[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self - Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖๖
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านไสบ่อ
วันที่   13   พฤษภาคม   2567
เข้าชม : 66
Bookmark and Share


ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

          โรงเรียนบ้านไสบ่อ  ตั้งอยู่เลขที่ ๘๒ หมู่ที่ ๒  ตำบลนาวง  อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต ๒ โทรศัพท์ 081-3881973  e-mail bansaibor.school@gmail.com เปิดสอนในระดับชั้นปฐมวัยปีที่ ๑ ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นางสาววรรณา คล้ายฉิม ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเหนือคลอง รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านไสบ่อ   เบอร์โทรศัพท์   081-3881973

ครูทั้งหมด จำนวน ๗ คน  ข้าราชการครู จำนวน  ๕ คน  ครูอัตราจ้าง จำนวน ๒ คน เจ้าหน้าที่ธุรการ จำนวน 1 คน นักการภารโรง จำนวน 1 คน จำนวนผู้เรียน รวมทั้งหมด 58 คน จำแนกเป็นระดับชั้นปฐมวัย จำนวน 10 คน และระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 48 คน

.ระดับการศึกษาปฐมวัย

          มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของเด็ก   มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

          กระบวนการพัฒนา

        โรงเรียนดำเนินการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาการคุณภาพของเด็ก โดยได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย  กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการผ่านกิจกรรมหลัก ๖  กิจกรรม กิจกรรมการดูแลความปลอดภัยของตนเอง  จัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ จัดกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กิจกรรมคุณธรรม จริยธรรมไหว้สวย ยิ้มใส   จัดกิจกรรมการช่วยเหลือตนเอง  กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย  เน้นการปฏิบัติจริงและผ่านกิจวัตรประจำวัน  จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

          ผลการพัฒนา 

          เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว มีสุขนิสัยที่ดีในการดูแลสุขภาพ ดูแลความปลอดภัยของตนเองได้  พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ  ร่าเริง แจ่มใส รู้จัก     รอคอย กล้าแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ รักการเล่นกีฬา  ศิลปะ  พัฒนาการทางด้านสังคม เด็กอยู่ร่วมและทำกิจกรรมกับเพื่อนได้อย่างมีความสุข ช่วยเหลือตนเองได้ รู้จักช่วยเหลือแบ่งปัน ประพฤติตนตามวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีไทย เคารพความแตกต่างระหว่างบุคคลได้เหมาะสมตามวัย ด้านสติปัญญา  เด็กมีทักษะการคิด ทักษะการฟัง ทักษะการสังเกต ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง 

          จุดเด่น

          เด็กส่วนใหญ่มีการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายเหมาะสมตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์             มีพัฒนาการทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายตามวัย สามารถดูแลตนเองให้มีความปลอดภัยจากการเล่นร่วมกับผู้อื่น เด็กมีคุณธรรม เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีอารมณ์ดี ร่าเริงแจ่มใส มีสติปัญญาเรียนรู้สิ่งต่างๆ สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้เหมาะสมตามวัย

จุดที่ควรพัฒนา 

การจัดประสบการณ์ให้เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาไทย การอ่านคำตามบัญชีคำพื้นฐาน การสื่อสาร    คิดอย่างมีเหตุมีผล และมีจิตสาธารณะในการช่วยเหลือผู้อื่นมากยิ่งขึ้น

 

          แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

          ควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมในเรื่องของการดูแลสุขนิสัยที่ดีเพิ่มเติม การส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดอย่างมีระบบให้กับเด็กปฐมวัย ฝึกทักษะการคิด อย่างสร้างสรรค์ มีจินตนาการ

          มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

          กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐  และบริบทของท้องถิ่น ซึ่งการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยเปิดโอกาสให้ครู ผู้ปกครอง นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดครูที่มีวุฒิทางการศึกษาสาขาวิชาเอกการศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมพัฒนาครูให้มีทักษะ ความรู้ความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  จัดกิจกรรมการนิเทศภายใน จัดสภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ภายใน ภายนอก  สนามเด็กเล่นให้มีความหลากหลาย ปลอดภัย พัฒนาสื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้และเพียงพอ  พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

          ผลการพัฒนา 

          โรงเรียนมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยที่ยืดหยุ่น สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐  บริบทของท้องถิ่นและนโยบายของหน่วยงาน ต้นสังกัด  ครูผู้สอนสำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาเอกการศึกษาปฐมวัยโดยตรง และได้รับการพัฒนาในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องผ่านการอบรมในรูปแบบต่างๆ  ตามมาตรฐานตำแหน่ง นำความรู้ที่ได้รับมาพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่สะอาด ปลอดภัย  เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก มีการอำนวยความสะดวกและให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ วัสดุ และอุปกรณ์เพื่อสนับสนุน การจัดประสบการณ์และพัฒนาครู แต่ยังไม่เพียงพอต่อจำนวนห้องเรียน          

          จุดเด่น

          โรงเรียนมีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ซึ่งมีความสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีการ

ส่งเสริม และสนับสนุนให้ครูได้รับการพัฒนาด้านวิชาชีพ และมีการบริหารที่มีคุณภาพเปิดโอกาสให้ฝ่ายมี

ส่วนร่วม มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีครูที่มีประสบการณ์

และเพียงพอกับชั้นเรียน และมีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

          จุดที่ควรพัฒนา 

         โรงเรียนมีครูที่สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาเอกการศึกษาปฐมวัยโดยตรง แต่เนื่องด้วยมีครูเพียงคนเดียวปฏิบัติหน้าที่จัดประสบการณ์การเรียนรู้ทั้ง ๓ ระดับ คือ ระดับชั้นอนุบาล ๑ - อนุบาล ๓ ส่งผลให้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ค่อนข้างยากเนื่องจากจำนวนเด็กค่อนข้างมากและมีความพร้อมแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย

          แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

โรงเรียนบ้านไสบ่อควรมีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาการศึกษาปฐมวัยให้เท่าทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน จัดหาครูให้เพียงพอต่อชั้นเรียน และครูมีประสบการณ์ ความชำนาญในการจัดประสบการณ์จัดการเรียนรู้ สนับสนุนให้ครูได้เข้ารับการพัฒนา อบรมในหลักสูตรต่างๆ เพื่อให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็ก ปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในและสนามเด็กเล็กเล่นให้ได้มาตรฐาน

มาตรฐานที่ 3  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ   มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

          กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนส่งเสริมสนับสนุนให้ครูจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยจัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย จัดกิจกรรมที่สร้างโอกาสให้เด็กทุกคนได้รับประสบการณ์ตรงผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติ  เน้นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงรุก      (Active Learning) ครูใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อกระตุ้นพัฒนาการ ของเด็ก มีการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคลด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การสอบถาม  การสัมภาษณ์ การประเมินจากผลงาน   เป็นต้น นำผลมาพัฒนาการจัดประสบการณ์ให้เด็กเพื่อบรรลุเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

          ผลการพัฒนา 

          ครูจัดประสบการณ์ให้เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้สื่อเทคโนโลยีกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็ก                   จนทำให้เด็กมีพัฒนาการทั้ง ๔ ด้านเหมาะสมตามวัยเป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด มีการจัดกิจกรรมที่สร้างโอกาสให้เด็กทุกคนได้รับประสบการณ์ตรงจริง จัดบรรยากาศภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ครูประเมินผลพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย 

          จุดเด่น

ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการครอบคลุมทุกด้านอย่างสมดุลและเต็มตามศักยภาพตามความแตกต่างของแต่ละบุคคล ผู้สอนมีการสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง ผ่านการเรียนรู้แบบ Active learning และการเรียนรู้การทดลองตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ห้องเรียนมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง

 

 จุดที่ควรพัฒนา 

          การส่งเสริม/พัฒนาครูปฐมวัยให้มีความเชี่ยวชาญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การพัฒนา  เครื่องเล่นสนามให้มีความหลากหลาย และมีความปลอดภัยต่อเด็กปฐมวัย

          แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

          จัดกิจกรรมการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับปฐมวัยโดยเน้นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ Active learning การจัดสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับเด็กปฐมวัยอย่างทั่วถึง นิเทศติดตาม เพื่อการปรับปรุงห้องเรียน สร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้  จัดหางบประมาณสำหรับสนับสนุนการจัดบรรยากาศอาคารเรียนอนุบาลให้มีความร่มรื่นและปลอดภัย และจัดหาสื่อด้านเทคโนโลยีที่จะนำมาช่วยสนับสนุนการจัดการประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เพิ่มขึ้น นำผลการประเมินพัฒนาการมาพัฒนาและแก้ปัญหาเด็กปฐมวัย

 

2. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของผู้เรียน  ผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

          กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนดำเนินการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน โดยได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพเด็กประถมศึกษา โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา  โครงการพัฒนาผู้เรียนด้าน ICT  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนหลากหลายวิธีการ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น Active Learning กิจกรรมรักการอ่าน กิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน บูรณาการตัวชี้วัดของการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนร่วมกับกิจกรรมการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จัดกิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ กิจกรรมการส่งเสริมประชาธิปไตย กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์  กิจกรรมทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา กิจกรรมส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น การแข่งขันทักษะวิชาการทั้งระดับสถานศึกษาและระดับเขตพื้นที่การศึกษา                      กิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่บรรลุตามเป้าหมายของสถานศึกษา

ผลการพัฒนา 

สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และกำหนดโครงการ/กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หลากหลายวิธีการ มีการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียนและการสื่อสาร            ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนชั้นป.๑ มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าระดับประเทศ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใน ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้  ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ( O-NET)        ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศทุกรายวิชา คุณลักษณะอันพึงประสงค์สูงกว่าค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด มีความสามารถในการคิดคำนวณ ผู้เรียนมีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มีทักษะพื้นฐานต่องานอาชีพ ความภูมิใจในท้องถิ่นเห็นคุณค่าของความเป็นไทย อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม  และประเพณีไทย ผู้เรียนทุกคนได้รับการดูแลช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ อยู่ร่วมกันบนความแตกต่างได้อย่างมีความสุข  มีสุขภาวะทางการที่ดีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และมีจิตอาสา

จุดเด่น

          ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการ ทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด สามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ด้วยตัวเองควบคู่
ไปกับการใช้เทคโนโลยีในการบูรณาการการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระรายวิชา ผ่าน
Application Line Facebook Youtube เป็นต้น มีทักษะพื้นฐาน เจตคติที่ดีในการสร้างอาชีพที่สุจริต  มีค่านิยมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด และมีสุขภาพสมรรถทางร่างกายที่แข็งแรง เป็นที่ยอมรับ
ของโรงเรียน ผู้ปกครองและชุมชน                                                                                            

          จุดที่ควรพัฒนา

          การพัฒนาความสามารถของผู้เรียนเกี่ยวกับ การคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ การคำนวณ การส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอย่างเป็นระบบและยั่งยืน

แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

จัดกิจกรรมพัฒนาการการอ่าน การเขียน การสื่อสาร โดยการประสานความร่วมมือระหว่างครู ผู้ปกครอง และผู้เรียน  จัดกิจกรรมให้ผู้เรียน เรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดในรูปแบบ สเต็มศึกษา โดยการบูรณาการในรูปแบบแผนการจัดการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ดำเนินงานยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ส่งเสริมทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับการประกอบอาชีพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และจัดกิจกรรมตลาดนัดเพื่อการศึกษาและการสร้างอาชีพ จัดกิจกรรม ส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และค่านิยมที่ดี โดยบูรณาการ สอดแทรกในกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนและส่งเสริมให้ผู้เรียน ครู ผู้ปกครองปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน

 

 

 

 

 

          มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ   ผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

          กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนดำเนินการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจโดยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วม ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก (SWOT Analysis) บริหารจัดการคุณภาพ              ของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบตามกระบวนการ PDCA มีการบริหารอัตรากำลังทรัพยากรทางการศึกษาและระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีระบบการนิเทศภายใน โดยการจัดโครงการพัฒนาคุณภาพนักเรียนระดับประถมศึกษา โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โครงการติดตามการใช้งบประมาณ พัฒนาครูและบุคลากรให้เป็นครูมืออาชีพ จัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียน จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่ปลอดภัย และเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการศึกษา  

          ผลการพัฒนา 

          โรงเรียนดำเนินการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจไว้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับบริบท           ของสถานศึกษาหน่วยงานต้นสังกัด ความต้องการของชุมชนการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา โดยได้ประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อการดำเนินงาน จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานตาม พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ทำให้สถานศึกษามีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่ชัดเจนมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา  โดยความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย พัฒนาครูและบุคลากรสู่ครูมืออาชีพ ตรงตามความต้องการของครูและสถานศึกษา จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่ปลอดภัยเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา

          จุดเด่น

           โรงเรียนบ้านไสบ่อได้ดำเนินการตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ที่กำหนดไว้ซึ่งสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนตามความต้องการของชุมชน วัตถุประสงค์ของแผนการจัดการศึกษาของชาติ นโยบายของรัฐบาลและต้นสังกัด ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม พัฒนางานวิชาการเน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน  ตามหลักสูตรสถานศึกษา และส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความเชี่ยวชาญตรงตามความต้องการ

จุดที่ควรพัฒนา 

 ครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนควรพัฒนาให้มีความรู้  ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการ Professional Learning Community (PLC) และเปิดโอกาสให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนมีส่วนร่วม

แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

          ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจของโรงเรียนพัฒนารูปแบบระบบบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษา พัฒนาวิธีการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เหมาะสม กับบริบทผ่านกระบวนการวิจัย ส่งเสริมให้ครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนใช้กระบวนการ Professional  Learning Community (PLC) ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพิ่มการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการประเมินคุณภาพภายใน แล้วนำมาสู่การระดมความคิดเพื่อพัฒนาสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ และจัดระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อการบริหารจัดการในสถานศึกษา

          มาตรฐานที่ 3  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

          กระบวนการพัฒนา

ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและการปฏิบัติจริง โดยการจัดกิจกรรมโครงการพัฒนาคุณภาพ                           นักเรียนระดับประถมศึกษา จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้เฉพาะสำหรับผู้ที่มีความจำเป็นและต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ครูจัดการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ เช่น Active Learning STEM ศึกษา ครูผลิตสื่อ นวัตกรรมและใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อจากภูมิปัญญาชาวบ้านในชุมชนรอบๆตนเอง การเรียนรู้เนื้อหาวิชาเพิ่มเติม YouTube การเรียนรู้ผ่านLine application ห้องเรียน การทำข้อสอบออนไลน์ Google form จัดแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ปลอดภัย  จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง จากสื่อที่หลากหลาย ครูมีการบริหารจัดการชั้นเรียน  เชิงบวก ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน มีการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้ให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนเพื่อนำไปใช้พัฒนาการเรียนรู้      

          ผลการพัฒนา 

          สถานศึกษาจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงตามมาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้  ครูมีนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เอื้อ           ต่อการเรียนรู้โดยสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ครูมีกระบวนการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ครูดำเนินการจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุง การจัดการเรียนรู้ ครูทุกคนรวมกลุ่มชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และระบบนิเทศภายในด้านวิชาการ เพื่อตรวจสอบติดตามประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนแบบกัลยาณมิตร โดยครูผู้สอนจะได้รับการนิเทศภาคเรียนละ 2 ครั้ง ใช้เครื่องมือและวิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสมกับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ ให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน ครูดำเนินการจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อพัฒนา  ปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ และระบบนิเทศภายในด้านวิชาการ เพื่อตรวจสอบติดตามประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนแบบกัลยาณมิตร โดยครูผู้สอนจะได้รับการนิเทศภาคเรียนละ 2 ครั้ง

          จุดเด่น

ครูมีความมุ่งมั่นตั้งใจพัฒนาการสอนโดยจัดกิจกรรมที่เน้นทักษะกระบวนการคิดให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง โดยยึดหลัก 5 เต็ม คือ เต็มรู้  เต็มใจ  เต็มเวลา  เต็มคน  เต็มพลัง  ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจในการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้สามารถประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้และใช้ในกระบวนบริหารและการจัดการของสถานศึกษาบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวกมีการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การแก้ปัญหาผู้เรียน

          จุดที่ควรพัฒนา 

 สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่เพียงพอต่อความต้องการและจำนวนของผู้เรียน ครูผู้สอนมีโอกาสน้อยในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานภายนอกและควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้มากยิ่งขึ้น

 

 

แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

           โรงเรียนควรดำเนินการโครงการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา โครงการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน  โครงการพัฒนาการใช้สื่อ เทคโนโลยีสู่ห้องเรียน  โครงการส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และนำไปใช้จริง กิจกรรมสำหรับผู้เรียนที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ/ ผู้เรียนรวมให้ผู้เรียนมีความรู้สูงขึ้นตามระดับชั้น

 




ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     โครงการ "สุขาดี มีความสุข" 10 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566 2 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2566 1 มิ.ย. 2567
     การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 29 พ.ค. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566 25 พ.ค. 2567


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.