[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านหนองมวง
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านหนองมวง
วันที่   16   พฤษภาคม   2567
เข้าชม : 82
Bookmark and Share


 บทสรุปของผู้บริหาร

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

ชื่อโรงเรียน บ้านหนองมวง  ที่อยู่ 62  หมู่ที่ 5  ตำบลควนเมา  อำเภอรัษฎา  จังหวัดตรัง 92160 ชื่อผู้บริหารสถานศึกษา นางสาวจินดาวัลย์  นวลใย เบอร์โทรศัพท์  09๑- ๘๖๘ ๖๒๘๖ จำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษา 10 คน  จำแนกเป็นข้าราชการครู 4 คน ครูจ้าง 4 คน  เจ้าหน้าที่อื่นๆ 2 คน จำนวนนักเรียน  รวม  75 คน  จำแนกนักเรียนระดับชั้นระดับอนุบาล  12 คน ระดับชั้นประถมศึกษา 63  คน

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

1. ระดับการศึกษาปฐมวัย

          มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

กระบวนการพัฒนา

          สถานศึกษามีการจัดประสบการณ์ในลักษณะการบูรณาการตามหน่วยการเรียนรู้ จัดกิจกรรมตามตารางกิจกรรมประจำวันและดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่             ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ในส่วนด้านร่างกาย ที่สมบูรณ์ แข็งแรง เจริญเติบโตสมวัย  โดยจะเน้นกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านการเล่นของเด็ก  โดยการลงมือปฏิบัติจริง การวิ่ง กระโดด  จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพและการออกกำลังกาย  ฝึกการนันทนาการ การส่งเสริมสุขภาพอนามัย โดยการตรวจสุขภาพประจำวัน  ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง         ภาคเรียนละ  2 ครั้ง

          มีการจัดป้ายนิเทศให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับวันสำคัญต่างๆ  บุคคลสำคัญที่เด็กควรรู้จัก  อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน มีการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด  มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพดีมีสุข เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายให้กับเด็ก และได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลควนเมา ในการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัย      การรับการดูแลในช่องปาก การเคลือบฟลูออไรด์ การฉีดวัคซีนเป็นต้น ทดสอบสมรรถภาพทางกาย ดูแลการรับประทานอาหารกลางวัน การดื่มนม เพื่อให้เด็กมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข  โภชนาการ  ล้างมือหลังจากเข้าห้องน้ำ ห้องส้วมทุกครั้ง แปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน  การดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ได้เหมาะสม  ตามวัย และการปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับความปลอดภัย  หลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ การประเมินพัฒนาการเด็กระดับปฐมวัย 

มีกิจกรรมหนูน้อยระวังภัยห่างไกลยาเสพติด สถานศึกษามีการจัดหา อุปกรณ์ ซ่อมแซมสนามเด็กเล่นให้    มีความปลอดภัย สะดวก พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา ไม่มีจุดที่เป็นอันตราย มีกฎ กติกา ข้อตกลงในการดูแลตนเองให้ปลอดภัย หลีกเลี่ยงจากอันตราย  

ผลที่เกิดจากการพัฒนา

          ๑) เด็กร้อยละ 100 มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน เคลื่อนไหวร่างกาย คล่องแคล่ว ทรงตัวได้ดีใช้มือ   และตาประสานสัมพันธ์ได้ดีดูแลรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตนและปฏิบัติจนเป็นนิสัย

          2) เด็กร้อยละ 100  สามารถรู้จักและป้องกันตัวเอง มีสุขลักษณะนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหาร               การใช้ชีวิตประจำวัน

          3) เด็กร้อยละ 100 สามารถปฏิบัติตนตามข้อตกลงเกี่ยวกับความปลอดภัย หลีกเสี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อโรค         สิ่งเสพติด และระวังภัยจากบุคคลภายนอก สิ่งแวดล้อม และสถานการณ์ที่เสี่ยงอันตราย

          ๔) เด็กร้อยละ 100 ร่าเริงแจ่มใส แสดงอารมณ์ความรู้สึกได้เหมาะสมกับวัย  รู้จักยับยั้งชั่งใจ อดทนในการ     รอคอย ยอมรับและพอใจในความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น มีจิตสำนึกและค่านิยมที่ดี มีความมั่นใจกล้าพูด กล้าแสดงออกช่วยเหลือแบ่งปัน เคารพสิทธิรู้หน้าที่รับผิดชอบอดทน  อดกลั้น ซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม จริยธรรมตามที่สถานศึกษากำหนดชื่นชมและมีความสุขกับศิลปะ ดนตรีและการเคลื่อนไหว

          ๕) เด็กร้อยละ  100  ผ่านการประเมินพัฒนาการเด็ก ระดับการศึกษาปฐมวัย ตามตัวชี้วัด  และมาตรฐาน     การเรียนรู้ 

          6) เด็กร้อยละ 100 ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันมีวินัยในตนเอง ประหยัดและพอเพียง        มี ส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในและนอกห้องเรียน มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทย เช่น การไหว้การยิ้ม ทักทาย และ    มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ เป็นต้น ยอมรับหรือเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่น ความคิด พฤติกรรม               พื้นฐานครอบครัวเชื้อชาติศาสนา วัฒนธรรม เป็นต้น เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

          7) เด็กร้อยละ 100 สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และการช่วยเหลือผู้ปกครอง

          8) เด็กร้อยละ 100 มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้  ระดับดีขึ้นไปรู้จักยับยั้งชั่งใจ อดทนในการรอคอย ยอมรับและพอใจในความ สามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น มีจิตสำนึกและค่านิยมที่ดี มีความมั่นใจกล้าพูด กล้าแสดงออก

          9) เด็กร้อยละ 100 ได้ฝึกคิด การพัฒนาภาษา สนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือสงสัย และ พยายามค้นหาคำตอบ อ่านนิทานและเล่าเรื่องที่ตนเองอ่านได้เหมาะสมกับวัย

 

จุดเด่น

          เด็กมีร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติด มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีสติปัญญาเรียนรู้ได้ตามกิจกรรมประจำวันอย่างดี มีหลักสูตรสถานศึกษา ระดับปฐมวัย โรงเรียนบ้านหนองมวง พุทธศักราช 256๖  (ที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ครูมีความรู้ความสามารถได้รับการพัฒนาด้านวิชาชีพร้อยละ 100 อย่างน้อย ๒๐ ชม./ปี       จัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  ระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมตามบทบาทและหน้าที่  พร้อมส่งเสริมและพัฒนาครูปฐมวัยในการนำวิธีการใหม่ๆ มาใช้จัดกิจกรรมการวิจัยเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะ     การนำสื่อและเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ จัดซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อพัฒนาเด็กรอบด้านให้มากขึ้นและเพียงพอต่อความต้องการ และจัดทำระบบสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นหมวดหมู่ถูกต้อง ครอบคลุมทันสมัยพร้อมใช้งาน จัดให้มี การตรวจสอบ ประเมินผล จัดทำรายงานเพื่อปรับปรุง พัฒนาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา    ของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ และจัดครูให้เพียงพอต่อชั้นเรียน

จุดที่ควรพัฒนา

1) การทำกิจกรรมเสริมสติปัญญาให้เหมาะสมตามวัย

2) ด้านการมีความคิดรวบยอด จากการทำกิจกรรม

3) การพัฒนา ปลูกฝังในเรื่องสุขนิสัยที่ดี เช่น การล้างมือก่อนรับประทานอาหาร ล้างมือก่อนออกจากห้องน้ำ ห้องส้วม และการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้เป็นนิสัย

4) การใช้คำพูดขอบคุณ ขอโทษ

5) การยืนตรงเมื่อได้ยินเพลงชาติ

6) การใช้วาจาสุภาพเหมาะสมกับวัย

7) จัดซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อพัฒนาเด็กรอบด้านให้มากขึ้นและเพียงพอต่อความต้องการโดยเฉพาะ    เครื่องเล่นสนาม

8) จัดทำระบบสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นหมวดหมู่ถูกต้อง ครอบคลุมทันสมัยพร้อมใช้งาน จัดให้มี          การตรวจสอบ ประเมินผล จัดทำรายงานเพื่อปรับปรุง พัฒนาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

กระบวนการพัฒนา

               โรงเรียนจัดทำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยครอบคลุมพัฒนาการผู้เรียนทั้ง 4 ด้านสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น จัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด บริบทของท้องถิ่นและนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ  โดยเป็นหลักสูตร    ที่มุ่งพัฒนาเด็กทุกด้าน  ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์  จิตใจ สังคม และสติปัญญา  เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้         มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีศักยภาพ  โดยการเข้ารับ การอบรมโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน      การศึกษานอกสถานที่ เช่น วัด ชุมชน เป็นต้น

               โรงเรียนจัดทำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยครอบคลุมพัฒนาการผู้เรียนทั้ง 4 ด้าน โดยการออกแบบแผนการจัดประสบการณ์ในสอดคล้องกับบริบทโรงเรียน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาเด็กทุกด้าน  ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์  จิตใจ สังคม และสติปัญญา  เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ชุมชน ผู้ปกครอง คณะครู นักเรียน เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย เพื่อร่วมกันปรับปรุงพัฒนา และจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับความต้องการและบริบทของสถานศึกษา มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง อย่างน้อยภาคเรียนละ ๑ ครั้ง เพื่อระดมความคิดในการวางแผนการดำเนินงานของสถานศึกษา ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย และแก้ไขปัญหาเด็กปฐมวัยผ่านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการออกเยี่ยมบ้านเด็กปฐมวัย ดำเนินการภาคเรียนละ ๑ ครั้ง หรือเมื่อพบเจอปัญหา  ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  มีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากร เช่น สื่อ     การเรียนรู้ งบประมาณในการปรับปรุง ซ่อมแซมสถานที่ต่าง ๆ ในโรงเรียน

 

  

ผลที่เกิดจากการพัฒนา

          ๑) สถานศึกษาดำเนินการบริหารและจัดการสถานศึกษาได้ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ระดับปฐมวัยโรงเรียนบ้านหนองมวง  ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐  บริบทของท้องถิ่น และนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ

          2) สถานศึกษาดำเนินการบริหารและจัดการสถานศึกษา ที่ครอบคลุมด้านวิชาการ ด้านครูและบุคลากร         ด้านข้อมูลสารสนเทศ ด้านสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ และด้านระบบประกันคุณภาพภายใน

          ๓) พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ ในการวิเคราะห์และ มีทักษะในการจัด ประสบการณ์และ   การประเมินพัฒนาการเด็ก   

          ๔) ครูปฐมวัยได้รับการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 20 ชั่วโมงต่อปี มีความรู้ความเชี่ยวชาญ           ด้านการการจัดประสบการณ์และออกแบบกิจกรรม ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ทั้ง 4 ด้าน บรรลุตามค่าเป้าหมายของสถานศึกษา         

          ๕) สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก ห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัย ไม่มีมลพิษ มีแหล่งเรียนรู้                 ที่หลากหลาย 

          ๖) สื่อด้านเทคโนโลยีสารสนเทศไว้บริการ  สอดคล้องกับหน่วยการจัดประสบการณ์  โดยเด็กมี ส่วนร่วมในการประดิษฐ์สื่อ นวัตกรรม ส่งผลให้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ บรรลุตามจุดประสงค์การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้ดี

          ๗) มีมุมประสบการณ์หลากหลาย มีสื่อ การเรียนรู้ เช่น ของเล่น หนังสือนิทาน สื่อจากธรรมชาติ สื่อเทคโนโลยี ส่งผลให้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ บรรลุตามจุดประสงค์การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้ดี

          ๘) การจัดกิจกรรมและดำเนินโครงการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการจัดการอย่างเป็นระบบ

          ๙) ระบบการบริหารและจัดการของสถานศึกษามีคุณภาพ ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมตามบทบาทได้อย่างเหมาะสมตามหลักธรรมาภิบาล

 

จุดเด่น

          มีหลักสูตรสถานศึกษา ระดับปฐมวัย โรงเรียนบ้านหนองมวง (ฉบับปรับปรุง) พุทธศักราช 256๖   (ที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ครูมีความรู้ความสามารถได้รับการพัฒนาด้านวิชาชีพร้อยละ 100 อย่างน้อย ๒๐ ชม./ปี  การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  ระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมตามบทบาทและหน้าที่

จุดที่ควรพัฒนา

ส่งเสริมและพัฒนาครูปฐมวัยในการนำวิธีการใหม่ๆ มาจัดกิจกรรม ให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรภายนอก



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     โครงการ "สุขาดี มีความสุข" 10 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566 2 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2566 1 มิ.ย. 2567
     การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 29 พ.ค. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566 25 พ.ค. 2567


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.