[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านพระม่วง
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านพระม่วง
วันที่   15   พฤษภาคม   2567
เข้าชม : 181
Bookmark and Share


 บทสรุปของผู้บริหาร

 

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 

ชื่อโรงเรียนบ้านพระม่วง  ที่อยู่ 60/1  หมู่ 4  ตำบลนาเกลือ  อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2    สำนักงานคณะกรรมการ้ศึกษาขั้นพื้นฐาน   กระทรวงศึกษาธิการ 

ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เปิดจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่  2  ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  6

ชื่อผู้บริหารโรงเรียน  นางณัฐศรี  ชูช่วย   เบอร์โทรศัพท์ 086 267 6899  จำนวนครู  8  คน  จำแนกเป็น ข้าราชการครู  5   คน  พนักงานราชการ  1 คน  ครูอัตราจ้าง  1  คน วิทยากรอิสลาม 1 คน  เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน ภารโรง 1 คน มีการจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานดังนี้

          ระดับก่อนประถมศึกษา (ชั้นอนุบาล 2-3)     จำนวน 33  คน

ระดับประถมศึกษา(ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6) จำนวน  84   คน  

จำนวนนักเรียน   รวม 117 คน

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

1.      ระดับการศึกษาปฐมวัย

     1.1  มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของเด็ก                                       มีผลการประเมินอยู่ในระดับ   ดีเลิศ

     1.2  มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ                 มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

     1.3  มาตรฐานที่ 3  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ        มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของเด็ก   ผลการประเมิณอยู่ในระดับ ดีเลิศ

1. กระบวนการพัฒนา                                

โรงเรียนบ้านพระม่วง ได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็กตามแนวทางการจัดการเรียนการสอนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีรูปแบบการจัดการเรียนสอนเป็นไปตามพัฒนาการของเด็ก จะแบ่งออกเป็น 4 ด้านดังนี้ พัฒนาการด้านร่างกาย พัฒนาการด้านสติปัญญา พัฒนาการด้านอารมณ์ พัฒนาการด้านสังคม ครูผู้สอนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยวิธี การเทคนิค รูปแบบที่ทันสมัย น่าสนใจ Active Learning เป็นการเรียน     การสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่การคิด การแก้ปัญหา การนำความรู้ไป ประยุกต์ใช้ เป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเองครูจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ออกแบบกิจกรรมที่หลากหลาย มีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยการจัดโครงการ กิจกรรมในการพัฒนาเด็กอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนา      การด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เหมาะสมกับวัยและเป็นไปตามสภาพที่พึงประสงค์ สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และบรรลุตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

โรงเรียนบ้านพระม่วง ซึ่งเป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาในระดับการศึกษาปฐมวัยได้ศึกษาและพัฒนารูปแบบ   การสอนที่สอดคล้องกับบริบท ความพร้อมและความต้องการของผู้ปกครอง จึงเลือกใช้วิธีการสอนโดยจัด     การเรียนการสอนแบบ Active Learning เป็นการเรียนการสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่การคิด       การแก้ปัญหา การนำความรู้ไป ประยุกต์ใช้ เป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมใน          การเรียนรู้ ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเองครูจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ออกแบบกิจกรรมที่หลากหลาย มีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยการจัดโครงการ กิจกรรมในการพัฒนาเด็กอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เหมาะสมกับวัยและเป็นไปตามสภาพที่พึงประสงค์ สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และบรรลุตามเป้าหมายที่สถานศึกษามุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

 2. ผลการพัฒนา                                                                                                                    

เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนัก ส่วนสูง และสมรรถภาพตามเกณฑ์มาตรฐานมีทักษะการเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็กประสานสัมพันธ์กัน มีสุขนิสัยการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยที่ดีและปฏิบัติจนเป็นนิสัยได้ ปฏิบัติตนในการหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัย และ สิ่งเสพติด มีพฤติกรรมร่าเริงแจ่มใส รู้จักยอมรับ ชื่นชม และพอใจในความสามารถ และผลงานของตนเองและผู้อื่น กล้าพูด กล้าแสดงออก เหมาะสมกับวัย รู้จักช่วยเหลือแบ่งปันผู้อื่นตามโอกาส ช่วยเหลือตนเองใน     การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เหมาะสมกับวัย รู้จักปฏิบัติตนได้ตามมารยาทไทย มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้ มีทักษะทางภาษาที่เหมาะสมกับวัย รู้จักคิดแก้ปัญหาตัดสินใจในเรื่องง่าย ๆ ได้ และมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สนใจเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว สร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง และแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย  

3. จุดเด่น                                                                                                                             

          เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา บรรลุตามเป้าหมายสถานศึกษา               กำหนด มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตร มีโครงการกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาให้บรรลุเป้าหมาย ปรัชญา  วิสัยทัศน์และจุดเน้นการศึกษาปฐมวัย มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการแบบองค์รวมซึ่งเกิดจากการมีส่วนร่วมของครู ผู้บริหารและผู้ปกครองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

 

 4. จุดควรพัฒนา

         4.1 ควรส่งเสริมให้เด็กดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของตนเองและปฏิบัติจนเป็นนิสัยดูแลเด็กให้รู้จัก  การหลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงอันตรายต่อร่างกาย
           4.2
ควรส่งเสริมให้เด็กรู้จักการไหว้การยิ้มทักทายมีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่  การมีมารยาท ในการพูด การรู้จักใช้คำพูดขอบคุณ ขอโทษ การใช้วาจาสุภาพเหมาะสมกับวัย

 4.3 ครูพัฒนาเทคนิคการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา คิด สร้างสรรค์ และส่งเสริมด้านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานบ้านวิทยาศาสตร์น้อยอย่างต่อเนื่อง เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมศักยภาพให้เต็มความสามารถของนักเรียน

5. แผนการดำเนินการเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

5.1 พัฒนาเกี่ยวกับการใฝ่เรียน ใฝ่รู้ สนใจเรียนรู้รอบตัว การซักถาม สำรวจ ทดลอง   การรสังเกต    การพูดคุย ไต่ถาม การถ่ายทอดความคิด และทดลองวิธีการใหม่ ๆ ที่แตกต่าง
          5.2
ส่งเสริมให้เด็กได้ใช้สื่อเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ให้มากขึ้นและพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถในการใช้สื่อเทคโนโลยีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กับเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ

                                                                                             

มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

 

 1 .กระบวนการพัฒนา

สถานศึกษามีการจัดทำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาและมีความถูกต้องตามหลักการ  การจัดการศึกษาระดับปฐมวัย มีวิธีการ แนวทาง และแนวปฏิบัติในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยเพื่อพัฒนาให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถ และความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยมีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาและนำสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบและกลไกให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายตระหนักและเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย มีการจัดกิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้และความเข้าใจหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย มีการสร้างการมีส่วนร่วมและแสวงหาความร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชน และท้องถิ่น  ซึ่งส่งผลให้ครูด้านการศึกษาปฐมวัยมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย  มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล  มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรม  ทักษะการสังเกต และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง   มีสื่อเทคโนโลยีใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ  มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย  และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี  มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง 

2. ผลการพัฒนา  

          โรงเรียนบ้านพระม่วง ได้จัดครูที่จบตรงเอกปฐมวัย และเพียงพอต่อจำนวนเด็กปฐมวัย ส่งเสริมให้ครูปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานตำแหน่งตรงตามสาขาวิชาเอก ด้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเทการสอนอย่างเต็มเวลา และเต็มความสามารถเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตร โดยกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่ชัดเจน ศึกษาและวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมและนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้และประเมินผลที่มุ่งเน้นพัฒนาการของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ให้คำแนะนำ คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาผู้เรียนอย่างทั่วถึง ตลอดจนพัฒนาการจัดการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนโดยการกระบวนการวิจัยอย่างต่อเนื่องอย่างพอเพียงกับชั้นเรียน  ส่งผลให้คุณภาพอยู่ในระดับ   ดีเลิศ

 3. จุดเด่น       

          สถานศึกษาได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองให้มีการจัดการเรียนรู้ที่เอื้อต่อพัฒนาการเด็ก มีสื่อเทคโนโลยี และโรงเรียนมีหลักสูตรปฐมวัยที่สอดคล้องกับความต้องการพัฒนาการเด็ก แหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่เหมาะสมและพอเพียงนอกจากนี้ครูมีประสบการณ์ในการสอนและสามารถจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับเด็ก

 4. จุดควรพัฒนา   

4.1 ใช้สื่อและเทคโนโลยีการสอนที่หลากหลายสอดคล้องกับการจัดประสบการณ์และพัฒนาการของเด็ก

          4.2 จัดกิจกรรม PLC ในสายชั้นอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

5.แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น

5.1 สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา

5.2 ส่งเสริมและพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมแบบ Active Learning กิจกรรมโครงงาน กิจกรรมสะเต็มศึกษา ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน อย่างต่อเนื่อง

 มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

1.กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนบ้านพระม่วง มีการกำหนดให้ครูจัดทำแผนประสบการณ์ โดยทำการส่งล่วงหน้าก่อน 1 สัปดาห์ เพื่อสนับสนุนพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน โดยให้ครูผู้สอนจัดประสบการณ์ จัดกิจกรรม     การเรียนการสอนที่หลากหลาย ส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาทางด้านร่างกาย เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว มีการประสานสัมพันธ์กันของกล้ามเนื้อใหญ่-กล้ามเนื้อเล็ก ใช้กล้ามเนื้อเล็กประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาได้ตามวัย อารมณ์ดี ร่าเริงแจ่มใส สามารถร่วมเล่นและทำงานกับผู้อื่นได้ มีน้ำใจ รู้จัก       การเอื้อเฟื้อ แบ่งปัน รู้จักการรอคอยก่อน หลัง รู้จักซักถามในสิ่งที่อยากรู้เพื่อค้นหาความรู้หรือเหตุผลและรักการเรียนรู้ มุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ด้วยวิธีการต่างๆ ที่เหมาะสมกับวัย  ฝึกการคิดแก้ปัญหาและสามารถตัดสินในเรื่องง่าย ๆ ได้ เด็กบอกลักษณะ คุณสมบัติ ความเหมือน ความแตกต่างๆ จำแนกประเภท จัดหมวดหมู่และบอกความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆพูด/บอก/เล่า ความต้องการ ความรู้สึกของตนเองและถ่ายทอดเรื่องราวให้ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจได้เหมาะสมกับวัย โดยการส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างมีคุณภาพ โดยได้จัดโครงการ/กิจกรรม ดังนี้ การจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมที่มุ่งพัฒนาในทุกด้าน ในด้านร่างกาย อารมณ์  สังคม และ สติปัญญา เปิดโอกาสให้เด็กได้ปฏิบัติลงมือ ค้นหาความรู้ และคำตอบด้วยตนเอง สร้างพฤติกรรมการรอคอย ในการทำกิจกรรมต่างๆ ฝึกให้เด็กได้รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย อบรมนิสัย และมารยาทที่ดีงามให้เด็ก จาก      การอ่านนิทานให้เด็กๆฟัง ทุกเช้าและก่อนนอนตอนเที่ยง และการฝึกการปฏิบัติตนเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ฝึกให้เด็กรู้จักการแก้ปัญหา ใช้ความคิด เสนอความคิดเห็น และการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น จัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

2.ผลการพัฒนา

ครูจัดประสบการณ์ให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา อย่างสมดุลเต็มศักยภาพ เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเล่นและปฏิบัติกิจกรรม เรียนรู้ลงมือปฏิบัติผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า สามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข ครูสามารถจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน และเอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้เด็ก ครูมีการประเมินพัฒนาการเด็ก     โดยวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล จากกิจกรรม และกิจวัตรประจำวันด้วยเครื่องมือการวัด และวิธีการที่หลากหลาย ครอบคลุม เหมาะสมกับวัยเด็ก ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย

3.จุดเด่น

จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลศักยภาพ โดย ครูมีการวิเคราะห์เป็นรายบุคคล มีการจัดทำแผนประสบการณ์จากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 3 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระ ตามความต้องการ ความสนใจ และความสามารถ ซึ่งกิจกรรมที่หลากหลายสามารถสนองตอบการเรียนรู้ของเด็กรายบุคคล เด็กได้เล่นเรียนรู้ ลงมือและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุง แก้ปัญหา และส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

4.จุดควรพัฒนา

          4.1 ครูจัดกิจกรรมให้เด็กแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

          4.2 การนำผลสะท้อนการจัดการเรียนการสอนของครู มาเป็นประเด็นในการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน          

          4.3 ครูควรได้รับการอบรมการพัฒนาศักยภาพของด้านการผลิตสื่อการสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  เพื่อเพิ่มประสบการณ์ให้ครูจัดประสบการณ์ให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  มีการติดตามและประเมินผลพัฒนาการเด็กอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 

5.แนวทางพัฒนาให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น

5.1 ส่งเสริม และพัฒนาการใช้สื่อเทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ให้มากกว่าเดิม

5.2 เชิญวิทยากรท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง  เล่นและปฏิบัติกิจกรรม เรียนรู้  ลงมือทำ  และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข

         

2.   ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1.1  มาตรฐานที่ 1  ด้านคุณภาพผู้เรียน                      มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

1.2  มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ          มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

1.3  มาตรฐานที่ 3  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ     

มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของผู้เรียน  ผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

1.    กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนบ้านพระม่วงส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ               โดย การดำเนินงานและกิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการ ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ(ฉบับปรับปรุงพ.ศ.2560) เพื่อให้ครูใช้เป็นกรอบในการจัดการเรียนการสอน   การพัฒนาผู้เรียน ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายที่ว่า           “การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ซึ่งสอดรับกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ได้มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข ดังนั้นโรงเรียนบ้านบ้านพระม่วงจึงกำหนดมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียนจำนวน 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ   2) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน  ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถใน     การอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ รวมทั้งการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา  มีความสามารถในการวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถใน   การสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ        การสื่อสาร และการมีความรู้  ทักษะพื้นฐาน เจตคติที่ดีต่องานอาชีพ  สำหรับด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด และ มีสุขภาวะทางร่างกายและสังคม ความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทยการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

นอกจากนี้ โรงเรียนบ้านพระม่วงมีกระบวนการพัฒนาผู้เรียน โดยการดำเนินการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เน้นการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม ที่เหมาะสมกับวัยของ ผู้เรียนมีระบบการแนะแนว และการดูแลสุขภาวะจิต นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมกันวางแผนการจัดการเรียน   การสอน และมีการเรียนรู้ในโลกกว้าง การเข้าไปศึกษากับภูมิปัญญาในขุมซนรอบๆ สถานศึกษา ส่งเสริม     การออกกำลังกาย และเพิ่มเวลารู้เรื่องอาชีพ เซ่น การทำกะปิ การผลิตของใช้จากวัสดุในท้องถิ่น การทำประมงอวนปู   เป็นต้น

2.  ผลการพัฒนา

จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการจัดกิจกรรมโครงการที่หลากหลายของโรงเรียนบ้านพระม่วง  ส่งผลให้เกิดการพัฒนาในด้านผลผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน  ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ  ผู้เรียนมีความรู้  ทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร เมื่อวัดประเมินผลพบว่าผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน  การฟัง การดู  มีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการดีขึ้น  นักเรียนสามารถอ่านออกและอ่านคล่องตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้น สามารถเขียนสื่อสาร  และคิดคำนวณได้ดี  มีทักษะการคิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ  มีสมรรถนะผู้เรียนทั้ง 5 ด้าน ในระดับดีเลิศ  

          โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียนให้ผู้เรียนมีสุขภาพทางกาย น้ำหนัก ส่วนสูง ตามเกณฑ์ ปลอดจากสารเสพติดและอบายมุข ตลอดจนมีสุนทรียภาพทั้งทางด้านศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ กีฬา และกิจกรรมส่งเสริม   การอ่าน เช่น กิจกรรมอ่านข่าวเล่าเรื่อง กิจกรรมรักการอ่าน  ส่งผลให้ผู้เรียนได้แสดงออกถึงนิสัยรักการอ่าน สามารถอ่านหนังสือ บทความ หรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองด้วยความสนใจ ผู้เรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ด้วยการเข้าใช้บริการห้องสมุด  ผู้เรียนค้นคว้าหาความรู้รอบตัว พูดคุยซักถาม แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับผู้อื่นได้ ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนรู้

          นอกจากนี้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อฝึกทักษะพื้นฐานด้านภาษา ทักษะด้านอาชีพและส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนนั้น ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถพัฒนางาน วางแผนการทำงานจนสำเร็จ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตย  กล้าแสดงออก  และแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์ได้อย่างสร้างสรรค์     สามารถสืบค้นข้อมูลหรือแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีได้ด้วยตนเอง  รู้เท่าทันสื่อและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  อีกทั้งมีความมุ่งมั่นพัฒนางาน และจากการจัดกิจกรรม         การเรียนรู้ดังกล่าว     ทำให้มีการสร้างสรรค์ผลงาน และนำเสนอผลงานอย่างภาคภูมิใจ ทำงานอย่างมีความสุข และสามารถทำงานกับผู้อื่น มีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริต และหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพ

3.  จุดเด่น

โรงเรียนบ้านพระม่วง มีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้กำหนดเป็นเป้าหมายทางการเรียนโดยใช้ข้อมูลฐาน 3 ปีย้อนหลังเป็นเป้าหมายคุณภาพนักเรียนให้พัฒนาสูงขึ้น จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้น       การปฏิบัติ เน้นทักษะในการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพ มีการจัดแหล่งเรียนรู้ภายในได้อย่างเหมาะสม  ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสมรรถภาพทางกายและน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีระเบียบวินัย จนเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา เป็นที่ยอมรับของขุมซนโดยรอบในเรื่อง ความมีวินัย เคารพกฎกติกา มารยาทของสังคม ได้แก่ การเข้าคิวขึ้นรับประทานอาหาร การมีสัมมาคารวะ   การมีทักษะใน   การทำงาน มีทักษะพื้นฐานด้านทักษะอาชีพ ทักษะการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีรายได้ระหว่างเรียนมีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมถึงได้ ฝึกทักษะทางด้านการทำการเกษตรปลูกผักสวนครัวในครัวเรือนของนักเรียน ทำให้นักเรียนมีความรู้ มีทักษะพื้นฐานงานอาชีพด้านการเกษตรพอเพียงและด้านทักษะการดำรงชีวิตมีคุณภาพ  นักเรียนโรงเรียนบ้านพระม่วง ร้อยละ 90 มีสุขภาพอนามัยที่ดี ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีความรู้ที่ถูกต้องด้านสุขภาพอนามัยสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันและแนะนำผู้อื่นได้

4. จุดที่ควรพัฒนา

การจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งผลสัมฤทธิ์บางกลุ่มสาระ   การเรียนรู้ยังต่ำกว่าค่าเป้าหมายและยังขาดการปฏิบัติที่ต่อเนื่อง จริงจัง  การยกระดับผลสัมฤทธิ์แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ยังต้องพัฒนาเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ยกระดับผลสัมฤทธิ์ระดับชาติRT,NTและ         O -NETให้สูงกว่าค่าเป้าหมายสถานศึกษา นักเรียนส่วนใหญ่ยังต้องได้รับการพัฒนาต่อไป ผลสัมฤทธิ์ระดับชาติของนักเรียนมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงพัฒนาขึ้นโดยรวม แต่ไม่ผ่านเกณฑ์เป้าหมายของสถานศึกษาในบางกลุ่มสาระการเรียนรู้ จึงต้องมุ่งเน้นพัฒนาต่อไป

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ควรเร่งพัฒนาด้านการอ่าน การเขียน  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่   2-6 ยังต้องเร่งพัฒนาการด้านการเขียน การคิดวิเคราะห์ การนำเสนอ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสมเหตุสมผล รวมทั้งกระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การักความเป็นไทย ให้เหมาะสมตามระดับชั้น

นักเรียนพิเศษจัดกิจกรรมด้านการอ่าน การเขียน คำนวณให้กับนักเรียนเรียนร่วม เปรียบเทียบความก้าวหน้าและการพัฒนาของนักเรียนเป็นรายบุคคล

5.  แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

          พัฒนาให้นักเรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณเป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดในแต่ระดับชั้น  พัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถในการคิดจำแนก แยกแยะ ใคร่ครวญไตร่ตรอง พิจารณาอย่างรอบคอบโดยใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล  มีความสามารถในการรวบรวมความรู้ได้ทั้งด้วยตนเองและการทำงานเป็นทีม เชื่อมโยงองค์ความรู้  สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเอง และสังคมในด้าน    การเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน อย่างสร้างสรรค์ และมีคุณธรรม และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างนวัตกรรมของตนเองได้  มีความก้าวหน้าในผลการทดสอบระดับชาติ มีความรู้ ทักษะพื้นฐานในการจัดการเจตคติที่ดีพร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้น มีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีคุณธรรม  จริยธรรม เคารพในกฎกติกามีความรู้ ความเข้าใจเข้าใจ เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีกระบวน   การคิด อย่างมีเหตุผล ซึมซับคุณค่าแห่งคุณธรรมความดีอย่างเป็นธรรมชาติสร้างความรู้สึกผิดชอบชั่วดี และภูมิใจในการทำความดี มีวินัย มีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความเมตตากรุณา โอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีจิตสาธารณะ

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ   ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

1.    กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาโดยการ ศึกษาข้อมูล สารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการ ปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็น จากบุคลากรในสถานศึกษาเพื่อวางแผน ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ ในการจัดการศึกษาของสถาน ศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการ ประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา พร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ มอบหมายงานให้ผู้รับผิดขอบ ดำเนินการพัฒนา ตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมิน ผลการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินงาน

2. ผลการพัฒนา 

           โรงเรียนบ้านพระม่วงมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ที่ชัดเจน มีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาลและของต้นสังกัด รวมทั้งทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม สามารถบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ ทั้งในส่วนการวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา การนำแผนไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีการติดตามตรวจสอบประเมินผลและปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีการบริหารอัตรากำลัง ทรัพยากรทางการศึกษา และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีระบบการนิเทศภายใน นำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนา บุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมการวางแผน ปรับปรุง และพัฒนา และร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาที่มีคุณภาพ ทันสมัย มีกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน โรงเรียนชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีสภาพแวดล้อมทางกายภาพทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคม ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ และมีความปลอดภัย ตลอดจนมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม

3. จุดเด่น

โรงเรียนบ้านพระม่วงมีการกำหนดเป้า วิสัยทัศน์และพันธกิจของสถานศึกษาที่ชัดเจน ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองและชุมชนร่วมกันบริหารและการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพอย่างเป็นระบบ โรงเรียนได้ใช้เทคนิคการประชุมที่หลากหลายวิธี เช่น การประชุมแบบมีส่วนร่วม การประชุมระดมสมอง     การประชุมกลุ่ม เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ที่ชัดเจน มีการ ปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ที่สอดคล้องกับผล การจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ที่มุ่งเน้น การพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรูได้อย่างมีคุณภาพ มี             การดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล  การดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา และโรงเรียนได้ใช้กระบวน วิจัยในการรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้เป็นฐานในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

4. จุดที่ควรพัฒนา

1. โรงเรียนควรพัฒนาครูและบุลลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ในการจัดชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) มาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน

2. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการ ศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน

3. สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพ การจัดการศึกษา

5. แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

          ศึกษาเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจของสถานศึกษาและพัฒนาการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี โดยเพิ่มโครงการ/กิจกรรมให้ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 พัฒนาการบริหารจัดการเกี่ยวกับงานวิชาการในการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นที่เน้นทักษะงานอาชีพในท้องถิ่นให้มากขึ้น  สนับสนุนให้ครูให้ได้เข้าร่วมการอบรมและได้สร้างนวัตกรรมใหม่ๆที่สร้างสรรค์ สามารถนำเสนอผลงาน อบรมการใช้โปรแกรมต่างๆคอมพิวเตอร์มาสร้างนวัตกรรมสำหรับใช้ในการจัดเรียนการสอน      ให้มากยิ่งขึ้น    มีการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมที่สอดคล้องกับกิจกรรมการจัด       การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนให้ดีขึ้นต่อไป

มาตรฐานที่ 3  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

1.  กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนบ้านพระม่วงส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  โดย         การดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการ ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ(ฉบับปรับปรุงพ.ศ.2560) ส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ (Active learning)  ให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและคงทน  ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา  ให้นักเรียนมีส่วนร่วม ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้มาปรับปรุง                  การจัดการเรียนรู้ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูจัดการวัดผลและประเมินผลตามสภาพจริงและมีเครื่องมือที่หลากหลาย ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมได้จริง ครูใช้สื่อ และแหล่งเรียนรู้ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เพื่อให้เด็กรัก     การเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข ครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำข้อมูลมาร่วมพัฒนาปรับปรุง   การจัดการเรียนรู้และสอนตามแผน ครูผลิตนวัตกรรม แผนการจัดการเรียนรู้ อีกทั้งปรับโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สัดส่วนคะแนนแต่ละหน่วย กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ สนับสนุนให้ครูจัด   การเรียน    การสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง  จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด เช่น จัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน ครูมี  การมอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนจัดป้ายนิเทศ และบรรยากาศตามสถานที่ต่าง ๆทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ครูใช้สื่อการเรียน  การสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อ  การสอนที่ใช้ครูทุกคนทำงานวิจัยในชั้นเรียน ปีการศึกษาละ  1 เรื่อง  

2. ผลการพัฒนา 

          ครูโรงเรียนบ้านพระม่วงจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา      ที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปจัดกิจกรรมได้จริงมีรูปแบบการจัดการเรียนรู้เฉพาะสำหรับผู้ที่มีความจำเป็น และต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะการแสดงออก การแสดงความคิดเห็น สรุปองค์ความรู้ ได้ลงมือปฏิบัติจริงสามารถนำเสนอผลงาน มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตนเอง  และสามารถการพึ่งพาตนเอง เพื่อให้เกิดทักษะที่จะนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ได้จริง โดยครูผู้สอนมีการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัด  การเรียนรู้ ครูผู้สอนมี  การบริหารจัดการชั้นเรียน โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ให้เด็กรักครู   ครูรักเด็ก และเด็กรักเด็ก   เด็กรัก ที่จะเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข ครูผู้สอนมีการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนโดยใช้เครื่องมือและวิธีการวัดและประเมินผล   ที่เหมาะสมกับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ และให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนเพื่อนำไปใช้พัฒนาการเรียนรู้

3. จุดเด่น

ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ ที่เน้นทักษะกระบวนการคิด ได้ลงมือปฏิบัติจริง

ครูนำผลการประเมินมาวิเคราะห์การจัดการเรียนการสอนและนำผลการประเมินพัฒนาผู้เรียน ผู้เรียนทราบผลการเรียนรู้ของตนเอง เพื่อสามารถนำมาใช้พัฒนาตนเอง

มีการให้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้นักเรียนแสวงหาความรู้ จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

4. จุดที่ควรพัฒนา

        ควรมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลายให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ และ   การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนทันทีเพื่อนักเรียนนำไปใช้พัฒนาตนเอง การพัฒนาความสามารถด้านภาษาต่างประเทศของผู้เรียนให้มีความสามารถในการสื่อสารได้ดียิ่งขึ้น ครูผู้สอนไม่ค่อยมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานภายนอก

5. แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

          จัดการเรียนการสอนที่เน้นการฝึกทักษะงานอาชีพ และอาชีพในท้องถิ่น  พัฒนากระบวนการจัด               การเรียนรู้ตามทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พัฒนาการให้ความรู้ในเรื่องวิธีการใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย ส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนให้มากขึ้น มีการสร้างบรรยากาศในห้องเรียน สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน การเสริมแรงบวก มีสิ่งเอื้ออำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข กล้าคิด กล้าทำ  กล้าแสดงออก มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม มีการประเมินโดยการนำเสนอข้อมูลจาก        การตรวจสอบการประเมินการทำแบบทดสอบหลังเรียน สอบกลางภาค สอบปลายภาค  แฟ้มสะสมงาน     การประเมินการสร้างนวัตกรรม  การนำผลการตรวจสอบ    การประเมิน มาออกแบบนวัตกรรมนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่ทันสมัยและหลากหลายให้มากขึ้น

  

                                                                   นางณัฐศรี  ชูช่วย

                                                             ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านพระม่วง



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     โครงการ "สุขาดี มีความสุข" 10 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566 2 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2566 1 มิ.ย. 2567
     การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 29 พ.ค. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566 25 พ.ค. 2567


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.