[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2566
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านเขากอบ
วันที่   1   มิถุนายน   2567
เข้าชม : 86
Bookmark and Share


 บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ชื่อโรงเรียน  โรงเรียนบ้านเขากอบ ที่อยู่ ๑๔๓  หมู่ที่ ๑ ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง               

ชื่อผู้บริหาร   นางสาวกนกนุช  โตสุข   เบอร์โทรศัพท์  ๐๙๓-๕๘๒๘๕๑๘

จำนวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  จำนวน  ๑๕ คน  จำแนกเป็นข้าราชการครู ๑๓ คน  เจ้าหน้าที่ธุรการ  ๑ คน และนักการภารโรง  ๑ คน

จำนวนนักเรียน รวม  ๒๔๕ คน  จำแนกเป็นระดับอนุบาล  ๕๗  คน  ระดับประถมศึกษา ๑๘๘ คน       

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต ๒  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

๑. ระดับการศึกษาปฐมวัย

 

 

 

มาตรฐานที่

  คุณภาพของเด็ก

ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ        

 

มาตรฐานที่

  กระบวนการบริหารและการจัดการ

ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ        

 

มาตรฐานที่

  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

ผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม  

 

        ผลการประเมินตนเองในภาพรวมของสถานศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย อยู่ในระดับ ดีเลิศ        

 กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนบ้านเขากอบได้จัดกระบวนการพัฒนาเด็กที่หลากหลาย ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้   ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ปลูกฝังให้เด็กมีความซื่อสัตย์สุจริต กล้าแสดงออก ยิ้มแย้มแจ่มใส  มีการจัดกิจกรรมทางด้านศิลปะ  มีหลักสูตรปฐมวัยที่ยืดหยุ่นและเหมาะสม  เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง  มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้  มีสื่อเทคโนโลยีใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ 

 ผลการพัฒนา

๑. เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย  แข็งแรง  มีสุขนิสัยที่ดีและดูแลความปลอดภัยของตนเองได้  มีน้ำหนัก  ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน  เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์  จิตใจ  ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึกได้เหมาะสม  มีจิตสำนึกและค่านิยมที่ดี   มีพัฒนาการด้านสังคม  ช่วยเหลือตนเองและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม  มีวินัยในตนเอง  ยอมรับหรือเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล   เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา  สื่อสารได้  มีความคิดสร้างสรรค์ผล

๒. ครูได้รับการพัฒนาด้านการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง  มีทักษะในการจัดประสบการณ์และ     การประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง

จุดเด่น   

๑. นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์  มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

๒. ครูมีการวิเคราะห์ข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคลและจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ จากการวิเคราะห์ มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรสถานศึกษา

. สถานศึกษาจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน  มีห้องเรียนที่สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก ปลอดภัย มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้  ครูใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับช่วงอายุ

จุดควรพัฒนา

๑.     นำกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานวัฏจักรการสืบเสาะ 1 เรื่อง/ปีการศึกษา ตามโครงการ

บ้านนักวิทยาศาสตร์  ประเทศไทย  สู่ห้องเรียนปฐมวัยทุกห้องเรียน 

          ๒. นำนวัตกรรมการสอนแบบโครงการ Project Approach สู่ห้องเรียนปฐมวัย

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

๑.     นำกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานวัฏจักรการสืบเสาะ ๑ เรื่อง/ปีการศึกษา ตามโครงการ

บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย สู่ห้องเรียนปฐมวัยทุกห้องเรียน

๒.     นำนวัตกรรมการสอนแบบโครงกการ Project Approach สู่ห้องเรียนปฐมวัย

      

ผลการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

 

มาตรฐานที่

  คุณภาพของผู้เรียน

ดีเลิศ

 

มาตรฐานที่

๒  

  กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา

ยอดเยี่ยม

 

มาตรฐานที่

  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ยอดเยี่ยม

 

ผลการประเมินตนเองในภาพรวมของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

 กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนบ้านเขากอบจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  จัดกิจกรรมพัฒนาให้นักเรียนมีทักษะในการคิดวิเคราะห์  คิดสังเคราะห์และแก้ปัญหา  มีความสามารถในการอ่านการเขียน  ส่งเสริมให้นักเรียนทำโครงงานวิทยาศาสตร์  โครงงานคุณธรรมทุกห้องเรียน  จัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้วยวิธีการที่หลากหลาย  มีทักษะชีวิต เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  พัฒนาครูให้มีรู้ความสามารถตามมาตรฐานตำแหน่ง จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ  พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ  จัดให้มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และสื่อการสอนเพื่อใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม

 ผลการพัฒนา

          ผู้เรียนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดี  มีสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสารและคิดคำนวณ  อ่านออก เขียนได้ตามมาตรฐานการอ่านการเขียนในแต่ละระดับชั้น  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ตามหลักประชาธิปไตย มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี  มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โรงเรียนมีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน มีระบบบริหารจัดการที่มีคุณภาพ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย  ครูได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานตำแหน่ง  โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 

 จุดเด่น

          ๑.  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด  มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การใช้เทคโนโลยี  มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง  มีสุขภาพจิตที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรม มีทักษะชีวิต  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

          ๒.  โรงเรียนมีเป้าหมาย  วิสัยทัศน์และพันธกิจที่ชัดเจน บริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ เป็นระบบโดยใช้กระบวนการ PDCA  และมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน  พัฒนาครูให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ  ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ

          ๓.  ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีความสามารถในใช้สื่อและเทคโนโลยี นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้  มีการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงและหลากหลาย

 จุดที่ควรพัฒนา

๑.  ควรจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์  คิดคำนวณและพัฒนาความสามารถด้าน การสร้างนวัตกรรมให้แก่ผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง  เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถรอบด้านและพร้อมรับ การเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน 

          ๒.  ควรสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในกรรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน

          ๓.  ควรนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดกิจกรรมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้  ส่งเสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)  เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน  ตลอดจนส่งเสริมการวัดและประเมินผลที่หลากหลายและให้ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อให้นักเรียนนำไปใช้ในการพัฒนาตนเองและพัฒนาการสอนของครู

 แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

๑.     วางแผนพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างเป็นระบบในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้  จัดกิจกรรม

ส่งเสริมการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ คิดคำนวณและพัฒนาความสามารถด้านการสร้างนวัตกรรมให้แก่นักเรียนอย่างต่อเนื่องด้วยวิธีการที่หลากหลาย

            ๒.  จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ให้แก่นักเรียนอย่างหลากหลายและต่อเนื่อง  โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

 ๓.  พัฒนาครูด้านเทคนิคการสอน  ส่งเสริมการใช้สื่อ เทคโนโลยีและการจัดทำนวัตกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน  ตลอดจนส่งเสริมการจัดกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

 ๔.  พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในเพื่อให้โรงเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

 ๕.  สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     โครงการ "สุขาดี มีความสุข" 10 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566 2 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2566 1 มิ.ย. 2567
     การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 29 พ.ค. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566 25 พ.ค. 2567


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.