[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านควนเลียบ
วันที่   14   พฤษภาคม   2567
เข้าชม : 55
Bookmark and Share


 บทสรุปของผู้บริหาร

 

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 

          ชื่อโรงเรียน         บ้านควนเลียบ            ตั้งอยู่เลขที่            306           หมู่          4      

ถนน               -                    ตำบล      หนองช้างแล่น อำเภอ     ห้วยยอด          จังหวัด  ตรัง     

รหัสไปรษณีย์     92130            โทรศัพท์      075-577015        โทรสาร           -                   

e-mail            bankuanleab@gmail.com                 website                    -                   

Facebook :                https://www.facebook.com/bankhuanleab/                                

สังกัด    สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน   เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2  

เปิดสอนตั้งแต่ระดับ       อนุบาลปีที่ 1 ถึง ประถมศึกษาปีที่ 6                                                 

          ชื่อผู้บริหารโรงเรียน   นายวิสาข์   บุญเกียรติ                    เบอร์โทรศัพท์  095-7492678

จำนวนครู         10       คน  จำแนกเป็น ข้าราชการครู      8         คน  ครูอัตราจ้าง       2           คน จำนวนนักเรียน รวม  113   คน จำแนกเป็นระดับก่อนประถมศึกษา   30   คน ระดับประถมศึกษา 83  คน                                                       

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

1. ระดับการศึกษาปฐมวัย

          1.1 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก                     มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม

          1.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและจัดการ   มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม

          1.3 มาตรฐานที่ 3  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม

          กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนบ้านควนเลียบจัดกระบวนการพัฒนานักเรียนระดับชั้นปฐมวัย ตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีหลักสูตรสถานศึกษา สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติตอบสนองความต้องการและความแตกต่างของเด็ก สอดคล้องกับวิถีชีวิต ของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น มีครูครบชั้นที่ตรงตามเอกและความถนัด ครูเข้ารับการอบรมพัฒนาตนเองในส่วนที่เกี่ยวข้องตามความต้องการของครู มีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน โดยคำนึงถึงความปลอดภัย มีข้อมูลสารสนเทศถูกต้องครบถ้วน ดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา และประชุมผู้ปกครองนักเรียนเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ครูจัดประสบการณ์ให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุล เต็มศักยภาพ ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา โดยเด็กได้รับการฝึก การใช้กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก การทรงตัว การควบคุมอวัยวะต่าง ๆ ส่งเสริมการควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกของตนเอง สามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกต่อผู้อื่นได้อย่างเหมาะสมตามวัย สนุกกับการเรียนรู้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เด็กได้รับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ห้องเรียนสะอาด ปลอดภัย มีมุมประสบการณ์ จัดแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายโดยเน้นให้เด็กได้ปฏิบัติผ่านกิจกรรมที่ครูจัดในกิจวัตรประจำวัน กิจกรรมหลัก 4 กิจกรรมตามหลักสูตรปฐมวัย ครูประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลายโดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมและนำผลการประเมินไปรับปรุงเพื่อพัฒนาการของเด็กต่อไป

          จุดเด่น 

          จากผลการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ โรงเรียนบ้านควนเลียบ มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีหลักสูตรสถานศึกษาที่ยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและบริบทของท้องถิ่นครู มีความเชี่ยวชาณด้านการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กโดยการออกแบบและจัดกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง มีการจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัย สถานศึกษาอำนวยความสะดวกให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ วัสดุ อุปกรณ์ มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยและอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนดครูจากประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาอย่างสมดุลเต็มศักยภาพด้วยความร่วมมือของพ่อแม่ ครอบครัว ชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติกิจกรรมเรียนรู้ลงมือทำและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข จัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ครูประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลายโดยที่ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมนำผลการประเมินที่ได้ไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก    

          จุดที่ควรพัฒนา

          ประสบการณ์ทางด้านภาษาอังกฤษ การสื่อสาร การใช้ภาษา ทักษะในการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 กำหนดกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ครูในเรื่องการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดทำหลักสูตรกิจกรรมที่ส่งเสริมเอกลักษณ์ผู้เรียนให้ชัดเจน วิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย และจัดทำรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จัดหาหนังสือที่เหมาะกับผู้เรียนส่งเสริมพัฒนาครูให้มีความรู้และมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพิ่มสื่อการเรียนรู้พร้อมสื่อที่เน้นนวัตกรรมและเทคโนโลยี พัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในภายนอกห้องเรียนให้มากขึ้นการปลูกฝังความมีระเบียบวินัยและการเสริมสร้างพัฒนาการด้านการอ่านและปลูกฝังพฤติกรรมการรักษาความสะอาดต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 

          แผนงานเพื่อพัฒนาให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น

          ส่งเสริมเด็กปฐมวัยให้มีการพัฒนาด้านร่างกายและคุณภาพอยู่ในระดับดีขึ้นไป โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพของเด็ก จัดกิจกรรมเพิ่มทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์จัดกิจกรรมการอ่านโดยใช้นิทานเป็นสื่อและเครื่องมือทำให้ผู้เรียนมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน มีการประสานส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนเพิ่มมากขึ้น และใช้ข้อมูล        การประเมินผลคุณภาพภายในและภายนอกในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ผลสัมฤทธิ์ของการจัดการศึกษาให้มากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักและส่งเสริม           การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของชุมชน ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด        ในการบริหารจัดการศึกษา จัดอบรมพัฒนาทักษะการจัดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัด และประเมินผลการประสบการณ์การเรียนรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับครู    

 

2.   ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          2.1  มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

          2.2  มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

          2.3  มาตรฐานที่ 3  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

          กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนบ้านควนเลียบ มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และกำหนดโครงการ/กิจกรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนควบคู่ไปกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนให้พัฒนาขึ้น ในหลากหลายวิธีการ เช่น โครงการแข่งขันทักษะทางวิชาการ กิจกรรมการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน กิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติ ฯลฯ มีการบูรณาการตัวชี้วัดของการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนร่วมกับการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แล้วนำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ ตามรูปแบบและวิธีการที่กำหนดอย่างต่อเนื่อง สถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ไว้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม มีการบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ ทั้งในส่วนการวางแผนพัฒนาคุณภาพ การจัดการศึกษา การนำแผนไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีการติดตามตรวจสอบประเมินผลและปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้ครูมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาผู้เรียนและพัฒนาตนเอง นำศาสตร์พระราชาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาบูรณาการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมการวางแผน ปรับปรุงและพัฒนา ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคมให้มีความปลอดภัย จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม ส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงานกิจกรรมอย่างหลากหลาย มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง ครูใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการบริหารจัดการห้องเรียนเชิงบวก สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริง ประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย ให้ข้อมูลย้อนกลับและนำมาพัฒนา

 

          ผลการพัฒนา

          สถานศึกษามีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้กำหนดเป็นเป้าหมายทางการเรียนเพื่อคุณภาพนักเรียนให้พัฒนาสูงขึ้น จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ เน้นทักษะในการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพ มีการจัดแหล่งเรียนรู้ภายในได้อย่างเหมาะสม ผู้เรียนมี สุขภาพกาย สุขภาพจิต ดี กล้าแสดงออก มีทักษะชีวิตไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข   โรงเรียนมีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน มีระบบบริหารจัดการที่มีคุณภาพ โดยเน้น  การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย  ครูได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ตามมาตรฐานตำแหน่ง  ครูมีความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีการวัดและประเมินผลที่หลากหลายตามสภาพจริง  นักเรียนได้รับการพัฒนาให้มีคุณลักษณะตามมาตรฐานการศึกษา  โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

          จุดเด่น

          1. นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสมรรถภาพทางกาย น้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีสุขภาพจิตที่ดี มีทักษะชีวิต สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

          2. โรงเรียนมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจที่ชัดเจน มีการบริหารรจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ดำเนินการอย่างเป็นระบบโดยใช้กระบวนการ PDCA มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้การสนับสนุนและร่วมพัฒนาคุณภาพของโรงเรียน

          3. มีความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้สื่อและเทคโนโลยีจัดกิจกรรมการรู้ มีการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงและหลากหลาย

          จุดที่ควรพัฒนา

          1. ผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานที่ควรมีการพัฒนา ได้แก่ วิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ

          2. ผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ยังต้องเร่งพัฒนาด้านการอ่านออกเขียนได้ซึ่งเป็นที่สำคัญในการเรียนต่อไปในอนาคตของนักเรียน

          -3 การพัฒนาการวัดและประเมินผลในห้องเรียนให้สอดคล้องกับมาตรฐานตัวชี้วัด เน้นการ

ประเมินโดยใช้ข้อสอบอัตนัยและประเมินตามสภาพจริง

           แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

                     1. จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณให้แก่นักเรียนอย่างต่อเนื่องด้วยวิธีการที่หลากหลาย

                     2. การยกระดับคุณภาพผู้เรียนในการทดสอบการศึกษาระดับชาติ (National Test : NT) ชั้น

ประถมศึกษาปีที่ 3 (Ordinary National Educational Test): O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศในทุกวิชา และการพัฒนาการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

                     3. ปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ และพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน

                     4. พัฒนาระบบประกันคุณคุณภาพภายในสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     โครงการ "สุขาดี มีความสุข" 10 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566 2 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2566 1 มิ.ย. 2567
     การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 29 พ.ค. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566 25 พ.ค. 2567


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.