[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ( Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านหลังเขา
วันที่   19   พฤษภาคม   2567
เข้าชม : 39
Bookmark and Share


 

บทสรุปของผู้บริหาร

 

 

 

 

 

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 

ชื่อโรงเรียนบ้านหลังเขา  ที่อยู่  326  หมู่ที่ 6  ตำบลเขาวิเศษ  อำเภอวังวิเศษ  จังหวัดตรัง

          ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นางบุรินทร์  นุ่นขาว  เบอร์โทรศัพท์ 091-0345941

          จำนวนครู 19 คน  จำแนกเป็น ข้าราชการครู 18 คน ครูอัตราจ้าง 1 คน

          จำนวนนักเรียน   รวม 407 คน จำแนกเป็นระดับอนุบาล 96 คน

                                 ระดับประถมศึกษา  311 คน

 

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

    1.  ระดับการศึกษาปฐมวัย

      1.1  มาตรฐานที่ 1   คุณภาพของเด็ก    มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

      1.2  มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ

                                ยอดเยี่ยม

      1.3  มาตรฐานที่ 3  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ       

                                ยอดเยี่ยม

ผลการประเมินในภาพรวมระดับการศึกษาปฐมวัย

          ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

จากผลการดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรมต่างๆ ตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566-2568 และแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ส่งผลให้การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยมีคุณภาพพัฒนาการของผู้เรียนประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ ซึ่งผลการประเมินสรุปมาตรฐานที่ 1  คุณภาพของเด็ก อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม  มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม  และมาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม โดยสถานศึกษามีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน อย่างหลากหลาย เป็นไปตามความต้องการของผู้เรียนและสภาพปัญหา สอดคล้องกับจุดเน้นของสถานศึกษาและชุมชน/ท้องถิ่น ตามหลักสูตร จนมีผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ วิเคราะห์ ออกแบบและจัดหน่วยประสบการณ์การเรียนรู้ตามหน่วยสาระที่ควรเรียนรู้ผ่านการจัดกิจกรรม 6 กิจกรรมหลัก ที่สอดคล้องกับหลักสูตรและบริบทของสถานศึกษา จัดประสบการณ์ให้นักเรียนผ่านการเล่นและลงมือปฏิบัติ ใช้สื่อการเรียนรู้ และประเมินผลตามสภาพจริง เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหารายบุคคล โดยสถานศึกษาให้ความสำคัญกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อให้เกิดความร่วมมืออย่างเป็นระบบ

 

 

กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนบ้านหลังเขา ได้มีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนให้มีการพัฒนาด้านร่างกายสมวัย ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา โดยดำเนินการกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนและจัดประสบการณ์ให้กับนักเรียนเป็นไปตามหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย ครอบคลุม  6 กิจกรรมหลัก มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ สิ่งแวดล้อม และจัดหาอุปกรณ์การเล่นให้มีความปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ และมีสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอเสมอ มีกฎ กติกา ข้อตกลงในการดูแลตนเองให้ปลอดภัย หลีกเลี่ยงจากอันตราย จัดกิจกรรมตรวจสุขภาพและความสะอาดร่างกาย มีการชั่งน้ำหนักส่วนสูง 1 ครั้ง/เดือน กิจกรรมเฝ้าระวังทันตสุขภาพกิจกรรมเสริมสุขนิสัยนักเรียน โดยการล้างมือก่อนและหลังการรับประทานอาหาร แปรงฟันหลังรับประทานอาหาร  จัดบอร์ดให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับโรคติดต่อในชุมชน มีการพัฒนาครูในการปฏิบัติงานตามหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและ เกิดประสิทธิผลส่งเสริมให้ครูได้เข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย  มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ บูรณาการการเรียนรู้ ผ่านการเล่น สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม เปิดโอกาสให้เด็กเลือกกิจกรรมอย่างอิสระ ตามความต้องการ ความสนใจ ความสามารถ ตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล เรียนรู้ ลงมือกระทำ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย ห้องเรียนสะอาด มีพื้นที่ในการจัดกิจกรรมและแสดงผลงาน ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย สื่อของเล่นกระตุ้นให้คิดและหาคำตอบ มีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินไปปรับปรุง การจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก

 ผลการพัฒนา

          เด็กมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านเหมาะสมตามวัย ครูจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายอารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ โดยความร่วมมือของพ่อแม่และครอบครัว ชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง  สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติกิจกรรมเรียนรู้ลงมือทำ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข  จัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้  สะอาดเรียบร้อย สวยงาม มีสื่อการเรียนรู้เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย ครูประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลายโดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม นำผลการประเมินที่ได้ไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก ส่งผลให้กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามเป้าหมายมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยที่กำหนดไว้

 

 

 

 

จุดเด่น

          เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง เติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่อโรค และอุบัติเหตุภัย มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัยที่เหมาะสม  มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ อารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีพัฒนาการด้านสติปัญญาดี รู้จักคิด ช่างสังเกต เรียนรู้ได้เหมาะสมตามวัย มีบรรยากาศ สภาพห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้  ประเมินพัฒนาการเด็กด้วยวิธีการหลากหลาย  และมีครูผู้สอนมีวุฒิการศึกษาตรงวิชาเอก

 จุดที่ควรพัฒนา

          ด้านการมีความคิดรวบยอด การทำกิจกรรมเสริมสติปัญญาให้เหมาะสมตามวัย การพัฒนาและปลูกฝังในเรื่องสุขนิสัยที่ดี เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้เป็นนิสัย  การมีระเบียบวินัยและการยืนตรงแสดงความเคารพเมื่อได้ยินเพลงชาติ การใช้คำพูดที่สุภาพเหมาะสมกับวัย 

 

 แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

      1. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ผ่านการเล่น  การปฏิบัติจริง บทบาทสมมุติ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ ทักษะการสื่อสาร และทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน

      2. จัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะการใช้ชีวิตและการคิดแก้ปัญหาของเด็ก

      3. จัดกิจกรรมเน้นการพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคลให้มากขึ้น

      4. จัดให้มีอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายและเพียงพอ

      5. จัดให้มีเครื่องเล่นสนามที่เพียงพอต่อเด็กทุกคน

      6. ใช้เครื่องมือวัดผลและประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลายมากขึ้น

 

    2.  ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

      2.1  มาตรฐานที่ 1   คุณภาพของผู้เรียน    มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

      2.2  มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ

                                 ยอดเยี่ยม

      2.3  มาตรฐานที่ 3  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีผลการประเมิน

                                 อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

ผลการประเมินในภาพรวมระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาอยู่ในระดับ : ยอดเยี่ยม

จากผลการดำเนินงาน โครงการ และกิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้สถานศึกษาจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐาน ได้รับผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยม โดยมาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน อยู่ในระดับยอดเยี่ยม มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการศึกษา อยู่ในระดับยอดเยี่ยม และมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม  

ทั้งนี้ สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลายที่เป็นไปตามปัญหาและความต้องการพัฒนาตามสภาพของผู้เรียน สอดคล้องกับจุดเน้นของสถาน ศึกษาและสภาพของชุมชนท้องถิ่น ส่งผลให้การพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอยู่ในระดับดีเยี่ยม พัฒนาการของค่าเฉลี่ยผลการทดสอบระดับชาติสูงขึ้น ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านและ เขียน การสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความสามารถในการคิดคำนวณ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ดี และมีความประพฤติด้านคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะตามที่สถานศึกษากำหนดปรากฏอย่างชัดเจน ดังที่ปรากฏผลประเมินตามมาตรฐานที่ 2 ในด้านกระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษามีผลประเมินรายมาตรฐานอยู่ในระดับยอดเยี่ยม สถานศึกษามีการวางแผน ออกแบบกิจกรรมและดำเนินงานตามแผนที่เกิดจากการมีส่วนร่วม ใช้ผลการประเมินและ การดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นฐานในการพัฒนาและสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนา ตรวจสอบผลการดำเนินงาน และการปรับปรุง แก้ไขงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม  มีการวิเคราะห์ ออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่เป็นไปตามความต้องการของหลักสูตร และบริบทสถานศึกษา พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ใช้สื่อ การเรียนรู้ ติดตาม ตรวจสอบและช่วยเหลือนักเรียน เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหารายบุคคล และการประเมินผลจากสภาพจริงในทุกขั้นตอน สถานศึกษาดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพภายในอย่างเป็นขั้นตอน จนเกิดคุณภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ส่งผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม โดยสถานศึกษาให้ความสำคัญกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อสร้างความร่วมมือในการวางระบบและดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเป็นอย่างดี และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความมั่นใจต่อระบบการบริหารและการจัดการของสถานศึกษาในระดับสูง

 

กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนบ้านหลังเขามีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีการจัดการเรียนรู้ทั้งรูปแบบการระดมสมอง การลงมือปฏิบัติจริง การร่วมมือกันเรียนรู้ การใช้กระบวนการคิด กระบวนการใช้ปัญหาเป็นหลัก และเน้นการอ่านออกเขียนได้ โดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พัฒนาครูทุกคนให้มีความสามารถในการนำเทคนิควิธีสอนให้ตรงตามศักยภาพผู้เรียน ใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน มีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูลทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน มีกิจกรรม PLC เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการเรียนการสอน มีการจัดกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนคุณธรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียนให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข กิจกรรมทัศนศึกษานอกสถานที่เพื่อเปิดโลกกว้างแห่งการเรียนรู้นอกห้องเรียน จัดกิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อเพื่อเตรียมความพร้อมการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพและสุขภาวะจิตและร่างกายที่ดี มีการกำหนดเป้าหมายปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ ดำเนินการพัฒนา ตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้าร่วมการอบรมทางวิชาการและศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้ สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพระหว่างครูภายในโรงเรียน จัดกระบวนการการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงจากกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Active Learning  รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์แก่ผู้เรียน

 

ผลการพัฒนา

          นักเรียนผ่านการประเมินตามตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนของนักเรียน มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พัฒนาบรรลุตามเป้าหมายมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนด มีผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test:RT)  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยด้านการอ่านออกเสียงและการอ่านรู้เรื่องสูงกว่าปีการศึกษา 2565  มีผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานผู้เรียนระดับชาติ (NT)สูงกว่าปีการศึกษา 2565 และมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยในรายวิชาภาษาไทยและคณิตศาสตร์สูงกว่าระดับเขตพื้นที่และระดับสังกัด และคะแนนเฉลี่ยในรายวิชาภาษาอังกฤษสูงกว่าระดับเขตพื้นที่ มีผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนทุกระดับชั้นผ่านเกณฑ์ตามที่สถานศึกษากำหนด มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันทักษะทางวิชาการ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 71 ปีการศึกษา 2566 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 โรงเรียนบ้านหลังเขาได้ส่งนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันทั้งหมด 30 รายการ ได้รับรางวัลชนะเลิศ จำนวน 2 รายการ รางวัลเหรียญทอง จำนวน 19 รายการ รางวัลเหรียญเงิน จำนวน 3 รายการ รางวัลเหรียญทองแดง จำนวน 4 รายการ และได้รับรางวัลเข้าร่วม จำนวน 2 รายการ นักเรียนมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ดี มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พัฒนาสิ่งแวดล้อมน้อมนำเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต มีสุขภาวะทางด้านร่างกายและจิตใจที่ดีงาม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข

 

จุดเด่น

          โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ดี บรรยากาศเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรม มีมารยาทที่ดี  มีจิตสาธารณะ ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการเรียนการสอนอุทิศเวลาให้กับนักเรียน มุ่งเน้นการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มเวลาและความสามารถ สอนตรงวิชาเอก ตามความสามารถและความถนัด มีการพัฒนาตนเองในวิชาชีพอยู่สม่ำเสมอ ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีผลที่สูงกว่าระดับเขตพื้นที่และระดับประเทศตลอดมา

 

จุดที่ควรพัฒนา

          ครูควรมีการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนให้สูงขึ้น ควรจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน คำนวณ ของนักเรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้โรงเรียนบ้านหลังเขาปลอดนักเรียนที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ และควรนำวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะด้านทักษะวิชาชีพเพื่อเป็นการเพิ่มทักษะในการใช้ชีวิตและการประกอบอาชีพในอนาคต ของนักเรียน

 

 แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

      1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลให้ชัดเจนขึ้น

      2. การส่งเสริมให้ครูเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ

      3. การพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ สถานศึกษาส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ และนำกระบวนการของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) มาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียน     

      4. ครูทุกคนทำวิจัยชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนอย่างน้อยปีการศึกษาละ 1 เรื่อง

      5. ส่งเสริมและสนับสนุนครู ให้มีการพัฒนาตนเองในการเข้ารับการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง จัดทำผลงานทางวิชาการและข้อมูลหลักฐาน เพื่อความต้องการในวิชาชีพครู ส่งเสริมความเป็นเลิศ ทางวิชาการ โดยเฉพาะพัฒนาทักษะพื้นฐานเพื่อสร้างสรรค์ผลงานเป็นนวัตกรรม

      6. สถานศึกษานำภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลายให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนเพิ่มมากขึ้น

      7. การพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต และให้บริการของชุมชนการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ของชุมชน

 

 

 

 

 

 

 

 

 



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     โครงการ "สุขาดี มีความสุข" 10 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566 2 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2566 1 มิ.ย. 2567
     การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 29 พ.ค. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566 25 พ.ค. 2567


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.