[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา SAR ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านโพธิ์น้อย
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านโพธิ์น้อย
วันที่   16   พฤษภาคม   2567
เข้าชม : 32
Bookmark and Share


 บทสรุปของผู้บริหาร

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

          โรงเรียนบ้านโพธิ์น้อย ตั้งอยู่เลขที่  74  หมู่ที่ 3  ตำบลคลองปาง  อำเภอรัษฎา  จังหวัดตรัง 
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต
บริหารงานโดยนางสุมาลี  เดชะ  ครูโรงเรียนบ้านโพธิ์น้อย รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโพธิ์น้อย  เบอร์โทรศัพท์  0824157636  ในปีการศึกษา 2566  จำนวนครูและบุคลากร  11  คน  ผู้บริหาร  -  คน  ข้าราชการครู  6  คน พนักงานราชการ  1 คน  ครูจ้างสอน  2  คน  เจ้าหน้าที่ธุรการ  1 คน  นักการภารโรง  1 คน  มีนักเรียนทั้งหมด  86 คน เป็นนักเรียนระดับการศึกษาปฐมวัย (อนุบาล)  จำนวน  18 คน  และนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประถมศึกษา) จำนวน  68  คน

 ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

          1. ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
ระดับการศึกษาปฐมวัย  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

มีผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ดังนี้

มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของเด็ก       

                  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ     

                  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

มาตรฐานที่ 3  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

                  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

 กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนบ้านโพธิ์น้อยจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560  มีกระบวนการพัฒนาเด็กที่หลากหลาย ครูจัดทำแผนการจัดประสบการณ์จากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์และจัดประสบการณ์ในรูปแบบบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่น เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้และมีการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกายส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตนและปฏิบัติจนเป็นนิสัยได้ โดยดำเนินการโครงการส่งเสริมพัฒนาการศึกษาปฐมวัยจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ส่งเสริมให้เด็กได้แสดงออกทางด้านร่างกายตามความถนัดและความสนใจ จัดให้เด็กได้รับประทานอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ปริมาณเหมาะสมตามวัย มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ทุกเดือน จัดโครงการหนูน้อย EQ ดีเยี่ยม เต็มเปี่ยมด้วย EF เพื่อพัฒนาพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็ก โดยใช้นิทานสานรักให้ผู้ปกครองได้มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับลูก ปลูกฝังให้เด็กมีความซื่อสัตย์สุจริต รู้จักยับยั้งชั่งใจ อดทนอดกลั้น ซื่อสัตย์สุจริตมีคุณธรรม จริยธรรมตามที่สถานศึกษากำหนด ตระหนักและเห็นความสำคัญในการบริหารจัดการให้มีความเพียงพอกับจำนวนห้องและจำนวนนักเรียนมุ่งพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพมีความเหมาะสม ให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้สะอาดปลอดภัย  โรงเรียนให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ การประเมินพัฒนาการและการบริหารจัดการหลักสูตรมีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย

วงรี: ขผลการพัฒนา

          จากการที่โรงเรียนบ้านโพธิ์น้อยได้ดำเนินการจัดทำโครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยมาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องทำให้โรงเรียนบ้านโพธิ์น้อยมีหลักสูตรสถานศึกษาที่ใช้ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยตามปรัชญาหลักการและธรรมชาติของการจัดการศึกษาเหมาะสมกับเด็กและสภาพท้องถิ่น  ส่งผลให้เด็กปฐมวัยที่จบหลักสูตรการศึกษาระดับปฐมวัยทุกคน  มีพัฒนาการความพร้อม  ครบทั้ง 4  ด้าน  คือ  ด้านร่างกาย  อารมณ์-จิตใจ  สังคมและสติปัญญา  มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  มีวินัย  อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  มีทักษะการคิด การใช้ภาษาในการสื่อสารและแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมกับวัย  ครูและบุคลากรเพียงพอกับจำนวนนักเรียนและห้องเรียน  ครูสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ  ครูผู้สอนมีสื่อที่ใช้ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กที่มีความทันสมัย  มีความสะดวกปลอดภัย  ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพเด็กให้ได้ตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย  ครูผู้สอนจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ครูปฐมวัยทุกคนจัดทำแผนการจัดประสบการณ์จากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน เด็กได้รับประสบการณ์ตรง จากการเล่นและปฏิบัติกิจกรรม เรียนรู้ ลงมือทำ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข บรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ครูสามารถจัดสภาพแวดล้อมให้มีความสะอาดและสื่อการเรียนรู้อย่างปลอดภัยและพอเพียง ประเมินพัฒนาการเด็กอย่างต่อเนื่องตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลายและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปเป็นข้อมูลในการส่งเสริมพัฒนาปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก

จุดเด่นของสถานศึกษา  

          โรงเรียนบ้านโพธิ์น้อยส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านเหมาะสมตามวัย  มีหลักสูตรสถานศึกษาที่มีองค์ประกอบครบถ้วนสมบูรณ์  สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของท้องถิ่น  การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์  ครูผู้สอนได้รับการพัฒนาด้านวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง  สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่น และปฏิบัติอย่างมีความสุข โดยครูจัดประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมของเด็ก  ออกแบบกิจกรรมให้เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมของเด็กและเพิ่มเติมสิ่งที่เด็กควรรู้ตามช่วยวัย ผ่านการจัดกิจกรรมในแผนการจัดประสบการณ์ตามหน่วย
การเรียนต่างๆ ที่ได้ผ่านการวิเคราะห์หลักสูตรปฐมวัย ภูมิปัญญาท้องถิ่น และสอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็กปฐมวัย โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระตามความต้องการ ความสนใจและความสามารถของแต่ละบุคคล โดยในทุกห้องเรียนปฐมวัย จัดให้มีการจัดมุมประสบการณ์ให้เด็กได้เลือกเล่น ทำกิจกรรมตามความสนใจของแต่ละบุคคล ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มภายนอกห้องเรียน จัดให้มีการจัดกิจกรรมแหล่งการเรียนรู้ เด็กปฐมวัยทุกคน ทุกช่วงชั้นได้เลือกทำกิจกรรมต่างๆ ตามความสนใจของตนเอง

วงรี: คจุดที่ควรพัฒนาของสถานศึกษา

          ระดับการศึกษาปฐมวัย  โรงเรียนกำหนดแผนการพัฒนาครูอย่างชัดเจน  ครูเข้าร่วมอบรมเพื่อพัฒนาตนเองแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์  จัดแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน  นำนักเรียนไปศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น   ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์และกำหนดแผนการพัฒนาครูอย่างชัดเจนในการส่งเสริมการจัดกิจกรรมวิทยาการคำนวณสำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อทักษะความคิดพื้นฐาน จัดกิจกรรม brain based learning เพื่อฝึกสมองของเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กได้เสนอความคิดเห็นในสิ่งที่ต้องการจะเรียนรู้ เพื่อตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กได้เต็มศักยภาพ  ส่งเสริมให้ครูได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานภายนอกมากขึ้น เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้นมาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงการการจัดประสบการณ์ให้เด็ก  ปรับปรุงสนามเด็กเล่นให้มีเครื่องเล่นที่หลากหลาย และส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการการอย่างสมดุล

แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

          โรงเรียนบ้านโพธิ์น้อยมีแนวทางในการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น  โดยจัดทำโครงการพัฒนาครูและบุคลากร  กำหนดให้ครูและบุคลาการทางการศึกษาได้รับการพัฒนา  เพิ่มพูนความรู้  ทักษะ  เจตคติ  และคุณลักษณะเฉพาะงาน  สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง  นำความรู้ที่ได้จากการอบรมพัฒนา  ศึกษาดูงาน  มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  จัดทำโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมภายในสถานศึกษาเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ  พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ  จัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นซึ่งเอื้อประโยชน์  และอำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาเด็ก  ทั้งด้านร่างกาย  อารมณ์และจิตใจ  สังคม  และสติปัญญา ปรับปรุงสนามเด็กเล่นให้มีเครื่องเล่นที่หลากหลายมากขึ้น จัดประสบการณ์การเรียนรู้  และการจัดกิจวัตรประจำวัน ด้วยเครื่องมือและวิธีการทีหลากหลาย เช่น
การสังเกต  การสอบถาม  การสำรวจ  และการวิเคราะห์ผลพัฒนาการของเด็ก  โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม  เพื่อได้นำผลการประเมินไปพัฒนาศักยภาพของเด็กและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย  และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด  มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 

          2. ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

มีผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ดังนี้

มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของผู้เรียน    

                  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ     

                  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

มาตรฐานที่ 3  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 

                  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

กระบวนการพัฒนา

          ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โรงเรียนมีการวางแผนพัฒนาการบริหารจัดการการศึกษาโดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  ดำเนินการกำหนดเป้าหมาย  วิสัยทัศน์  พันธกิจ  จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี จัดทำโครงการที่มีวัตถุประสงค์ครอบคลุมงานทั้ง 4 ฝ่ายงาน  มีการจัดกิจกรรมโดยได้รับความร่วมมือจากคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน มาเพื่อพัฒนาภูมิทัศน์ภายนอก  โดยการปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในสถานศึกษา  ติดกล้องวงจรปิดเพื่อช่วยในการดูแลสอดส่องสร้างความปลอดภัยให้กับนักเรียน  พร้อมทั้งส่งผลต่อดูแลความเรียบร้อยภายในสถานศึกษา  ส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพโดยเข้ารับการอบรมออนไลน์ และการอบรมเชิงปฏิบัติการจากหน่วยงานต้นสังกัด เข้าร่วมกิจกรรมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ  ส่งเสริมการจัดสภาพแวดล้อมทางทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน  จัดหาสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน  ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้โดยวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้และตัวชี้วัด จากหลักสูตรสถานศึกษา  วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล  จัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อให้ผู้เรียนฝึกกระบวนการคิด ออกแบบบูรณาการจัดกิจกรรมการเรียนให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติขณะเรียนอยู่ที่บ้านร่วมกับครอบครัวได้  ให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย  ทั้งผ่านอินเตอร์เน็ตและปราชญ์ชาวบ้านหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น  ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา จัดกิจกรรมการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทุกระดับชั้น  ส่งเสริมทักษะชีวิต  ทักษะการทำงาน  เพื่อส่งเสริมการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพให้กับนักเรียน

ผลการพัฒนา

          ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนมีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา  แผนปฏิบัติการประจำปี  มีเป้าหมาย  วิสัยทัศน์  พันธกิจที่สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของชุมชนโดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  มีความเข้มแข็งในการบริหารงานทั้ง 4 กลุ่มงาน ส่งผลให้สถานศึกษาบริหารจัดการได้อย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ  มีการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปี  มีผลการดำเนินงานบรรลุตามค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้  ครูและบุคลากรทุกคนมีขวัญและกำลังใจ  ปฏิบัติงานในความรับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ  มีอาคารเรียน แหล่งเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมทั่วไปพร้อมจะใช้เป็นสถานที่ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน นักเรียนรู้สึกปลอดภัย มีการจัดสภาพบรรยากาศให้เป็นห้องเรียนเชิงบวก นักเรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ เรียนรู้อย่างมีความสุข  ทุกห้องเรียนมีเครื่องรับโทรทัศน์และกล่องรับสัญญาณอินเตอร์เน็ตสำหรับใช้ในการเรียนการสอน มีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงครอบคลุมทุกห้องเรียน 
ครูจัด
การเรียนรู้แบบ Active Learning ที่เน้นกระบวนการคิดให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง  นักเรียนได้เรียนรู้โดยสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย สามารถค้นหาความรู้จนสามารถสรุปและสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่และปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้  ครูมีสื่อการสอนที่ทันสมัย  ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับดีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 91.18  ซึ่งสูงกว่าค่าเป้าหมายที่วางไว้  ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (ONET) วิชาภาษาไทยและวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ และสูงกว่าค่าป้าหมายที่วางไว้  ผลการทดสอบการอ่านระดับ (RT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ  ผลการทดสอบ NT ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ  นักเรียนมีคุณธรรม  จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์เป็นไปตามเป้าหมายของหลักสูตร  มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรตที่ 21  มีความภูมิใจในความเป็นไทย  และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข

วงรี: จจุดเด่นของสถานศึกษา  

          ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนมีการวางแผนพัฒนาการบริหารจัดการการศึกษา  โดยใช้รูปแบบการบริหารแบบ 3P4S  for sufficiency school  โดยนำมาเชื่อมโยงกับวงจรคุณภาพของเดมิ่ง (PDCA) มาใช้ในการบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา ครู นักเรียน ชุมชน และผู้เกี่ยวข้องทุกคนได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ปฏิบัติงานตามบทบาทและหน้าที่ของตนเองและมีความเข้มแข็งในการบริหารงานทั้ง 4 กลุ่มงาน  ส่งผลให้สถานศึกษาบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ครูผู้สอนมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำงานและพัฒนาการสอนอยู่เสมอ  โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการคิด การสื่อสาร การแก้ปัญหา และฝึกปฏิบัติจริง   มีการเรียนการสอนโดยใช้ DLTV เป็นสื่อ  ส่งเสริมการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้  มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก  มีการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ  ส่งผลให้การทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (ONET)  วิชาภาษาไทยและวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศและสูงกว่าค่าเป้าหมายที่วางไว้  ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ  (National  Test : NT)  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ  ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านออกของผู้เรียน  (Reading Test : RT)  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  มีคะแนนสูงคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ  และยังส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับดีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 91.18  ซึ่งสูงกว่าค่าเป้าหมายที่วางไว้

จุดที่ควรพัฒนาของสถานศึกษา

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โรงเรียนควรจะเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้มากขึ้น   จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เพียงพอเพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน  ส่งเสริมและพัฒนาความสามารถด้านการอ่านการเขียนและการคิดคำนวณของนักเรียนทุกระดับชั้นอย่างต่อเนื่อง  ควรส่งเสริมให้ครูเข้าร่วมการอบรมพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ทั้งแบบอบรมออนไลน์และเข้าร่วมอบรมกับหน่วยงานต้นสังกัด

แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

วงรี: ฉ          ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนมีแนวทางในการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น  โดยเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้มากขึ้น  พัฒนาความสามารถด้านการอ่าน การเขียนและการคิดคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 -  6  ส่งเสริมทักษะพื้นฐานให้กับนักเรียนทุกระดับชั้น  ปรับวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลให้สอดคล้องกับความแตกต่างและความต้องการของผู้เรียน  พัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  ใช้สื่อ DLTV ให้เกิดประโยชน์กับการจัดการเรียนการสอนทุกระดับชั้น  ส่งเสริมให้ครูผู้สอนตระหนักถึงความสำคัญของการแก้ปัญหาผู้เรียนโดยวิธีการวิจัยในขั้นเรียนให้มากยิ่งขึ้น  ส่งเสริมให้ครูเข้าร่วมการอบรมพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยในชั้นเรียน  เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ทั้งแบบอบรมออนไลน์และเข้าร่วมอบรมกับหน่วยงานต้นสังกัด  ปรับปรุงฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนและชุมชน จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เพียงพอเพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่อไป

 

                                                            นางสุมาลี    เดชะ

                                                         ครูโรงเรียนบ้านโพธิ์น้อย

                                        รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโพธิ์น้อย

 

 



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     โครงการ "สุขาดี มีความสุข" 10 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566 2 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2566 1 มิ.ย. 2567
     การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 29 พ.ค. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566 25 พ.ค. 2567


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.