[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านไสต้นวา
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านไสต้นวา
วันที่   15   พฤษภาคม   2567
เข้าชม : 40
Bookmark and Share


ข้อมูลพื้นฐานสถานศึกษา

          โรงเรียนบ้านไสต้นวา ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต2  ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นายอาดูรย์  เต็มพร้อม เบอร์โทรศัพท์  081-6953901 เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  จำนวนครู  10  คน จำแนกเป็นข้าราชการครู  9 คน ครูพี่เลี้ยง (อัตราจ้าง) (งบโรงเรียน) 1 คน  ได้รับการประกันคุณภาพภายนอก  (พ.ศ. 2564 -2568) จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) การศึกษาปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ตั้งแต่วันที่  23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 มีการจัดการศึกษา 2 ระดับคือ

          1. ระดับการศึกษาปฐมวัย มีครูจำนวน 2 คน ข้าราชการครู 1 คน ครูพี่เลี้ยง 1 คน นักเรียนจำนวน              37 คน

          2. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : ประถมศึกษา  มีครู จำนวน  8 คน นักเรียนจำนวน 86 คน รวมทั้งสถานศึกษา  มีบุคลากรครูจำนวน 10 คน ผู้เรียน จำนวน  123 คน 

 

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566

 

1.ระดับการศึกษาปฐมวัย สรุปผลการประเมินในภาพรวมของสถานศึกษา ระดับดีเลิศ

          1.1มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก                                  มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ

          1.2มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ            มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ

          1.3มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ      มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ

กระบวนการพัฒนา

          1.1 มีพัฒนาการด้านร่างกาย โรงเรียนบ้านไสต้นวาจัดให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ ส่งผลให้เด็กร้อยละ 90 มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ยอดเยี่ยม โรงเรียนจัดให้เด็กได้รับประทานอาหารที่สะอาดถูกสุขลักษณะ                  ปริมาณเหมาะสมตามวัย มีการควบคุมดูแลให้เด็กดื่มนมเป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ มีการชั่งน้ำหนัก                    วัดส่วนสูง เดือนละ 1 ครั้ง มีกิจกรรมออกกำลังกายหน้าเสาธงก่อนเข้าเรียนทุกวัน จัดหา อุปกรณ์ ซ่อมแซมสนามเด็กเล่นให้มีความปลอดภัย สะดวก พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา ไม่มีจุดที่เป็นอันตราย มีกฎ กติกา ข้อตกลง            ในการดูแลตนเองให้ปลอดภัย หลีกเลี่ยงจากอันตราย มีการจัดกิจกรรมสุขภาพดีมีสุขเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายให้กับเด็ก และได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลสิเกาในการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยของเด็ก

          1.2 มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้ ส่งผลให้เด็กร้อยล่ะ 80                มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้ดีเลิศ   

          1.3 มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเองและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ส่งผลให้เด็กร้อยล่ะ 80                 มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมได้ดีเลิศ

กล่องข้อความ: ข          1.4 มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ ส่งผลให้เด็ก ร้อยละ 80 มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ดีเลิศ

 

ผลการพัฒนา

          ผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566 ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ทั้ง 3 มาตรฐาน เนื่องจากผลการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ เด็กมีสุขภาพแข็งแรงและมีสมรรถภาพทางกาย สุขนิสัยที่ดีในการรักษาสุขภาพและอนามัย รู้จักปฏิเสธสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายรู้จักการหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติดให้โทษ สิ่งมอมเมาต่างๆ เด็กมีความมั่นใจในตนเองกล้าแสดงออกและสามารถแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับวัย ทำให้เด็กมีความร่าเริงยิ้มแย้มแจ่มใสมีความสุข มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่นเด็กรู้จักการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่มและของชั้นเรียน                   ทำตามข้อตกลงของชั้นเรียน ทิ้งขยะในที่ที่จัดให้ รวมถึงการแบ่งปันและช่วยเหลือผู้อื่นตามโอกาส รู้จักประหยัด รู้จักใช้และรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มีมารยาทและปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมไทย รวมถึงการแบ่งปันและช่วยเหลือผู้อื่นตามโอกาส เด็กสามารถนำเสนอผลงานด้วยภาษาที่เหมาะสมตามวัยจากการเล่น การกระตุ้นของครู และจากชีวิตประจำวัน รวมถึงการที่เด็กมีจินตนาการและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถเล่าเรื่อง วาดภาพ อธิบายจินตนาการของตนเองได้ เด็กมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน เคลื่อนไหวร่างกายคล่องแคล่วทรงตัวได้ดี ใช้มือและตาประสานสัมพันธ์

จุดเด่น

          เด็กมีร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์  มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์               มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีอารมณ์แจ่มใส               ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีสติปัญญาเรียนรู้ได้ตามกิจกรรมประจำวันอย่างดี

จุดที่ควรพัฒนา

          การพัฒนา ปลูกฝังในเรื่องสุขนิสัยที่ดี เช่น การล้างมือก่อนรับประทานอาหาร ล้างมือก่อนออกจากห้องน้ำ ห้องส้วม และการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้เป็นนิสัย

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

          โรงเรียนมีแผนจะพัฒนาตนเองต่อไปเพื่อให้ได้มาตรฐานที่ดีขึ้นกว่าเดิม 1 ระดับ  ดังนี้

 แผนปฏิบัติงานที่ 1 กิจกรรมส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนระดับปฐมวัย โดยส่งเสริมกิจกรรมบ้าน               นักวิทย์ เพื่อพัฒนามาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ด้านคุณภาพของเด็ก ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ  และด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญให้มีคุณภาพ

แผนปฏิบัติงานที่ 2 พัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ตอบสนองความต้องการของเด็กสังคม ชุมชน               และวัฒนธรรมไทย ให้เด็กมีทักษะชีวิต ปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นคนดี มีวินัย และมีความสุข พัฒนาเด็กโดยองค์รวม เน้นเด็กเป็นสำคัญ ผ่านการเล่นและกิจกรรมที่หลากหลาย เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560                 จัดกล่องข้อความ: คประสบการณ์การเรียนรูปแบบ STEM ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิต             ให้ผู้เรียนมีนวัตกรรมและชิ้นงาน

 แผนปฏิบัติงานที่ 3 พัฒนาครูผู้สอนให้มีประสิทธิภาพในการสอน ก้าวทันเทคโนโลยีมีระบบนิเทศ                     การสอนเพื่อช่วยเหลือ แก้ปัญหา ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน

 แผนปฏิบัติงานที่ 4 โครงการสนับสนุนให้เด็กมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้ จัดกิจกรรมเวทีพัฒนาศักยภาพ เพื่อส่งเสริมศักยภาพเด็กปฐมวัยตรงตามความต้องการของเด็ก ผู้ปกครอง และชุมชน

 

2. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สรุปผลการประเมินในภาพรวมของสถานศึกษา ระดับ ยอดเยี่ย

          1.1 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน                          มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ

          1.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ        มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม

1.3 มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

กระบวนการพัฒนา

            โรงเรียนบริหารจัดการอย่างเป็นระบบที่เน้นให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ                   มีเป้าหมายอย่างชัดเจน มีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ แผนปฏิบัติการประจำปี เน้นการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองความต้องการของชุมชน นโยบายการศึกษา มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานของหลักสูตรสถานศึกษา มุ่งเน้นพัฒนาครูให้มีความเป็นมืออาชีพ เน้นทักษะการสอนอย่างมีคุณภาพ ผู้ปกครองให้ความร่วมมือ และมีความพึงพอใจกับการเรียนการสอน ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ มีการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงาน และจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง และรายงานผลการจัดการศึกษาทุกชั้น

 

ผลการพัฒนา

          ผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ประกาศไว้ทั้ง 3 มาตรฐาน ผลสัมฤทธิ์เป็นที่น่าพึงพอใจของผู้ปกครองและชุมชน เช่น ผลการสอบเข้าโรงเรียนมัธยมได้ลำดับที่เป็นที่น่าพึงพอใจของผู้ปกครอง และสอบเข้าห้องเรียนพิเศษ  โรงเรียนมัธยมประจำอำเภอได้ ผลการทดสอบ  NT และ RT มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าทุกระดับ เนื่องมาจากการดำเนินงานตามโครงการและจัดทำกิจกรรมต่างๆ ได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ผู้เรียนมีคุณภาพ มีพัฒนาการเหมาะสมกับวัย มีความรู้ที่เหมาะสมกับชั้นเรียน มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีระเบียบวินัย มีจิตสาธารณะ ใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ทำให้นักเรียนโรงเรียนบ้านไสต้นวา  มีผลสัมฤทธิ์สูงเป็นลำดับต้นๆ ของสำนักงานเขตพื้นที่ฯ เสมอมา 

 

 

 

กล่องข้อความ: งจุดเด่น

  การจัดการเรียนการสอน ทั้งปีการศึกษา 2566 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 -  ชั้นประถมศึกษา            ปีที่ 6 ในภาพรวมของสถานศึกษาอ่านออก เขียนได้ มีความสามารถด้านคิดคำนวณ เนื่องจากมีการเรียนซ่อมเสริมเป็นรายบุคคลให้เต็มตามศักยภาพ  มีการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนทุกชั้น นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีน้ำหนัก ส่วนสูง ตามเกณฑ์มาตรฐาน  ผู้เรียนมีสุขภาพจิตที่ดี  ผู้เรียนสามารถหลีกเลี่ยงยาเสพติด ผู้เรียนร่วมกันอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น  ช่วยทำความสะอาดบริเวณ โรงเรียนและชุมชน 

จุดที่ควรพัฒนา

พัฒนาการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2566 ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ด้วยปัจจัยหลายๆ ประการ เช่น ความพร้อมของผู้ปกครองแต่ละครอบครัวแตกต่างกัน ความพร้อมของตัวผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนกลุ่มนี้มีพัฒนาที่ล่าช้ากว่านักเรียนคนอื่นๆ ในห้องเดียวกัน ดังนั้น การดำเนินงานตามมาตรฐานนี้โดยเฉพาะการวางแผนพัฒนาผู้เรียนกลุ่มนี้อย่างจริงจัง และต่อเนื่อง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

 

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

แผนปฏิบัติงานที่ 1 พัฒนาครูผู้สอนให้มีประสิทธิภาพในการสอน มีระบบนิเทศการสอนให้คำแนะนำและช่วยเหลือ พัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีได้เป็นอย่างดี เพื่อส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน

แผนปฏิบัติงานที่ 2 ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบ Active Leaning และ STEM ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิต ให้ผู้เรียนมีนวัตกรรมและชิ้นงาน

แผนปฏิบัติงานที่ 3 ปรับปรุงห้องเรียน ห้องปฏิบัติการสอน ให้มีบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยมีสื่อการสอนเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย

แผนปฏิบัติงานที่ 4 ปรับปรุงภูมิทัศน์ของโรงเรียน ทางเดิน ที่จอดรถ ตีเส้นการจราจร ปรับปรุงอาคาร สถานที่ ทาสีให้สวยงาม และมีความปลอดภัยต่อผู้เรียน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กล่องข้อความ: จคำนำ

 

รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566 ฉบับนี้ โรงเรียนบ้านไสต้นวา ได้จัดทำขึ้น ตามกฎกระทรวง ว่าด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 ข้อ 3 ที่ระบุให้สถานศึกษา แต่ละแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยการกำหนดมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษา               ให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด พร้อมทั้งจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของ สถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ จัดให้มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนา สถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และจัดส่งรายงานผล             การประเมินตนเอง ให้แก่หน่วยงาน ต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษาเป็นประจำทุกปี

เอกสารรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาฉบับนี้ ประกอบส่วนสำคัญ คือ บทสรุปของผู้บริหาร สถานศึกษา ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา  ส่วนที่ 2 ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ส่วนที่ 3 ภาคผนวก

โรงเรียนบ้านไสต้นวา ขอขอบคุณคณะกรรมการดำเนินงานและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งภายใน และภายนอกโรงเรียนที่มีส่วนร่วมในการจัดทำเอกสารรายงานฉบับนี้ และหวังว่าเอกสารรายงานฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาในปีถัดไป และเป็นฐานข้อมูลในการกำหนดนโยบายการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและของเขตพื้นที่การศึกษา ตลอดจนเพื่อประโยชน์ ในการรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาซน) ต่อไป

                                                                  

                                                                                      โรงเรียนบ้านไสต้นวา

                                                                                          เมษายน 2567

 

 

 

 

 

 

กล่องข้อความ: ฉสารบัญ

  เรื่อง                                                                                                          หน้า

          บทสรุปสำหรับผู้บริหาร                                                                                  

คำนำ                                                                                                     

สารบัญ                                                                                                   

ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา                                                                          1

1.1 ข้อมูลบุคลากรของสถานศึกษา                                                                       1

1.2 จำนวนบุคลากรแยกตามเพศ และวุฒิการศึกษาสูงสุด                                               2

1.3 ข้อมูลผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษา  (ข้อมูล ณ 10 พฤศจิกายน 2566)                           2

1.4 จำนวนนักเรียนที่มีลักษณะพิเศษ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน                                       3

1.5 จำนวนนักเรียนที่จบหลักสูตร ปีการศึกษา 2566                                                    3

1.6 ผลการประเมินระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน                                                           4

1.7 ผลการอ่านของผู้เรียน (Reading Test : RT)                                                       9

1.8 ผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NationalTest : NT)   11

1.9 ข้อมูลสภาพชุมชนโดยรวม                                                                           12

ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัย   ปีการศึกษา 2566            13

ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ปีการศึกษา 2566          14

 

ส่วนที่ 2 ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

          1.ระดับการศึกษาปฐมวัย

             มาตรฐานที่  1   คุณภาพของเด็ก                                                                     15 

             มาตรฐานที่  2   กระบวนการบริหารและการจัดการ                                                 15 

             มาตรฐานที่  3   การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ                                           19

             สรุปผลการประเมินในภาพรวม                                                                        21

             แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น                                           21

2. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน                                                                                      

   มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน                                                                      26 

   มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ                                                    47

   มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ                             57

   สรุปผลการประเมินในภาพรวม                                                                        66





กล่องข้อความ: ชสารบัญ (ต่อ)

  เรื่อง                                                                                                          หน้า

 

ส่วนที่ 3 ภาคผนวก                                                                                            

          1. ตารางการเปรียบเทียบผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานฯระดับปฐมวัย                             69

          2. ตารางการเปรียบเทียบผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานฯระดับขั้นพื้นฐาน                         71    3. ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา                   73

          4. รายงานการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้การเห็นชอบรายงานการประเมิน  

              ตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566                                                           74

          5. บันทึกให้การเห็นชอบรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566              77

6. สำเนาเอกสารการเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566         78

7. ประกาศใช้มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาระดับปฐมวัย ปีการศึกษา 2566                    79

8. ประกาศใช้มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2566                81 

          9. ประกาศค่าเป้าหมายมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาระดับปฐมวัย                              82

          10. ประกาศค่าเป้าหมายมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน                         84

          11. แบบสรุปผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย                                 87 

12. แบบสรุปผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน                                    89

13. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดจำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา                       91

14. หนังสือรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา                                             92

 

 



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     โครงการ "สุขาดี มีความสุข" 10 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566 2 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2566 1 มิ.ย. 2567
     การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 29 พ.ค. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566 25 พ.ค. 2567


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.