละ 61.64 โดยได้เข้าร่วมการแข่งขันทักษะทางวิชาการ       งานสานฝันพัฒนาคุณภาพนักเรียน ครั้งที่ 17 ในการแข่งขันโครงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลองได้ระดับเหรียญเงิน      ในระดับมัธยมศึกษา และได้รับเหรียญเงิน ในการแข่งขันการประดิษฐ์จากเศษวัสดุ ในระดับประถมศึกษา

มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คิดเป็นร้อยละ 74.42 นักเรียนมีความรู         ความเขาใจสามารถคนควาหาขอมูล โดยใชสื่อเทคโนโลยีและการสื่อสารไดอยางคลองแคลว โดยกิจกรรมการเขียน Coding

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา คิดเป็นร้อยละ 73.60  โดยผลการจัดการเรียนการการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตรงตามมาตรฐานและตัวชี้วัด

มีความรู้  ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพคิดเป็นร้อยละ 91.66 ดำเนินกิจกรรมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อมีแนวทางในการศึกษาต่อ หรือมีการประกอบอาชีพ นักเรียนมีทักษะในการทำงานนักเรียนได้รับการส่งเสริมด้านงานอาชีพที่ตนถนัดตามศักยภาพของผู้เรียน และได้รับการแนะแนวทางเพื่อการประกอบอาชีพในอนาคต

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน อยู่ในระดับ ดีเลิศ

การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด คิดเป็นร้อยละ 98.63 มีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนในด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้วยวิธีการที่หลากหลาย

ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย คิดเป็นร้อยละ 99.72ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมและประเพณีไทยผ่านกิจกรรมการแสดงพื้นบ้าน กลองยาวโรงเรียนวัดทุ่งใหญ่ ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และค่านิยม 12 ประการ ตามที่สถานศึกษากำหนด

การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย คิดเป็นร้อยละ 100 ส่งเสริมให้ผู้เรียนยอมรับที่     จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย โดยยอมรับและอยู่ร่วมกันได้บนความแตกต่างระหว่างบุคคล รับฟัง          ความคิดเห็นของผู้อื่น แสดงความคิดเห็นโต้แย้งอย่างมีเหตุผล

สุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม คิดเป็นร้อยละ 87.07 นักเรียนมีน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง นักเรียนที่มีส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ เป็นไปตามที่สถานศึกษากำหนดได้รับความรู้และเข้าร่วมกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพร่างกาย

ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับ ดีเลิศ สถานศึกษาได้ดำเนินการตามแผนการพัฒนาการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ที่เป็นไปได้ในการปฏิบัติตามกำหนดเป้าหมายมาตรฐานการศึกษา กลยุทธ์ นโยบายและจุดเน้น วิสัยทัศน์และพันธกิจ ที่ชัดเจนสอดคลองกับบริบทของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน และนโยบายของรัฐ ประกอบด้วย 16 โครงการ 32 กิจกรรม โดยแต่ละกิจกรรมได้ดำเนินงานในปีการศึกษา 2566 สถานศึกษามีการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้วงจร PDCA และ TEAMWORK โมเดล ผู้บริหารได้ดำเนินการตรวจสอบพร้อมคณะกรรมการบริหารงาน 4 ฝ่ายงาน เพื่อให้นำผลการประเมินมาปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาได้ตรงจุด กิจกรรมที่บรรลุวัตถุประสงค์ คิดเป็นร้อยละ 100 การปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องส่งเสริม ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลเพื่อให้สถานศึกษาพัฒนาบริหารจัดการตามหลักธรรมาธิบาลอย่างมีประสิทธิภาพ  การพัฒนาวิชาการของโรงเรียน โดยผู้บริหารและฝ่ายบริหารงานวิชาการ ทำให้มีนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันทักษะทางวิชาการ งานสานฝันพัฒนาคุณภาพนักเรียน ครั้งที่ 17 จำนวน 33 คน 12 รายการ ซึ่งเป็นผลให้ผู้ปกครองและชุมชนมีความเชื่อมั่นในการจัดการเรียน การสอนและการพัฒนาด้านวิชาการเพิ่มมากขึ้น การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรควรมีรายวิชาที่มีเกี่ยวของการสถานการณ์ปัจจุบัน  มีความทันสมัย และสามารถนำไปสู่การประกอบอาชีพได้จริง สถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อมทางกายทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนและสภาพแวดล้อมทางสังคม ที่เอื้อต่อการเรียนรู้และมีความปลอดภัย ตามกิจกรรมห้องเรียนคุณภาพ กำกับติดตามการดำเนินงาน ดูแล รักษาสื่ออุปกรณ์ วัสดุต่างๆ ในห้องเรียนให้พร้อมใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพาครบทุกห้องเรียน สถานศึกษาจัดระบบสารสนเทศ ภายใต้กิจกรรมการพัฒนาสถานศึกษาให้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ วางแผนพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารคลอบคลุมองค์ประกอบในการประกันคุณภาพ มีการจัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อการจัดการโดยการเผยแพร่ผ่านอินเตอร์เน็ตในระบบต่างๆ เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล วางแผนพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อนำข้อมูลมาจัดทำแผนการเรียนรู้ให้คลอบคลุมทุกกลุ่มสาระ ปฏิบัติงานตามภาระงานที่ได้รับมอบหมายเข้าร่วมกิจกรรมที่ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกจัดขึ้น

 

 

ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับ ดีเลิศ   โรงเรียนมีการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ คิดเป็นร้อยละ 100

ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 63.88 ส่งเสริมความสามารถ    ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารผ่านรายวิชาต่างๆ โดยการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ซึ่งประเมินความสามารถด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก คิดเป็นร้อยละ 100 ดำเนินกิจกรรมห้องเรียนคุณภาพ ทำให้สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน มีสภาพเอื้อต่อการเรียนรู้และมีความปลอดภัย

มีผลการตรวจสอบและประเมินผลผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลที่ได้มาพัฒนาผู้เรียนคิดเป็นร้อยละ 88.88

มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้คิดเป็นร้อยละ 88.88

          จุดเด่น

1.  นักเรียนสามารถอ่านออก เขียนได้การเขียนสื่อสารผ่านเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด โดยเห็นได้จาก ในด้าน ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ผู้เรียนสามารถอ่านออกและเขียนคล่องตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละช่วงชั้น สามารถเขียนสื่อสารได้ จากผลการประเมินความสามารถในด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ซึ่งมีผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ

2. นักเรียนเป็นผู้คุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ได้รับการฝึกและส่งเสริมให้มีวินัย ดังเห็นได้จากนักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมวันสำคัญต่างๆ และการเข้าร่วมกิจกรรมสวดมนต์สุดสัปดาห์

3.  มีความรับผิดชอบมีความประหยัด มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่นมี  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ตาม             หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้จัดการเรียนการสอน เสียสละเพื่อส่วนรวมสามารถทำงานร่วมกันเป็นทีม รู้จักใช้กระบวนการกลุ่มรักการทำงานกล้าแสดงออกในทางสร้างสรรค์

4. มีคุณลักษณะจิตสาธารณะ ซึ่งเป็นคุณลักษณะเด่น ที่มีในนักเรียนโรงเรียนวัดทุ่งใหญ่

5. ด้านการบริหารการศึกษาแบบมีสวนรวมโดยใช้วงจร PDCA และ TEAMWORK โมเดล โดยเน้นการใชเทคโนโลยีในพัฒนาการศึกษา เป็นโรงเรียนประชารัฐ สถานศึกษาพอเพียงต้นแบบ โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล อีกทั้งนักเรียนไดรับการพัฒนา สงเสริมในทุกๆ ดานจนไดรับรางวัลในระดับเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ครูผู้สอนมีการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพยึดมั่นในคุณธรรม

          6. ด้านการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิต

          จุดที่ควรพัฒนา 

          ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนจะต้องได้รับการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพความรู้ของผู้เรียนให้สูงขึ้น ซึ่งครูจะต้องดำเนินจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับนักเรียนต่อไป นักเรียนควรได้รับ       การส่งเสริมการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีที่มีความทันสมัย มีความพร้อมของอุปกรณ์และเพียงพอต่อผู้เรียน เพื่อพัฒนาและการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ และสามารถประดิษฐ์ได้ด้วยตนเองและมีการเผยแพร่สู่สาธารณะ  พัฒนากิจกรรมส่งเสริม  การอ่านของนักเรียนให้มีความต่อเนื่อง

ด้านการปฏิบัติงานต้องประสานกับหลายฝ่ายทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ทำให้การประสานงานเกิด        ความล่าช้า กระตุ้นผู้ปกครองบางส่วนที่ไม่ให้ความร่วมมือและไม่เห็นความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ได้         เข้าร่วมกิจกรรมและตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา งบประมาณที่ได้รับในการจัดสรรไม่เพียงพอต่อการดำเนินงานโดยเฉพาะด้านอาคารสถานที่ โรงเรียนควรพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการจัดชุมชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ (PLC) มาใช้พัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียน และเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารร่วมกับหัวหน้าฝ่ายวิชาการควรกํากับ ติดตามและนิเทศการดําเนินงานอย่างต่อเนื่อง

          ด้านครูผู้สอน ครูไม่ค่อยมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานภายนอก เน้นการใช้เทคโนโลยีในการจัด         การเรียนการสอนให้มากขึ้น ควรใช้เครื่องมือในการวัดผลการพัฒนาพฤติกรรมการเรียนรู้ตรงตามสภาพจริงอิง           ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดและให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนทันที และและต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้เรียนนําไปใช้พัฒนาตนเอง ฝ่ายวิชาการควรจัดทําเครื่องมือในการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลและเอกสารธุรการชั้นเรียนให้เป็นรูปแบบมาตรฐาน มีข้อมูลส่วนกลางสำหรับนำข้อมูลมาใช้ได้อย่างทันที มีข้อมูลที่ครูผู้สอนสามารถนํามาวางแผนการจัด         การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ

          แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

          มีกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกอ่าน ฝึกเขียน มีกิจกรรมคิดเลขเร็วแบบจินตคณิตเพื่อพัฒนาการคิดคำนวณแนวกิจกรรมสร้างนวัตกรรมด้วย Micro bit กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ยามเช้า กิจกรรม 1 นวัตกรรม 1 ห้องเรียน กิจกรรมปลอดภัยกับโลกไซเบอร์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ด้านกฎหมาย พรบ.การใช้คอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง กิจกรรมส่งเสริมทักษะอาชีพในอนาคต กิจกรรมเรียนรู้การเทรดเบื้องต้น กิจกรรมต้นกล้าจิตอาสา กิจกรรมสืบสานกลองยาวบ้านทุ่งใหญ่กิจกรรมเราบ้านเดียวกัน  กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพกายฟิตสู่จิตที่แจ่มใส กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนารูปแบบการใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา กิจกรรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรสู่ศตวรรษที่ 21 กิจกรรมพัฒนาสภาพแวดล้อมเป็นแหล่งเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ กิจกรรม IT center กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ ICT  กิจกรรมการบริหารจัดการชั้นเรียนสู่ Thailand 4.0 กิจกรรมการตรวจสอบและประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ กิจกรรมยกระดับประสิทธิภาพด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     โครงการ "สุขาดี มีความสุข" 10 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566 2 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2566 1 มิ.ย. 2567
     การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 29 พ.ค. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566 25 พ.ค. 2567


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.